แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จำเลยมีความผิดฐานซื้อแร่โดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานกระทำการเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาคหลวง ดังนี้ แร่ของกลางมิใช่ทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำผิดกฎหมายแต่อย่างใด กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 27 ก.ม.ลักษณะอาญา จึงริบไม่ได้
ย่อยาว
คดีได้ความว่า เดิมโจทก์ที่ ๑ มีชื่อเป็นเจ้าของนาแปลงพิพาทโฉนดที่ ๑๐๓๕ ร่วมกับนางแดง ต่อมานางแดงยกส่วนของนางแดงให้แก่จำเลย ส่วนโจทก์ที่ ๑ ขายส่วนของโจทก์ที่ ๑ ให้แก่โจทก์ที่ ๒ ในขณะนี้ ในโฉนดที่นาแปลงพิพาทจึงมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิร่วมกัน ๒ คน คือ โจทก์ที่ ๒ กับจำเลย
โจทก์ฟ้องว่าที่นาพิพาทเป็นของโจทก์ที่ ๒ ครึ่งหนึ่ง ขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกที่นาให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง จำเลยให้การว่าส่วนของโจทก์ที่ ๑ มีเนื้อที่เพียง ๓ งานเท่านั้น ส่วนของจำเลยมีเนื้อที่ ๓ ไร่ จำเลยได้ครอบครองส่วนของจำเลยมา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่าควรมีกรรมสิทธิในที่พิพาทมากกว่าโจทก์ ต้องฟังว่า โจทก์ที่ ๒ กับจำเลยมีกรรมสิทธิคนละครึ่ง ดังที่ปรากฎในโฉนด พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยอ้างว่านางแดงและจำเลยครอบครองเป็นส่วนสัดมา ซึ่งอยู่ในฐานะที่จะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้เกินกว่าครึ่งก่อนโจทก์ที่ ๑ ขายให้โจทก์ที่ ๒ กรณีต้องบังคับตามมาตรา ๑๓๐๐ ฉะนั้นแม้ความจริงจะเป็นดังจำเลยอ้าง จำเลยก็ไม่มีทางชนะ เพราะจำเลยไม่ได้ต่อสู้ว่าโจทก์โอนขายกันโดยไม่สุจริตแต่ประการใด
จำเลยฎีกาว่า จะนำมาตรา ๑๓๐๐ มาใช้กับกรณีนี้ไม่ได้ หากเป็นเรื่องกรรมสิทธิตามมาตรา ๑๓๕๗
ศาลฎีกาเห็นว่า ที่ศาลอุทธรณ์ยกมาตรา ๑๓๐๐ ขึ้นวินิจฉัยคดีนั้น ไม่ถูกต้อง หากข้อวินิจฉัยอยู่ในปัญหาเรื่องเจ้าของรวม หรือกรรมสิทธิรวมตาม ป.ม.แพ่งฯ บรรพ ๔ ลักษณะ ๒ หมวด ๓ และกฎหมายอื่นที่ว่าด้วยการมีชื่อในโฉนดร่วมกัน แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้ชี้ข้อเท็จจริงอันจะนำเอากฎหมายเหล่านั้นมาปรับบทได้ จึงพิพากษายก ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่.