แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องว่าเหตุเกิดวันที่4สิงหาคมแต่นำสืบว่าเหตุเกิดวันที่4มิถุนายนเป็นข้อแตกต่างเพียง รายละเอียดเกี่ยวกับเวลากระทำความผิดซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสามมิให้ถือว่าต่างกันใน ข้อสาระสำคัญ ในชั้นแรกจำเลยให้การปฏิเสธลอยต่อมาได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำให้การว่าตามวันเวลาในฟ้องจำเลยไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุแต่จำเลยเบิกความว่าในวันเกิดเหตุตามที่โจทก์นำสืบผู้เสียหายและน้องชายจำเลยมาขอให้จำเลยไกล่เกลี่ยเรื่องที่บุคคลทั้งสองมีเรื่องชกต่อยกันขณะบุคคลทั้งสองอยู่ที่บ้านจำเลยก็เกิดทะเลาะต่อสู้ทำร้ายกันจนผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บจำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องในการกระทำผิดด้วยถือได้ว่าจำเลยนำสืบแก้ข้อกล่าวหาโดยมิได้ หลงต่อสู้ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297, 83, 58ให้ นำ โทษ จำคุก ที่ รอการลงโทษ ไว้ ใน คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ ข. 1488/2535ของ ศาลชั้นต้น มา บวก เข้า กับ โทษ ใน คดี นี้
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ แต่ รับ ว่า เป็น บุคคล คนเดียว กับ จำเลย ใน คดีที่ รอการลงโทษ และ โจทก์ ขอให้ บวก โทษ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(8) จำคุก 1 ปี ให้ นำ โทษ จำคุก 3 เดือน ใน คดีอาญาหมายเลขแดง ที่ ข. 1488/2535 ของ ศาลชั้นต้น มา บวก กับ โทษ ใน คดี นี้รวม จำคุก 1 ปี 3 เดือน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ ฟ้อง ว่า เหตุ เกิดเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม 2535 แต่ ใน ทางนำสืบ โจทก์ นำสืบ ว่า เหตุ เกิดเมื่อ วันที่ 4 มิถุนายน 2535 ซึ่ง แตกต่าง กัน ถึง 2 เดือน และ จำเลยนำสืบ อ้าง ฐาน ที่อยู่ ว่า ใน วัน เวลา เกิดเหตุ ตาม ฟ้อง จำเลย อยู่ ที่กรุงเทพมหานคร คุม บุตรชาย ซ้อม มวย จึง ถือได้ว่า ข้อเท็จจริง ตาม ที่ปรากฏ ใน การ พิจารณา แตกต่าง กับ ข้อเท็จจริง ที่ กล่าว ใน ฟ้อง ใน สาระสำคัญและ จำเลย หลงต่อสู้ นั้น เห็นว่า ข้อแตกต่าง ที่ จำเลย ฎีกา เป็น เพียงรายละเอียด เกี่ยวกับ เวลา กระทำ ความผิด ซึ่ง ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม แก้ไข เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2522 มาตรา 5 บัญญัติ ว่า มิให้ ถือว่า ต่างกันใน ข้อ สาระสำคัญ และ ใน การ ต่อสู้ คดี ของ จำเลย นั้น ชั้น แรก จำเลยปฏิเสธ ลอย ว่า ไม่ได้ กระทำ ความผิด ตาม ฟ้อง แต่ ต่อมา ได้ ยื่น คำร้องขอเพิ่มเติม คำให้การ เมื่อ วันที่ 11 มกราคม 2536 ว่า ตาม วัน เวลาที่ โจทก์ กล่าว ฟ้อง จำเลย ไม่ได้ เกี่ยวข้อง และ ไม่ได้ อยู่ ใน ที่เกิดเหตุดัง โจทก์ กล่าวหา หาก แต่ จำเลย ไป ติดต่อ ธุรกิจ อยู่ ที่ ต่างจังหวัดและ ใน ชั้นพิจารณา จำเลย จะ นำสืบ ว่า ตาม วัน เวลา ที่ โจทก์ กล่าว ใน ฟ้องจำเลย อยู่ ที่ กรุงเทพมหานคร เพราะ ไป คุม บุตรชาย ซ้อม มวย แต่ จำเลยก็ เบิกความ ไว้ ด้วย ว่า ใน วันเกิดเหตุ ตาม ที่ โจทก์ นำสืบ ผู้เสียหายและ น้องชาย จำเลย ต่าง เมาสุรา พา กัน มา ที่ บ้าน จำเลย ที่ อำเภอ เขมราฐ ซึ่ง เป็น ที่เกิดเหตุ ขอให้ จำเลย ไกล่เกลี่ย กรณี ที่ บุคคล ทั้ง สองมี เรื่อง ชกต่อย กัน ใน คืน ที่ ผ่าน มา ขณะ บุคคล ทั้ง สอง นั่ง ดื่ม สุรา กัน ต่ออยู่ ที่ บ้าน จำเลย นั้น ก็ เกิด ทะเลาะ และ ตี กัน โดย น้องชาย จำเลย มีท่อน เหล็ก เป็น อาวุธ และ ผู้เสียหาย มี ขวด สุรา เป็น อาวุธ ต่อสู้ ทำร้ายซึ่ง กัน และ กัน จน ผู้เสียหาย ได้รับ บาดเจ็บ จำเลย ไม่ได้ เกี่ยวข้องใน การกระทำ ผิด ด้วย เมื่อ จำเลย นำสืบ ดังกล่าว จึง ถือได้ว่า จำเลยเข้าใจ ข้อกล่าวหา และ นำสืบ แก้ ข้อกล่าวหา ได้ ถูกต้อง โดย มิได้หลงต่อสู้คดี ฎีกา ของ จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน