คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2484

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เจ้าพนักงานได้รับมอบฉันทะเบิกเงินต่อคลังจังหวัดได้แก้จำนวนเงินในใบเบิกให้มากขึ้น แล้วเอาเงินที่เบิกได้มากขึ้น แล้วเอาเงินที่เบิกได้มากขึ้นนั้นเป็นของตัวดังนี้ถือเป็นผิดฐานฉ้อโกง ไม่ใช่ยักยอกโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอก ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยมีผิดฐานฉ้อโกงลงโทษจำเลยไม่ได้

ย่อยาว

ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยรับราชการเป็นครูประชาบาล แต่ทางธรรมการจังหวัดได้เอาจำเลยมาใช้เป็นเสมียนของแผนธรรมการธรรมการจังหวัดได้มอบหมายให้จำเลยทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินและการบัญชี ต่อมาผู้ช่วยครูใหญ่ได้ทำใบยืมมาขอยืมเงินทดรองราชการ ๖๐ บาทเพื่อจ่ายเป็นค่าอาหารของนักเรียนธรรมการจังหวัดอนุญาตให้เบิกเงินมาจ่ายให้ทั้งมอบฉันทะให้จำเลยรับเงินจากคลังแทนด้วยใบเบิกขอเบิกเพียง ๖๐ บาท จำเลยได้ขีดฆ่าเลข ๖๐ เสียและแก้เป็น ๗๕ บาท และรับเงินมาจากคลังจังหวัดทั้ง ๗๕ บาท และจ่ายให้ผู้ช่วยครูใหญ่ไปเพียง ๖๐ บาท ส่วนอีก ๑๕ บาท จำเลยแสดงไม่ได้ว่าได้จ่ายไปโดยชอบอย่างใด
ศาลชั้นต้นเห้นว่าการกระทำของจำเลยเป้นการยักยอกเงิน ๑๕ บาทนั้น และผิดฐานปลอมหนังสือสำคัญในราชการ จึงพิพากษาลงโทษจำเลยตามาตรา ๓๑๙,๒๒๕
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าสำหรับเงิน ๑๕ บาทนั้น การกระทำของจำเลยเป็นการฉ้อโกง หาใช่ความผิดฐานยักยอกไม่ แต่คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษฉ้อโกง จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา ๒๒๕ กะทงเดียว
โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าการที่คลังจังหวัดส่งทรัพย์คือเงิน ๑๕ บาทอันเกินความจริงที่ขอเบิกให้แก่จำเลย เพราะจำเลยใช้อุบายหลอกลวงให้หลงเชื่อว่ากรรมการจังหวัดต้องการเบิกถึง ๗๕ บาทตามเยนื้อเรื่องถ้าหากจำเลยมิได้ใช้อุบายหลอกลวงให้หลงเชื่อเช่นนั้นแล้ว คลังจังหวัดจะไม่จ่ายเงินจำนวนเกิน(๑๕บาท)นั้นให้แก่จำเลย จึงถือไม่ได้ว่าโดยจริงใจคลังจังหวัดได้มอบเงิน ๑๕ บาทให้จำเลยไปจ่ายให้แก่ผู้ขอยืมเงินทดรอง จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์

Share