คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2477

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ในคดีที่จำเลยต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ลักษณอุทธรณ์ ถ้าศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยซึ่งมิได้อุทธรณ์ในข้อกฎหมายแลศาลอุทธรณ์ก็มิได้กล่าววินิจฉัยในข้อกฎหมายอย่างไรแล้ว ศาลฎีกาตัดสินให้ ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ บังคับคดีตามศาลเดิมได้ ในคดีที่คู่ควมอุทธรณ์ใช้+อกกฎหมายนั้นจะต้องแสดงข้อกฎหมายขึ้นมาด้วย พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ +.ศ.2461 ม.3 คดีที่ศาลเดิมแลศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้ปรับจำเลยไม่ถึงพันบาทนั้นต้องด้วย ม.3 เจตนาหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง

ย่อยาว

คดีนี้ศาลเดิมพิพากษาว่าจำเลยที่ ๑ -๒มีผิดตามพระราชบัญญัติฝิ่น ม.๕๓-๖๖ ให้ปรับรวมกัน ๔ เท่าราคาฝิ่นเป็นเงิน ๓๑๑ บาท ๔๐ สตางค์ ฐานมีกล้องฝิ่นตาม ม.๖๖ อีก ๒๐ บาทรวม ๓๓๑ บาท ๔๐ สตางค์ แลว่าจำเลยที่ ๑ มีผิดฐานมีฝิ่นขาดแลเกินไปจากจำนวนในใบอนุญาตตาม ม.๑๗-๕๗-๕๓ อีกกะทง ๑ ให้ปรับ ๔ เท่าราคาฝิ่นเป็นเงิน ๑๐๐ บาท แลให้ปรับจำเลยที่ ๓ ฐานมีมูลฝิ่นตาม ม.๕๓ เป็นเงิน ๒๕ บาท
จำเลยที่ ๑ แลที่ ๒ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ในข้อที่ศาลเดิมให้ปรับจำเลย ๑๐๐ บาทคงให้ปรับจำเลยที่ ๑ สี่เท่าราคาฝิ่นที่เหลืออยู่เป็นเงิน ๓๖ บาทนอกนั้นยืน
ศาลฎีกาเห็นว่าคดีนี้ศาลเดิมแยกปรับจำเลยเป็น ๒ กะทง ๆ ที่ ๑ ปรับ ๓๓๑ บาท ๔๐ สตางค์ ซึ่งจำเลยอุทธรณ์ได้ ส่วนในกะทงที่ ๒ ศาลเดิมปรับจำเลยที่หนึ่ง ๑๐๐ บาทนั้นจำเลยจะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงไม่ได้ และจะถือว่าจำเลยอุทธรณ์ในข้อกฎหมายก็ไม่ได้ เพราะไม่ได้อธิบายไว้ว่าอุทธรณ์ในข้อกฎหมายอะไรจึงต้องห้ามตามพ.ร.บ.ลักษณอุทธรณ์ พ.ศ.๒๔๗๓ ม.๓(๑) ซึ่งเป็นกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในเวลานั้น แลที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำตัดสินศาลเดิมในกะทงที่ ๒ ก็มิได้แสดงว่าแก้ไขปัญหาข้อกฎหมายอย่างใด ส่วนฎีกาจำเลยกะทงที่ ๑ เถียงในเรื่องเจตนาซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง แลศาลเดิม ศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้ปรับคดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จริงตาม พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ พ.ศ.๒๔๖๑ ม.๓ จึงพิพากษายืนตามศาลเดิม

Share