แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การมีฝิ่น มีมูลฝิ่น มีเครื่องประกอบในการสูบฝิ่น และสูบฝิ่นนอกร้านาโดยได้รับอนุญาตนั้น ถ้าต่างกรรมต่างวาระกัน อันฟังได้ว่าเป็นความผิดหลายกะทงแล้ว พ.ร.บ.ฝิ่นแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2476 มาตรา 9 บัญญัติให้เรียงกะทงลงโทษตามรายตัวผู้กระทำผิดศาลจะไม่พิพากษาลงโทษเรียงกะทงความผิด ไม่ได้.
ฟ้องของโจทก์กล่าวว่า จำเลยสูบฝิ่นนอกร้านนั้น มิได้รับอนุญาตพิเศษและว่าจำเลยมีกล้องสูบฝิ่น มีฝิ่น และมูลฝิ่น มิได้รับอนุญาตและยังกล่าวว่าเจ้าพนักงานจับได้พร้อมด้วยของกลางและเครื่องอุปกรณ์ในการสูบฝิ่นด้วย ดังนี้ ข้อเท็จจริงเท่าที่กล่าวในฟ้อง ไม่ปรากฏชัดว่าการกระทำของจำเลยต่างกรรมต่างวาระกันอย่างไร หรือไม่ คือยังฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดหลายกะทง เพราะอาจเป็นผิดหลายบทก็ได้ ฉะนั้นศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยเรียงกะทงความผิด ตามที่โจทก์อ้างในฟ้อง ยังไม่ได้./
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพัน์ ๒๔๙๕ เวลากลางวัน จำเลยกระทำผิดกฎหมายหลายบทหลายกะทง โดยจำเลยบังอาจสูบ
ฝิ่นนอกร้านมิได้รับอนุญาตพิเศษ และมีกล้องสูบฝิ่น ๑ กล้อง มูลฝิ่น ๑ กรัม ฝิ่น ๓ กรัมไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต เจ้าพนักงานจับได้พร้อมด้วยของกลาง และเครื่องอุปกรณ์ในการสูบฝิ่น ฯลฯ
ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ฝิ่น ๒๔๗๒ มาตรา ๘, ๑๑, ๑๔, ๓๔, ๕๓, ๖๖, ๖๙, พ.ร.บ.ฝิ่น (ฉะบับที่ ๖) ๒๔๙๔ มาตรา ๖, ๗ และให้ริบ
ของกลาง.
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ฝิ่น พ.ศ. ๒๔๗๒ มาตรา ๘, ๑๑, ๓๔, ๕๓, ๖๖, ๖๙ พ.ร.บ.ฝิ่น (ฉะบับที่ ๖)
๒๔๙๔ มาตรา ๖, ๗ ให้จำคุกจำเลย ๖ เดือน ปรับ ๕๕๐ บาท ปราณีลดโทษให้ตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๕๙ คงจำคุก ๔ เดือน ปรับ ๒๗๕ บาท โทษจำคุกให้รอการลงอาญาไว้ ฯลฯ
โจทก์อุทธรณ์ขอให้เรียงกะทงลงโทษฐานมีมูลฝิ่น กับสูบฝิ่นนอกร้าน
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทกฎีกาต่อมา
ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว ตามที่โจทก์ฟ้องกล่าวว่า จำเลยสูบฝิ่นนอกร้านมิได้รับอนุญาตพิเศษ และว่ามีกล้องสูบฝิ่น มีฝิ่น
และมูลฝิ่น มิได้รับอนุญาตและยังกล่าวว่า เจ้าพนักงานจับได้พร้อมด้วยของกลางและเครื่องอุปกรณ์ในการสูบฝิ่นด้วย ข้อเท็จจริงเท่าที่กล่าวในฟ้องไม่ปรากฎชัดว่า เป็นผิดหลายบทหรือหลายกะทง การกระทำผิดกฎหมายหลายบทหมายความว่า กระทำการอันเป็นผิดกฎหมายหลายบทในกรรมอันเดียวกัน แต่เป็นการผิดกฎหมายหลายบท กระทำผิดกฏหมายหลายกะทงหมายความว่ากระทำต่างกรรมต่างวาระกัน การกระทำหรือกรรมอันเดียวจะเรียกว่าเป็นผิดหลายกะทงไม่ได้ ฉะนั้นต้องพิจารณาว่า การกระทำของจำเลยต่างกรรมต่างวาระกันอย่างไรหรือไม่ ถ้าข้อเท็จจริงปรากฎชัดว่า จำเลยมีฝิ่น มีมูลฝิ่น มีเครื่องประกอบในการสูบฝิ่น และสูบฝิ่นต่างกรรมต่างวาระกัน อันฟังได้ว่าเป็นความผิดหลายกะทงแล้ว พ.ร.บ.ฝิ่น พ.ศ. ๒๔๗๖ มาตรา ๙ บัญญัติให้เรียงกะทงลงโทษตามรายตัวผู้กระทำผิด ศษลจะไม่พิพากษาลงโทษเรียงกะทงความผิดไม่ได้
แต่เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่า การกระทำของจำเลยจะเป็นผิดหลายกะทง กล่าวคือยังอาจเป็นผิดหลายบทได้ จะพิพากษาลงโทษจำเลย เรียงกะทงความผิดดังโจทก์ฎีกาขึ้นมาไม่ได้ จึงให้ยกฎีกาของโจทก์เสีย
พิพากษายืน.