คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2537

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ศาลแรงงานได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 2 ข้อ คือ ข้อ 1.โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วหรือไม่ ข้อ 2. โจทก์มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยหรือไม่โดยประเด็นข้อพิพาทที่ 1. ศาลแรงงานวินิจฉัยตอนต้นว่า โจทก์ไม่ได้ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว แต่คำวินิจฉัยในตอนต่อมาที่ว่า การขัดคำสั่งของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของจำเลยเป็นอาจิณนั้น เป็นการฟังว่าโจทก์ฝ่าฝืนหรือขัดคำสั่งของจำเลยคำวินิจฉัยของศาลแรงงานในประเด็นข้อพิพาทข้อ 1 ดังกล่าวเป็นการฟังข้อเท็จจริงเป็นสองอย่างขัดแย้งกัน ศาลฎีกาจึงไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานที่จะนำมาวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อกฎหมายของจำเลย เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงเสียเองได้จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31, 56

Share