แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การรูปหล่อซึ่งผู้อื่นเขาไว้มาจัดทำแบบแม่+ขึ้นโดยวิธีเอาวัตถุสิ่ง+ของมาพอกรูปหล่อนั้นแล้วการหล่อขึ้นเหมือนรูป+เช่นนี้ เป็นการเลิมดสิทธิ +ให้เขาหล่อรูปรับจ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิในรูปที่หล่อนั้น
ย่อยาว
คดีได้ความว่าโจทก์ได้ปั้นรูปพระธรรมวโรดมเจ้าอาวาศวัดราชาธิวาสขึ้นเมื่อพระธรรมวโรดมเห็นว่ารูปนั้นเหมือนของจริงแล้ว จึงได้ให้โจทก์หล่อรูปขึ้น ๗ รูปด้วยทองเหลืองก่อนพร้อมด้วยแท่นรองรูปด้วย ครั้นหล่อแล้ว ๖ รูปจึงนำไปมอบให้พระธรรมวโรดม ปรากฎว่ารูปที่โจทก์หล่อมีอักษรเขียนไว้ว่าสงวนลิขสิทธิ และมีนามข้างท้ายว่า “มณี ศุกรมุข” จำเลยได้นำเอารูปที่โจทก์หล่อขึ้นนั้นมาถอดแบบโดยวิธีเอาวัตถุสิ่งหนึ่งมาพอกกับรูปที่โจทก์หล่อ แล้วเอาไปจัดการทำ ให้เป็นรูปหล่อเหมือนกับรูปที่โจทก์ทำเป็นจำนวน ๔ รูป โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นตัดสินให้จำเลยใช้ค่าเสียหายโจทก์ ๖๐๐ บาท
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์เป็นผู้รับจ้างพระธรรมวโรดมในการหล่อรูปนี้ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของ ม.๑๒(ก) แห่งพ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ซึ่งให้ถือว่าบุคคลผู้ว่าจ้างให้ทำเป็นเจ้าของลิขสิทธิหาใช่โจทก์ไม่ จึงพิพากษาให้ยกฟ้อง
ศาลฎีกาตัดสินว่าตามข้อเท็จจริงจะเห็นได้ว่าโจทก์เป็นผู้ปั้นรูปพรรณวโรดมขึ้นแล้วทำแม่พิมพ์หล่อรูปขึ้นตามแบบ
ฉะนั้นการหล่อรูปซึ่งโจทก์ประดิษฐทำขึ้นจึงเป็นศิลปกรรมตาม ม.๒๒ วรรค (ก) (ข) เมื่อจำเลยกระทำแบบแม่พิมพ์ในการหล่อรูปขึ้นบ้างโดยวิธีเอาวัตถุสิ่งหนึ่งพอกที่หน้ารูป ซึ่งโจทก์ได้หล่อขึ้น จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิตาม ม.๑๑ และเห็นว่าเรื่องนี้จะนำ ม.๑๒(ก) มาใช้บังคับมิได้ เพราะผู้แทนพระธรรมวโรดมได้จ้างโจทก์หล่อรูปเท่านั้น ไม่ได้ตกลงหรือมีประสงค์จะได้ลิขสิทธิจากการหล่อนั้นเลย จึงพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น