แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ทะเบียนการสมรสไม่ใช่หนังสือสำคัญตามความหมายของมาตรา 6(20) ดังนั้นการซ่อนเร้นหรือทำลายทะเบียนสมรสจึงไม่เป็นความผิดฐานซ่อนเร้น หรือทำลายหนังสือสำคัญตามกฎหมายลักษณะอาญา ม.228
ย่อยาว
คดีนี้ โจทย์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำผิดกฎหมายหลายบทหลายกะทงต่างกรรมต่างวาระกันคือ
ก. จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นปลัดอำเภอดุสิตมีหน้าที่รับจดทะเบียนการสมรส ได้บังอาจปลอมหลักฐานหรือใบสำคัญการสมรสระหว่างโจทก์กับนายพันตำรวจศรีธนู ชูประเทศ อันเป็นหนังสือสำคัญราชการแสดงความสมบูรณ์ในการสมรส กระทำให้โจทก์หลงเชื่อและใช้เป็นหนังสือสำคัญ แสดงการสมรสที่แท้จริง จำเลยที่ ๑ ได้ออกใบสำคัญการสมรสและใบรับเงินค่าจดทะเบียนการสมรสนอกสำนักให้โจทก์ยึดถือไว้
ข. ในวันเวลาเดียวกับข้อ ก. จำเลยทั้งสองได้สมคบกันกระทำการซ่อนเร้นหรือทำลายใบสำคัญหรือหลักฐานการสมรสซึ่งจำเลยที่ ๑ ได้กระทำปลอมขึ้นและอยู่ในสมุดทะเบียนสมรสของอำเภอดุสิต โดยลักษณะอันทำให้โจทก์รับความเสียหายและต่อมานายพันตำรวจตรีธนู ได้ปฏิเสธการสมรสของโจทก์ โดยอ้างว่ามิได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา ๒๒๓-๒๒๔-๒๒๘-๒๒๙-๒๓๐ และ ๖๓
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธว่ามิได้ทำผิดจำเลยที่ ๑ ให้การต่อสู้ว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับนายพันตำรวจตรีธนู ได้มีขึ้จริง โดยจำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าหน้าที่ในฐานกรมการอำเภอ แต่ได้กรอกรายการสมรสของคู่สมรสแต่ฝ่ายหญิง เพราะฝ่ายชายมิได้ฉีกทะเบียนสมรส แต่ได้ทราบภายหลังว่าทะเบียนสมรสได้ถูกฉีกไป
ศาลชั้นต้นฟังว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์และนายพันตำรวจตรีธนู ได้ทำกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าหน้าที่เป็นผู้ทำไม่ใช่กรณีทำปลอมทะเบียนสมรสหรือออกใบคู่มือสมรสปลอมอย่างไรจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานปลอมหนังสือตามฟ้องโจทก์ แต่จำเลยที่๑ ได้ฉีกทะเบียนสมรสนั้นเสีย จึงมีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา ๒๒๔-๒๒๘ พิพากษาให้จำคุกไว้ ๘ เดือน ส่วนจำเลยที่ ๒ หลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าได้ทำผิด ให้ยกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ ๑ ให้หนักกว่าที่ศาลชั้นต้นวางมาและขอให้ลงโทษจำเลยที่ ๒ ฐานสมคบกับจำเลยที่ ๑ ในการฉีกทะเบียนสมรสด้วย
จำเลยที่ ๑ อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง
คงมีปัญหามาสู่ศาลอุทธรณ์ ฉะเพาะความผิดในการฉีกทะเบียนสมรสตาม ก.ม.อาญา ม.๒๒๘ ประกอบด้วยมาตรา ๒๒๔ ศาลอุทธรณ์เห็นว่า หากจะฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยสมคบกันอีกทะเบียนสมรสจริงก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๒๒๘ เพราะทะเบียนสมรสไม่ใช่หนังสือสำคัญตามบทวิเคราะห์แห่งมาตรา ๖ (๒๐) และไม่ใช่หนังสือพินัยกรรม พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ยกฟ้องโจทก์
โจทก์ฎีกา ขอให้ลงโทษจำเลยที่ ๑ ตาม ม.๒๒๘ และขอให้ลงโทษจำเลยที่ ๒ ฐานสมคบกับจำเลยที่ ๑ ด้วย
ศาลฎีกาเห็นว่า ทะเบียนสมรสไม่ใช่หนังสือสำคัญตามความหมายของมาตรา ๖ (๒๐) ดังนั้นการซ่อนเร้นหรือทำลายทะเบียนสมรสจึงไม่เป็นความผิดฐานซ่อนเร้นหรือทำลายหนังสือสำคัญตามกฎหมายลักษณะอาญา ม.๒๒๘ พิพากษายืนให้ยกฎีกาโจทก์