แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ตาม พ.ร.บ. ฝิ่น พ.ศ.2472 คำว่า “ฝิ่น” หมายความว่า (1) ฝิ่นดิบซึ่งจะเป็นฝิ่นบริสุทธิก็ดี หรือมีสิ่งอื่นผสมอยู่ด้วยเป็น รูปหรือของปรุงใด ๆ ก็ดี (2) ฝิ่นสุก แม้จะไม่มีคำวิเคราะห์ศัพท์ไว้ ก็เมื่อฝิ่นดิบมีสิ่งอื่น ๆ เจือปนคือเสมือนว่าสิ่งที่เจือ ปนเป็นฝิ่นแล้ว เมื่อทำให้ฝิ่นสุก สิ่งเจือปนก็ย่อมถือเสมือนว่าเป็นฝิ่นด้วย./
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยมีฝิ่นสุก ซึ่งไม่ใช่ของรัฐบาลไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษและริบของ กลาง.
จำเลยรับว่า มีฝิ่นเถื่อนจริง แต่จำนวนฝิ่นก็ดีมีจำนวนไม่เท่าที่โจทก์ฟ้อง เพราะปนเลี่ยวเสีย ๗๕ % มีฝื่นเพียง ๒๕% และ ว่าของกลางอาจถุกสับเปลี่ยนในภายหลัง.
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง.
โจทก์อุทธรณ์,
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดจรองตามฟ้อง.
จำเลยฎีกา,
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า ฝิ่นของกลางมิได้ถูกสับเปลี่ยนแต่อย่างใด และเห็นว่าแม้ฝิ่นของกลางมีสิ่งอื่นผสมอยู่ด้วย ตาม พ.ร.บ.ฝิ่น พ.ศ. ๒๔๗๒ มาตรา ๓ วิเคราะห์ศัทพ์ฝิ่นไว้ว่า “ฝิ่น” หมายความว่า (๑) ฝิ่นดิบซึ่งจะเป็นฝิ่นบริสุทธิก็ดี หรือมีสิ่ง อื่นผสมอยู่ด้วยเป็นรูปหรือของปรุงใด ๆ ก็ดี (๒) ฝิ่นสุกแม้จะไม่มีคำวิเคราะห์ศัพท์ไว้ ก็เมื่อฝิ่นดิบมีสิ่งเจือ ปนถือเสมือน ว่าสิ่งที่เจือปนเป็นฝิ่นแล้ว เมื่อทำให้ฝิ่นสุก สิ่งเจือปนก็ย่อมถือเสมือนว่าเป็นฝิ่นด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย
ชอบแล้ว คงพิพากษายืน.