คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2494

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

พ.ร.บ.ฝิ่น พ.ศ. 2472 มาตรา 53 ซึ่งได้แก้ไขใหม่ โดย พ.ร.บ.ฝิ่น ( ฉบับที่ 4 ) 2481 มาตรา 6 หาได้ประสงค์จะให้ถือเอา ” ราคาฝิ่น ” มาตั้งเป็นเกณฑ์คำนวณค่าปรับในคดีเรื่อง ” มูลผิ่น ” เหมือนมาตรา 51 ไม่เพราะความตอนท้าย 2 วรรคที่บัญญัติในเรื่อง ” ราคาฝิ่น ” และ ” ราคามูลฝิ่น ” อันจะตั้งเป็นเกณฑ์คำนวณค่าปรับนั้น วรรคหลังบัญญัติว่า ” ราคามูลฝิ่น…” ให้ถือเอา ” ราคาฝิ่น ” ตามวรรคก่อนแต่ ” ราคาฝิ่น ” ตามวรรคก่อนนั้นให้ถือเอา ” ราคาฝิ่น ” หรือ ” ราคามูลฝิ่น ” แล้วแต่กรณี ฉะนั้นเมื่อกรณีเป็นเรื่อง ” มูลฝิ่น ” ก็ตต้องถือเอาราคามูลฝิ่นตั้งเป็นเกณฑ์ค่าปรับ เมื่อรัฐบาลมิได้ขาย ” มูลผิ่น ” จึงไม่มีราคามูลฝิ่นที่รัฐบาลขายมาตั้งเป็นเกณฑ์คำนวณค่าปรับ ก็ต้องปรับตามคั่น+ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น

ย่อยาว

คดีนี้ ได้ความตามข้อโจทก์หาและคำรับของจำเลยว่า จำเลยได้มีไว้ซึ่ง ” มูลฝิ่น ” หนัก ๒๑ กรัม โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
และได้ความว่า ในท้องที่และเวลาที่เกิดเหตุเรื่องนี้รัฐบาลได้ขาย ” มูลฝิ่น ” คงขายแต่ ” ฝิ่น ” ตามน้ำหนักกรัมละ ๔ บาท
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยผิดตาม พ.ร.บ.ฝิ่น ๒๔๗๓ มาตรา ๕๓ ซึ่งได้แก้ไขโดย พ.ร.บ.ฝิ่น ( ฉบับที่ ๔ ) ๒๔๘๑ มาตรา ๖ ให้ปรับ ๕ เท่าราคาฝิ่น ซึ่งเมื่อลดเพราะรับสารภาพกึ่งหนึ่งแล้ว คงปรับ ๒๑๐ บาท
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ปรับ ๕๐ บาท
โจทก์ฎีกาว่า ค่าปรับเรื่อง ” มูลฝิ่น ” ต้องคำนวณจาก ” ราคาฝิ่น ”
ศาลฎีกาเห็นว่า พ.ร.บ.ฝิ่น พ.ศ. ๒๔๗๒ มาตรา ๕๓ ซึ่งได้แก้ไขใหม่โดย พ.ร.บ.ฝิ่น ( ฉบับที่ ๔ ) พ.ศ. ๒๔๘๑ มาตรา ๖ ความตอนท้าย ๒ วรรคที่บัญญัติในเรื่อง ” ราคาฝิ่น ” และ ” ราคามูลฝิ่น ” อันจะตั้งเป็นเกณฑ์คำนวณค่าปรับนั้น วรรคหลังบัญญัติว่า ” ราคามูลฝิ่น…” ให้ถือเอา ” ราคาฝิ่น ” ตามวรรคก่อนแต่ ” ราคามูลฝิ่น ” แล้วแต่กรณี ฉะนั้นเมื่อกรณีนี้เป็นเรื่อง ” มูลฝิ่น ” ก็ต้องถือเอา ” ราคามูลฝิ่น ” ตั้งเป็นเกณฑ์คำนวณค่าปรับตามในวรรคก่อนมิได้บัญญัติให้ถือเอา ” ราคาฝิ่น ” แต่อย่างเดียว จึงไม่มีมีทางที่จะตีความไปดั่งที่โจทก์เข้าใจ อนึ่งเมื่อเทียบดูกับมาตรา ๕๑ ก็จะเห็นได้ว่ามาตรา ๕๓ หาได้ประสงค์จะให้ถือเอา ” ราคาฝิ่น ” มาตั้งเป็นเกณฑ์คำนวณค่าปรับในคดีเรื่องมูลฝิ่นเหมือนมาตรา ๕๑ ไม่ จึงพิพากษายืน ( อ้างฎีกาที่ ๑๐๓๗/๒๔๘๒,๑๑๑๗/ ๒๔๙๒,๑๖๔๑/๒๔๙๓,

Share