แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ที่พิพาทโจทก์จำเลยตีราคาไว้จำนวน100,000บาทดังนั้นราคาทรัพย์หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง100,000บาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแก่ ว. บุตรสาวที่จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจนั้นให้โจทก์ไว้เพราะไม่มีการมอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนสำเนาทะเบียนบ้านและโฉนดที่ดินให้โจทก์ตามเหตุผลที่ยกขึ้นอ้างในฎีกาข้อ2นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญายกที่พิพาทให้แก่บุตร2คนตามบันทึกหลังทะเบียนหย่าโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาจึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่บุตรทั้งสองจำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปดำเนินการโอนที่พิพาทให้แก่บุตรแทนจำเลยถือได้ว่าการที่จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวให้โจทก์ไว้เป็นการกระทำใดๆอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามบันทึกหลังทะเบียนหย่าอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา172เดิมเมื่อหนังสือมอบอำนาจลงวันที่4สิงหาคม2524อายุความจึงสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่4สิงหาคม2524และเริ่มนับใหม่ต่อไปโจทก์ฟ้องคดีวันที่4กรกฎาคม2533ยังไม่เกิน10ปีจึงไม่ขาดอายุความ บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุยกที่พิพาทแก่บุตรทั้ง2คนโดยมิได้มีเงื่อนไขกำหนดให้สัญญาสิ้นความผูกพันหากเหลือบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์นั้นเพียงผู้เดียวและเมื่อ พ.บุตรคนหนึ่งถึงแก่กรรมไปแล้วจำเลยยังทำหนังสือมอบอำนาจเป็นการรับสภาพหนี้ที่มีความผูกพันที่จะโอนที่พิพาทให้แก่ ว. บุตรซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่ายังคงเหลืออยู่เพียงผู้เดียวโดยระบุชื่อว. เป็นผู้รับโอนไว้อย่างชัดแจ้งย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงในการยกที่พิพาทนั้นต้องการยกให้แก่บุตรเท่านั้นโดยมิได้คำนึงถึงจำนวนบุตรว่าจะอยู่ครบทั้งคู่หรือเหลือเพียงคนเดียวโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทแก่ ว.ตามสัญญาและศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาททั้งแปลงแก่ ว. ได้ การที่จำเลยระบุผู้รับโอนที่พิพาทเป็น ว. เพียงคนเดียวในหนังสือมอบอำนาจแตกต่างไปจากสัญญาเดิมก็หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเดิมซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94ตามที่จำเลยอ้างไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เคย เป็น ภริยา จำเลย มี บุตร ด้วยกัน 2 คนและ มี กรรมสิทธิ์ร่วม กัน ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1039 ตำบล มาบข่า อำเภอ บ้านค่าย จังหวัด ระยอง เนื้อที่ 23 ไร่ 20 ตารางวา ต่อมา เมื่อ วันที่ 13 ธันวาคม 2521 โจทก์ จำเลย ได้ จดทะเบียน หย่า และทำ บันทึก ต่อ นายทะเบียน ว่า โจทก์ และ จำเลย ตกลง ยก ที่ดิน แปลง ดังกล่าวให้ แก่ นาง วิไลวรรณ ผลศิริ เมื่อ โจทก์ ทวงถาม ให้ จำเลย ปฏิบัติ ตาม สัญญา จำเลย กลับ เพิกเฉย ขอให้ บังคับ จำเลย จดทะเบียน โอน ที่ดินโฉนด เลขที่ 1039 ตำบล มาบข่า อำเภอบ้านค่าย จังหวัด ระยอง ให้ แก่ นาง วิไลวรรณ ผลศิริ (ฤกษ์มงคล) หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ให้การ รับ ว่า จำเลย ได้ จดทะเบียน หย่า และ ตกลง กับ โจทก์ ว่ายอม ยก ที่พิพาท แก่ บุตร ทั้ง สอง คน ตาม ฟ้อง แต่ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลยจดทะเบียน โอน ที่พิพาท แก่ บุตร คนเดียว เป็น การ ฝ่าฝืน ข้อตกลง ใน สัญญาโจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง และ โจทก์ มิได้ ฟ้อง ภายใน 10 ปี นับแต่วัน จดทะเบียน หย่า คดี โจทก์ ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย จดทะเบียน โอน ที่ดินโฉนด เลขที่ 1039 ตำบล มาบข่า อำเภอบ้านค่าย จังหวัด ระยอง แก่ นาง วิไลวรรณ ผลศิริ (ฤกษ์มงคล) หาก จำเลย ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ ที่พิพาท เนื้อที่ 23 ไร่ เศษโจทก์ จำเลย ตีราคา ไว้ จำนวน 100,000 บาท