คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2480

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ภายหลังวันประกาศแก้ไช พ.ร.บ. อาวุธปืน ม.61 ต้องมีความผิดฐานมีอาวุธปืนโดยมิได้รับอนุญาต การจะริบอาวุธปืนที่มีไว้โดยผิดกฎหมายหรือไม่นั้นเป็น++ดุลพินิจของศาลและเป็นโทษอาญาอย่างหนึ่งประมวลวิธีพิจารณาความอาญา ม. 218 , 222 ในคดีที่ฎีกาได้ฉะเพาะปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจที่จะลดโทษและสั่งไม่ริบทรัพย์ที่ศาลล่างให้ริบได้เมื่อเห็นสมควร

ย่อยาว

ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองของจำเลยโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานอันชอบด้วยกฎหมายในระหว่างวันที่ ๒๗ ตุลาคม ถึงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๔๗๗ โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๗๗ ม. ๑๑ ให้ปรับ ๕๐ บาท ปืนของกลางให้ริบ
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาตัดสินว่าตา พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ปี พ.ศ. ซึ่งแก้ไข ม. ๖๑ มีข้อความว่าให้บุคคลซึ่งมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาตให้ถูกก่อนวันใช้ พ.ร.บ. นี้ไปขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมาย ภายในหกเดือน แต่ที่ปรากฏข้างต้นจำเลยมีอาวุธปืนภายหลังวันใช้ พ.ร.บ. อาวุธปืน และภายหลังวันประกาศเปลี่ยนแก้มาตรา ๖๑ จำเลยจึงไม่ตกอยู่ในความยกเว้นของ ม. ๖๑ ที่ แก้ไขใหม่นี้ จำเลยจึงต้องมีความผิดดั่งศาลชั้นต้นวินิจฉัยมา และข้อที่จำเลยแก้ว่าเข้าใจกฎหมายผิดไปนั้นตาม ม. ๔๕ แห่งกฎหมายอาญาจะยกมาเป็นข้อแก้ตัวมิได้ แต่เห็นว่าเรื่องนี้จำเลยก็ให้การรับตามข้อเท็จจริงที่โจทก์ฟ้องเป็นการให้ความสะดวกแก่โจทก์และศาลในการพิจารณามาก จึงควรลงโทษให้กึ่งหนึ่ง ปืนของกลางขณะนี้ก็มีใบอนุญาตแล้ว และจำเลยก็ใช้ปืนนั้นในทางที่เป็นประโยชน์แก่ราชการ และ ม. ๖๐ แห่ง พ.ร.บ. อาวุธปืนก็ไม่บังคับว่าศาลจำเป็นต้องริบเสมอไป อนึ่งการริบทรัพย์เป็นโทษทางอาญาอย่างหนึ่ง ตาม ม. ๑๒ แห่ง กฎหมายอาญา เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาได้โดยประการใดอื่น ศาลฎีกาก็ย่อมทรงไว้ ซึ่งอำนาจที่จะแก้ไชในกำหนดโทษนั้นได้จึงพิพากษให้ปรับจำเลย ๒๕ บาทปืนของกลางไม่ริบปืนให้จำเลยไป

Share