แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ต่างฝ่ายต่างด่าโต้ตอบกัน ผู้ก่อเหตุด่าเขาก่อนมีผิดตามมาตรา 339(2) วิธีพิจารณาอาญา ฟ้อง แปลฟ้อง คำรับสารภาพ หลักวินิจฉัย โจทก์ฟ้องกล่าวว่าจำเลยกล่าวคำลามกอนาจารแลหมิ่นประมาทเขาซึ่งหน้าจำเลยรับว่าได้ด่าเขาจริงดังนี้ จะแปลว่าจำเลยกล่าวคำลามกอนาจารด้วยหาได้ไม่ +
ย่อยาว
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ก.จำเลยสมคบกับพวกกล่าวคำลามกอนาจารหมิ่นประมาท ส. กับพวกต่อหน้าธารคำนัล แล ส.กับพวกก็กล่าวคำลามกอนาจารหมิ่นประมาท ก.กับพวกด้วย ขอให้ลงโทษจำเลยกับพวกแลเพิ่มโทษด้วยตาม ม.๓๓๗-๓๓๘-๓๓๙ -๓๔๐ แล ๗๖
ก.จำเลยรับว่า ได้ด่า ส. กับพวกจริงเพราะคนทั้ง ๓ นี้ด่าตนและบิดา
ศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยต่างกล่าวคำลามกอนาจารแลหมิ่นประมาทซึ่งกันแลกันเป็นผิดตาม ม.๓๓๗ ข้อ ๑ แล ๓๓๙ ข้อ ๒
ก.ผู้เดียวอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ตัดสินยืน
ก.ฎีกาว่าคำด่าของคำด่าของตนใหญ่+เป็นการด่าโต้ตอบซึ่งกันแลกัน ไม่เป็นความผิด
ศาลฎีกาเห็นว่าวาจาที่ ก.กล่าวนั้นไม่ปรากฎในคำพิพากษาเลยที่ศาลถือว่าเป็นคำลามกอนาจาร เห็นว่าที่ศาลชั้นต้นอาศัยคำรับของ ก.อย่างเดียวเป็นข้อลงโทษฐานกล่าววาจาลามกอนาจารด้วยนั้น ยังไม่ถูกต้องด้วยวิธีพิจารณา เพราะคำรับของ ก.เพียงเท่านี้มิได้หมายความว่า ก.รับว่าได้กล่าวคำลามกอนาจารดังระบุไว้ในฟ้องของโจทก์ ต้องหมายแต่เพียงว่า ก.รับว่าต่างคนต่างด่าโต้ตอบเท่านั้น เห็นว่ารูปคดีปรากฎแต่เพียงว่า ก.เป็นผู้ก่อเหตุด่า แลการด่าผู้อื่นซึ่งหน้า ย่อมเป็นความผิดอยู่แล้วตาม ม.๓๓๙(๒) จึงพิพากษายืนให้ปรับ ก.จำเลย ๑๕ บาทตามมาตรา ๓๓๙(๒) ส่วนข้อเพิ่มโทษให้ยกเสีย เพราะความผิดครั้งก่อนจำเลยถูกลงโทษตามมาตรา ๓๓๗(๑) กรณีไม่เข้า ม.๗๖