แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา
ย่อสั้น
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47ใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการเลิกจ้างกันแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ ส่วนนายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้หรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแต่ละสถานประกอบการเป็นราย ๆ ไป การกระทำของลูกจ้างแม้มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ตามข้อบังคับหรือระเบียบวินัยเกี่ยวกับการทำงานแต่ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583นายจ้างจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยตั้งแต่วันฟ้องการที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินต้นค่าชดเชยตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยที่ไม่ปรากฏเหตุใด ๆ เพื่อความเป็นธรรมจึงเป็นการเกินคำขอ
ย่อยาว
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 4,770 บาท ค่าชดเชย 28,620 บาท กับให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินต้นสองจำนวนในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีสำหรับค่าชดเชยให้ชำระตั้งแต่วันเลิกจ้าง ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเงินสองสำนวนนั้นเสร็จแก่โจทก์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกโจทก์และจำเลยต่างอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า “โจทก์อุทธรณ์ว่า เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47เสียแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2518) ว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนลด และตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง การถอดถอนระเบียบวินัยการสอบสวน และการลงโทษพนักงานและลูกจ้างเอกสารหมายล.25 ข้อ 19(2)(3) จำเลยหามีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ไม่ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยอาศัยข้อบังคับฯ เอกสารหมาย ล.25 จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำเลยต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงาน หรือมิฉะนั้นก็ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า เป็นความสำคัญผิดของโจทก์เองที่เข้าใจข้อกฎหมายคลาดเคลื่อนไปว่า หากตนไม่ได้กระทำผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 47 แล้วจำเลยหามีสิทธิเลิกจ้างไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯข้อ 47 นั้น มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายและใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างทั่วไปทุกสถานประกอบกิจการ โดยใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการเลิกจ้างกันแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ ส่วนนายจ้างมีสิทธิจะเลิกจ้างลูกจ้างได้หรือไม่ประการใดนั้นย่อมต้องพิจารณาตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างแต่ละสถานประกอบกิจการเป็นราย ๆ ไปจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเงินบำเหน็จ ครั้นแล้วโจทก์รวมยอดเงินทุกจำนวนประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ และข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานใช้บังคับต่างกรณีกัน มิใช่พิจารณาควบคู่ระคนปนกันตามที่โจทก์อุทธรณ์คดีนี้ ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2525 เวลา 18 นาฬิกา ก่อนนำถุงกระดาษใส่เงินเข้าเก็บในเซฟ มีเงินถึง 42,926.75 บาท ครั้นวันรุ่งขึ้นโจทก์นำเงินออกจากเซฟมานับ กลับปรากฏว่าเงินขาดหายไปจากจำนวน 42,926.75 บาท ถึง 1,000 บาท โจทก์เป็นผู้นับเพียงผู้เดียวหามีผู้อื่นร่วมนับร่วมรู้ด้วยไม่ กล่าวโดยสรุปก็คือเงินมาขาดหายไปที่โจทก์ผู้เดียว ศาลแรงงานกลางจึงปรับบทด้วยข้อบังคับฯ เอกสารหมาย ล.25 ข้อ 19(2) ที่ว่าโจทก์เป็นผู้ไม่อาจไว้วางใจให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้และปรับบทด้วยข้อ 19(3) ที่ว่าโจทก์มีมลทินหรือมัวหมองในกรณีความผิดอย่างร้ายแรง ศาลฎีกาเห็นว่าศาลแรงงานกลางปรับข้อเท็จจริงกับข้อบังคับฯเอกสารหมาย ล.25 ข้อ 19(2)(3) ที่จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ตามข้อ 19 ตอนต้นนั้นชอบแล้ว ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับฯเอกสารหมาย ล.25 ประการใด ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ชัดว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือประมาทเลินเล่อในหน้าที่เป็นเหตุให้เสียหายแก่จำเลยอย่างร้ายแรงแล้ว ไม่เพียงแต่โจทก์จะถูกลงโทษเลิกจ้างตามข้อบังคับฯ เอกสารหมาย ล.25 ข้อ (2)(3)เท่านั้น แต่โจทก์จะต้องถูกลงโทษขั้นรุนแรงถึงถูกไล่ออกตามข้อ23(4)(8) ไปเลยทีเดียวที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยมีเหตุผลอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์โจทก์ฟังไม่ขึ้น
บัดนี้ จัดได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยต่อไป จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ เนื่องจากโจทก์เป็นฝ่ายกระทำผิดขึ้นเองโจทก์เป็นผู้ที่ทำให้สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าแม้การกระทำของโจทก์มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ตามข้อบังคับหรือระเบียบวินัยเกี่ยวกับการทำงานก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นการขัดคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมายมิใช่ละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณ มิใช่ละทิ้งการงานมิใช่เป็นความผิดร้ายแรง การที่เงินขาดหายไปหากจะถือว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปด้วยถูกต้องตามความในตอนท้ายก็ตาม แต่ก็ขาดองค์ประกอบในข้อที่ว่าเป็นการไม่สุจริต ดังนั้น การเลิกจ้างของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนหรือต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
จำเลยอุทธรณ์ต่อไปว่า เมื่อไม่ถือว่าการเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยก็ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลฎีกาเห็นว่า การที่จำเลยจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่พิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 อันเป็นกฎหมายอื่นอีกฉบับหนึ่งซึ่งว่าด้วยการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กฎหมายสองฉบับมีที่ใช้ต่างกัน จำเลยอุทธรณ์ยกกฎหมายขึ้นปรับแก่คดีไม่ตรงแก่รูปเรื่องไม่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกัน ฟังไม่ขึ้น
จำเลยอุทธรณ์อีกข้อหนึ่งว่า โจทก์มิได้ขอดอกเบี้ยสำหรับค่าชดเชยที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ พิเคราะห์แล้วคดีนี้โจทก์มีคำขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าชดเชย ค่าเสียหายอันเกิดแต่การเลิกเป็นเงิน 1,583,640 บาทโดยขอให้จำเลยชำระยอดเงินรวมพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินต้นค่าชดเชยจึงชอบแล้วแต่ควรต้องพิพากษาให้ชำระนับแต่วันฟ้องตามคำขอ ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ชำระนับแต่วันเลิกจ้างโดยไม่ปรากฏเหตุใด ๆ เพื่อความเป็นธรรมจึงเป็นการเกินคำขอตามที่จำเลยอุทธรณ์
อุทธรณ์โจทก์ฟังไม่ขึ้น อุทธรณ์จำเลยฟังขึ้นเป็นบางส่วน”
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินต้นค่าชดเชยในอัตราที่ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษา ทั้งนี้โดยให้นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเงินเสร็จแก่โจทก์นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง