คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2499

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

นายประกันผิดนัดศาลก็มีอำนาจสั่งปรับ และเมื่อนายประกันมีหลายคนนายประกันเหล่านั้นก็ตกเป็นลูกหนี้ร่วม ศาลมีอำนาจเรียกชำระหนี้จากนายประกันแต่คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตาม ป.พ.พ. ม.291,ม.296 เป็นเรื่องความผิดระหว่างลูกหนี้ร่วมไม่ใช่เรื่องความผิดต่อเจ้าหนี้.

ย่อยาว

คดีนี้ได้ความว่านางสายและนางสมพิศได้ทำสัญญารับประกันตัวนายผัน จำเลยที่ ๓ ไว้ต่อศาลอาญาโดยตีราคา ๑๐,๐๐๐ บาท ระหว่างพิจารณานายผันจำเลยหลบหนี ศาลอาญาสั่งปรับนายประกัน นายประกันไม่นำเงินมาชำระตามกำหนดศาลสั่งให้ยึดทรัพย์นายประกัน นางสายนายประกันยื่นคำร้องขอผัดอ้างว่านางสมพิศเป็นนายประกันร่วมด้วย นางสายจึงขอรับผิดแต่เพียง ๕,๐๐๐ บาท ส่วนอีก ๕,๐๐๐ บาทขอให้ศาลคิดเอาจากนางสมพิศ ศาลอาญาสั่งว่า “ให้นายประกันผัดได้” ส่วนจะให้นายประกันคนใดนั้นให้นายประกันไปตกลงกันเอง”
นางสายนายประกันอุทธรณ์คำสั่ง
นางสายฎีกาศาลฎีกาเห็นว่ากรณีนี้ต้องถือว่านางสายและนางสมพิศนายประกันเป็นลูกหนี้ร่วมมีความผิดร่วมกันในจำนวนเงินที่ศาลสั่งปรับ ตาม ก.ม. เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนใดก็ได้ตาม ป.พ.พ. ม.๒๙๑,ป.พ.พ. ม.๒๙๖ ที่อ้างมานั้นเป็นเรื่องความรับผิดระหว่างลูกหนี้ร่วมกันต่างหาก หาใช่เรื่องความรับผิดต่อเจ้าหนี้ไม่ และ ม.๒๙๐ ก็ไม่เกี่ยวกับเรื่องเป็นลูกหนี้ร่วม พิพากษายืน.

Share