คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2483

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

กล่าวในฟ้องว่าจำเลยปลอมหนังสือและใช้หนังสือปลอม แต่ทาง พิจารณาปรากฎว่าเพียงแต่ว่ามีการแก้ตัวเลขและวันเดือน ปีในหนังสือ เช่นนี้ไม่เรียกว่าทางพิจารณาได้ ความแตกต่างกับ โจทก์ฟ้อง การที่ศาลล่างทั้ง 2 วินิจฉัยข้อเท็จจริงแตกต่างกันนั้นไม่เป็นปัญหาข้อ กฎหมาย+จะฎีกาได้

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบิกความเท็จปลอมหนังสือ และนำหนังสือที่ปลอมนั้นไปยื่นต่อศาลขอให้ลงโทษ แต่ทาง พิจารณาปรากฏว่าลายเซ็นในหนังสือนั้นมิใช่ลายเซ็นปลอมหากมีการแก้ตัวเลขและวันเดือนปีในหนังสือ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา ๒๒๔-๒๒๗ กะทงหนึ่งกับตามมาตรา ๑๕๕ และ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณอาญา พ.ศ. ๒๔๗๗ (ฉะบับที่ ๓ ) มาตรา ๔ อีกกะทง หนึ่งจำคุกจำเลยกะทงละ ๒ ปีรวม ๔ ปี
จำเลยฎีกาว่า
๑. พฤตติการณ์ดังกล่าวนับว่าข้อนำสืบแตกต่างกับฟ้อง ศาลควรยกฟ้อตามมาตรา ๑๙๒
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
๒. ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงแตกต่างกับศาลชั้นต้นจำเลยควรฎีกาได้
ศาลฎีกาเห็นว่า ข้อเท็จจริงเท่าที่บรรยายในฟ้องและที่พิจารณาได้ความนั้นจะเรียกว่าแตกต่างกันจนถึงให้ยกฟ้องตามมาตรา ๑๙๒ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้ เพราะ โจทก์มุ่งแสดงว่าจำเลยนำหนังสือที่มีการปลอมแปลงไปแสดงต่อศาล ส่วนจะเป็นการปลอมทั้งฉะบับหรือแต่บางส่วน หรือใครเป็นผู้ปลอมนั้นไม่สำคัญส่วนข้อที่ว่าศาลล่างทั้ง ๒ วินิจฉัยข้อเท็จจริงแตกต่างกัน จำเลยควรมีสิทธิฎีกาได้นั้นไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุน จำเลยจึงฎีกาคัดค้านไม่ได้พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์

Share