แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การที่จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนเรือนั้น มิใช่เป็นข้อสันนิษฐานอย่างเด็ดขาดว่าจำเลยเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว ดังนั้นในประเด็นที่ว่าใครเป็นเจ้าของเรือนยนต์ โจทก์อาจนำสืบถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ เช่น ว่าการที่จำเลยเพียงบรรลุนิติภาวะยังไม่มีบุตรภรรยาทั้งยังอยู่ร่วมกับผู้เป็นบิดา เหตุไฉนจึงมีหลักทรัพย์มากมายเหลือล้นอย่างนี้ประกอบกับพฤติการณ์อื่น ๆ อันส่อให้เห็นว่าบิดามารดาและจำเลยเป็นเจ้าของเรือยนต์ร่วมกันได้.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ ๑,๒ เป็นสามีภรรยากันเป็นเจ้าของเรือยนต์ชื่อไทยเจริญสุข จำเลยที่ ๓,๔ เป็นลูกจ้างโดยจำเลยที่ ๓ เป็นนายท้ายเรือ จำเลยที่ ๔ เป็นผู้ควบคุมเครื่อง เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๙๔ โจทก์โดยสารเรือแจวเพื่อนำเงินส่งเจ้าของโรงสีที่บ้านปากพนัง จำเลยที่ ๓,๔ ได้ควบคุมเรือยนต์ดังกล่าวไปในแม่น้ำปากพนังด้วยความประมาทเลิ่นเล่อเป็นเหตุให้เรือยนต์ชนเรือแจวที่โจทก์โดยสารมาล่มลงที่ปากแพรก ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหายไปรวมราคา ๕,๒๐๐ บาท ทั้งนี้เป็นการละเมิดหน้าที่ที่จำเลยที่ ๓,๔ ได้ปฏิบัติกิจการซึ่งเป็นไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ ๑,๒ จำเลยทั้ง ๔ จึงต้องรับผิดร่วมในผลแห่งการละเมิดที่โจทก์ได้รับความเสียหาย
จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นเจ้าของและผู้จัดการเรือยนต์ไทยเจริญสุข และจำเลยที่ ๓,๔ ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย จำเลยไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ ๓,๔ ขาดนัดยื่นคำให้การและนัดพิจารณา
ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องหมายเรียกนายจำรัส อรุณสกุลจำเลยที่ ๕ เป็นจำเลยร่วมอีกคนหนึ่งว่าจำเลยที่ ๕ เป็นบุตรจำเลยที่ ๑,๒ ได้เป็นเจ้าของเรือยนต์ไทยเจริญสุขร่วมกับจำเลยที่ ๑,๒ และมีอำนาจใช้สอยและจัดการเช่นกัน จำเลยที่ ๕ ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดร่วมกับจำเลยทั้ง ๔ ด้วย
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยที่ ๑,๒,๓,๔ และ ๕ ร่วมกันใช้ค่าเสียหาย ๕,๒๐๐ บาท ให้โจทก์และดอกเบี้ยอีกร้อยละ ๗ ครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ จำเลยที่ ๕ ไม่มีหน้าที่ควบคุมการเดินเรือจึงไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ ๑,๒ และ ๕ ฎีกา
ศาลฎีกาประชุมปรึกษาคดีแล้วเห็นว่าปัญหาจำเลยทั้งสามจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่นั้น ศาลฎีกาได้พิเคราะห์พยานโจทก์จำเลยแล้วตามประเด็นที่ว่าใครเป็นเจ้าของเรือยนต์ไทยเจริญสุข นายจำรัสจำเลยที่ ๕ อ้างว่าเป็นเจ้าของเรือยนต์ลำนี้โดยซื้อจากนายสุทินเป็นราคาเงินหนึ่งหมื่นบาท และว่าซื้อเรือจากนายสุทินทั้งหมด ๕ ลำ ได้ชำระเงินสดทั้งหมดราวสองแสนบาทเศษทั้งเป็นเจ้าของโรงสีบางไทรด้วย ยังไมีมีบุตรภรรยาและได้อยู่ร่วมกับจำเลยที่ ๑,๒ ผู้เป็นบิดามารดา ไฉนนายจำรัสจะมีหลักทรัพย์จำนวนมากมายเหลือล้นถึงดังนี้ โดยไม่ปรากฏว่าได้รับมาจากผู้ใด เรือยนต์ลำนี้นายจำรัสซื้อมาเมื่อใด จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ไม่รู้เรื่อง แม้แต่โรงสีบางไทรจำเลยที่ ๑ ก็ว่าจะเป็นของจำเลยที่ ๒ หรือไม่ ๆ ทราบทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ ๑,๒ เป็นสามีภรรยากัน แต่จำเลยที่ ๒ ว่าโรงสีบางไทรเป็นของนายจำรัสเอง ย่อมเป็นสิ่งผิดปกติวิสัยที่จำเลยที่ ๑,๒ ปล่อยให้นายจำรัสบุตรของตนจัดการปกครองโดยลำพังอย่าเด็ดขาด นายไพจิตร++โจทก์ผู้มีอาชีพค้าขายทางเรือมาเป็นเวลานานและนายเม่งเห้งพ่อค้าปากพนังก็ยืนยันตามจำเลยที่ ๒ ซื้อเรือยนต์ลำนี้มาจากนายสุทินเมื่อ ๒,๓ ปีมาแล้วใช้โยงเรือถ่านจากเตาของจำเลยที่โรงสีบางไทรบรรทุกข้าวสารจากโรงสีไปส่งที่ตลาดจำเลยที่ ๒ – ๕ ควบคุม ายร้อยตำรวจโทเขษม ผู้รับแจ้งความจากโจทก์ได้สอบถามจำเลยที่ ๓,๔ ก็บอกว่าเรือเป็นของนางหนูพินจำเลยที่ ๒ พฤติการณ์ดังนี้แสดงว่าเรือยนต์ไทยเจริญสุขเป็นของจำเลยที่ ๑,๒,๕ ร่วมกัน การที่จำเลยที่ ๕ มีชื่ออยู่ในทะเบียนเรือนั้น มิใช่ข้อสันนิษฐานอย่างเด็ดขาด่าจำเลยที่ ๕ เป็นเจ้าของเรือแต่ผู้เดียวโจทก์อาจนำสืบถึงพฤติการณ์ดังกล่าวแล้วข้างต้นก็ได้ จำเลยที่ ๑,๒ พยายาม++รับผิดในเมื่อตนจะต้องเสีย แต่ยอมรับในเมื่อถึงคราวจะได้ ฎีกาจำเลยในข้อนี้จึงตกไป. ฎีกาในข้ออื่นคงฟังตามศาลอุทธรณ์.
จึงพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์.