ดังนั้น ราคา ทรัพย์ หรือจำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา จึง มี เพียง 100,000 บาทต้องห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่าจำเลย ได้ ทำ หนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย จ. 7 มอบ ให้ โจทก์ ไป จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ที่พิพาท แก่ นาง วิไลวรรณ บุตรสาว ที่ จำเลย ฎีกา ว่า พยานหลักฐาน โจทก์ ไม่ น่าเชื่อ ว่า จำเลย ได้ ทำ หนังสือมอบอำนาจเอกสาร หมาย จ. 7 มอบ ให้ โจทก์ ไว้ เพราะ ไม่มี การ มอบสำเนา บัตรประจำตัวประชาชน สำเนา ทะเบียนบ้าน และ โฉนด ที่ดิน ให้ โจทก์ตาม เหตุผล ที่ ยกขึ้น อ้าง ใน ฎีกา ข้อ 2 นั้น จึง เป็น การ โต้เถียง ดุลพินิจใน การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของ ศาลอุทธรณ์ เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริงต้องห้าม ตาม บท กฎหมาย ดังกล่าว ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ให้ ที่ จำเลยฎีกา ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ นั้น เห็นว่า การ ที่โจทก์ จำเลย ตกลง ทำ สัญญา ยก ที่พิพาท ให้ แก่ บุตร 2 คน ตาม บันทึกหลัง ทะเบียน หย่า เอกสาร หมาย จ. 4 โจทก์ จำเลย ซึ่ง เป็น คู่สัญญาจึง มี ฐานะ เป็น ลูกหนี้ ที่ จะ ต้อง โอน ที่พิพาท ให้ แก่ บุตร ทั้ง สองเมื่อ โจทก์ ทวงถาม ให้ จำเลย ปฏิบัติ ตาม สัญญา จำเลย ได้ ทำหนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย จ. 7 ให้ โจทก์ ซึ่ง เป็น คู่สัญญา ไปดำเนินการ โอน ที่พิพาท ให้ แก่ บุตร แทน จำเลย อันเป็น การ ปฏิบัติ ตาม สัญญาแล้ว ถือได้ว่า การ ที่ จำเลย ทำ หนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย จ. 7ให้ โจทก์ ไว้ เป็น การกระทำ การ ใด ๆ อัน ปราศจาก เคลือบคลุม สงสัย ตระหนักเป็น ปริยาย ว่า ยอมรับ สภาพ หนี้ ตาม บันทึก หลัง ทะเบียน หย่า เอกสารหมาย จ. 4 อายุความ ย่อม สะดุด หยุด ลง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 เดิม (มาตรา 193/14(1) ที่ แก้ไข ใหม่ ) เมื่อหนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย จ. 7 ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2524อายุความ จึง สะดุด หยุด ลง ตั้งแต่ วันที่ 4 สิงหาคม 2524 และ เริ่ม นับอายุความ ใหม่ ต่อไป โจทก์ ฟ้องคดี เมื่อ วันที่ 4 กรกฎาคม 2533ยัง ไม่เกิน 10 ปี จึง ไม่ขาดอายุความ และ ตาม บันทึก ข้อตกลง ระหว่างโจทก์ จำเลย เอกสาร หมาย จ. 4 ระบุ ยก ที่พิพาท ให้ แก่ บุตร ทั้ง สองโดย มิได้ มี เงื่อนไข กำหนด ให้ สัญญา สิ้น ความผูกพัน หาก เหลือ บุคคลที่ จะ เป็น ผู้รับ ทรัพย์ นั้น เพียง ผู้เดียว และ เมื่อ นาย พยงค์ บุตร คนหนึ่ง ถึงแก่กรรม ไป แล้ว จำเลย ยัง ทำ หนังสือมอบอำนาจ เป็น การรับสภาพหนี้ ที่ มี ความผูกพัน ที่ จะ โอน ที่พิพาท ให้ แก่ นาง วิไลวรรณ บุตร ซึ่ง จำเลย รู้ อยู่ แล้ว ว่า ยัง คงเหลือ อยู่ เพียง ผู้เดียว โดย ระบุชื่อ นาง วิไลวรรณ เป็น ผู้รับโอน ไว้ อย่าง ชัดแจ้ง ตาม เอกสาร หมาย จ. 7ย่อม แสดง ให้ เห็น เจตนา ของ จำเลย ว่า จุดประสงค์ ที่ แท้จริง ใน การยก ที่พิพาท นั้น ต้องการ ยกให้ แก่ บุตร เท่านั้น โดย มิได้ คำนึง ถึง จำนวนบุตร ว่า จะ อยู่ ครบ ทั้ง คู่ หรือ เหลือ เพียง คนเดียว เช่นนี้ โจทก์จึง มีสิทธิ ฟ้องบังคับ ให้ จำเลย โอน ที่พิพาท แก่ นาง วิไลวรรณ ตาม สัญญา และ ศาล ย่อม มีอำนาจ พิพากษา ให้ จำเลย จดทะเบียน โอน ที่พิพาท ทั้ง แปลงแก่ นาง วิไลวรรณ ได้ และ การ ที่ จำเลย ระบุ ผู้รับโอน ที่พิพาท เป็น นาง วิไลวรรณ เพียง คนเดียว ใน หนังสือมอบอำนาจ แตกต่าง ไป จาก สัญญา เดิม ก็ หาใช่ เป็น เรื่อง ที่ โจทก์ นำสืบ พยานบุคคล เพิ่มเติม ตัด ทอน หรือเปลี่ยนแปลง แก้ไข ข้อความ ใน เอกสาร ซึ่ง ต้องห้าม ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 94 ตาม ที่ จำเลย อ้าง ไม่ อนึ่ง ที่พิพาทตาม สำเนา โฉนด ฉบับ หลวง เอกสาร หมาย จ. 3 ระบุ ว่า อยู่ ตำบล บ้านค่าย ส่วน สำเนา โฉนด ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน เอกสาร ท้ายฟ้อง กลับ ระบุ ว่า เป็นตำบล มาบข่า แต่ เลข โฉนด ระวาง หน้า สำรวจ และ เลขที่ ดิน เป็น เลข เดียว กัน จึง เป็น ที่ดิน แปลง เดียว กัน
พิพากษายืน