แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องโดยกล่าวว่าเพื่อรวบรัดมิให้คดีค้างพิจารณาขอถอนฟ้องไว้ชั่วคราว เพื่อสอบถามไปยังกรมกองทหารว่า จำเลยอีกคนหนึ่งเป็นทหารประจำการหรือไม่ เมื่อได้ความประการใด โจทก์จะได้ดำเนินต่อศาลที่มีอำนาจดังนี้ ศาลอนุญาตให้ถอนไป ภายหลังโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลทหารโดยปรากฏว่าจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหาร ดังนี้ถือว่าฟ้องใหม่ ไม่ได้ต้องห้าม ป.ม.วิ.อาญา ม.36
ย่อยาว
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร
กรณีเรื่องนี้ปรากฏว่า ชั้นต้นโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยแล้วได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเสีย โดยกล่าวความว่า “นายแม้ง คำภา จำเลยได้ยื่นคำร้องแถลงต่อศาลว่าจำเลยเป็นทหารประจำการ ได้มาถูกกล่าวหาในคดีนี้ร่วมกับนายเมือง นายประสิทธิ จำเลย ซึ่งเป็นพลเรือน โจทก์ไม่มีอำนาจที่จะฟ้องจำเลยต่อศาลพลเรือน โจทก์เห็นว่า เพื่อรวบรัดมิให้คดีนี้ค้างพิจารณา โจทก์จึงขอถอนฟ้องคดีนี้ไว้ชั่วคราว เพื่อสอบสวนไปยังกรมกองทหาร ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของนายแม้ง คำภา จำเลย เมื่อได้ความประการใด โจทก์จะได้ดำเนินคดีต่อศาลที่มีอำนาจ ให้พิจารณาพิพากษาต่อไป “ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ถอน ภายหลังได้ความว่าพลทหารแม้งเป็นทหารประจำการจึงได้ยื่นฟ้องจำเลยยังศาลมณฑลทหารที่ ๓ และได้โอนมาพิจารณายังศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ โดย พ.ร.บ.อัยยการศึก ๒๔๘๗
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า กรณีอัยยการได้ฟ้องจำเลยต่อศาลกาฬสินธุ์และขอถอนฟ้องไปครั้งหนึ่งแล้ว ทั้งการถอนฟ้องก็ไม่ใช่ฟ้อง เพราะปรากฏแล้วว่าฟ้องผิดศาล เป็นการถอนฟ้องเพื่อรอสอบถามว่าจำเลยบางคนเป็นทหารประจำการจริงหรือไม่เท่านั้น โจทก์จะฟ้องใหม่อีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา ม.๓๖ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ตามคำร้องของโจทก์อ้างว่าเพื่อรวบรัดมิให้คดีค้างพิจารณา ขอถอนฟ้องชั่วคราวเพื่อสอบถามไปยังกรมกองทหาร ฯลฯ จึงเป็นเรื่องที่ไม่แน่ว่านายแม้งเป็นทหารประจำการหรือไม่ และโจทก์จะต้องไปฟ้องคดีต่อศาลไหนแน่ เมื่อโจทก์ถอนฟ้องไปด้วยเหตุเช่นนี้ คดีจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา ม.๓๖ พิพากษายกฟ้อง+ตามศาลอุทธรณ์