คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้จำเลยเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสหกรณ์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2511มาตรา105และตามมาตรา104แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวปรากฏว่าจำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าแก่กิจการสหกรณ์ทุกประเภททั่วราชอาณาจักรอันมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันก็ตามแต่ตามมาตรา160(5)จำเลยยังมีอำนาจซื้อจัดหาจำหน่ายถือกรรมสิทธิ์ครอบครองหรือทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินและอาจมีรายได้จากค่าตอบแทนในการบริการตลอดถึงผลประโยชน์จากทรัพย์สินของตนเองตามมาตรา107(5)ในทางปฏิบัติจำเลยมีงบรายได้และค่าใช้จ่ายหากรายได้สูงกว่ารายจ่ายจะตกเป็นทุนในการดำเนินงานต่อไปแสดงว่าการดำเนินกิจการของจำเลยมีลักษณะแสวงหาประโยชน์จากกิจการเหล่านั้นมิใช่กิจการให้เปล่ากิจการของจำเลยจึงเป็นกิจการที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย สั่ง ซื้อ สินค้า จำพวก เม็ด พลาสติก จาก บริษัท โกลเด้นเท็กซ์ เดิม จำเลย จ้าง โจทก์ ทำงาน เป็น พนักงานประจำ ดำรง ตำแหน่ง สุดท้าย เป็น รองผู้อำนวยการ ฝ่าย วิชาการ ต่อมา เมื่อ วันที่10 ธันวาคม 2536 จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เนื่องจาก โจทก์ อายุ ครบ หก สิบ ปีบริบูรณ์ โดย ไม่จ่าย ค่าชดเชย ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน ค่าชดเชยเท่ากับ ค่าจ้าง งวด สุดท้าย คูณ ด้วย จำนวน 180 วัน เป็น เงิน 124,860บาท และ ให้ จำเลย ชำระ ค่าเสียหาย เท่ากับ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ สิบ ห้าต่อ ปี ใน ต้นเงิน 124,860 บาท นับแต่ วันที่ 10 ธันวาคม 2536 ถึงวันฟ้อง เป็น เงิน 2,873.50 บาท กับ ให้ จำเลย ชำระ ค่าเสียหาย เท่ากับดอกเบี้ย ใน อัตรา เดียว กัน นับแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จำเลย จะชำระ เงิน ชดเชย ทั้งหมด ให้ แก่ โจทก์ เสร็จสิ้น
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เป็น นิติบุคคล ตาม กฎหมาย มี วัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริม ความเจริญ ก้าวหน้า แก่ กิจการ สหกรณ์ ทุก ประเภท ทั่วราชอาณาจักร อัน มิใช่ เป็น การ หา ผล กำไร หรือ รายได้ แบ่งปัน กัน ตามพระราชบัญญัติ สหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 104 กิจการ ของ จำเลย จึง เป็นกิจการ ที่ ไม่อยู่ ใน บังคับ ของ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 นอกจาก นั้น จำเลย มิได้เลิกจ้าง โจทก์ แต่ โจทก์ อายุ ครบ 60 ปี ตาม ข้อบังคับ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศ ไทย ฉบับที่ 501 เรื่อง การ พ้น ตำแหน่ง ข้อ 23(2) จำเลยได้ จ่ายเงิน บำเหน็จ ให้ โจทก์ ตาม ข้อบังคับ สันนิบาตสหกรณ์ แห่งประเทศ ไทยฉบับที่ 310 ซึ่ง เท่ากับ เงินเดือน สุดท้าย ซึ่ง โจทก์ ได้รับ คูณ ด้วยจำนวน ปี ของ เวลาทำงาน จำเลย ไม่ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย แต่อย่างใดแต่ หาก โจทก์ มีสิทธิ ได้รับ ดอกเบี้ย จาก จำเลย ก็ มีสิทธิ คิด เพียงร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิจารณา แล้ว วินิจฉัยชี้ขาด ปัญหาข้อกฎหมายตาม ประเด็น ข้อพิพาท ข้อ (1) ว่า กิจการ ของ จำเลย เป็น กิจการ จ้าง งานที่ มิได้ มี วัตถุประสงค์ เพื่อ แสวงหา กำไร ใน ทาง เศรษฐกิจ ไม่อยู่ภายใต้ บังคับ ของ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 จำเลย จึง ไม่ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ ค่าเสียหายให้ แก่ โจทก์ พิพากษายก ฟ้องโจทก์
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “โจทก์ อุทธรณ์ ว่า กิจการของ จำเลย อยู่ ภายใต้ บังคับ ของ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระเงิน ตาม ฟ้อง เห็นว่า แม้ จำเลย เป็น นิติบุคคล จัดตั้ง ขึ้น ตามพระราชบัญญัติ สหกรณ์ แห่งประเทศ ไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 105 และ ปรากฏตาม มาตรา 104 แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว ว่า จำเลย มี วัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริม ความเจริญ ก้าวหน้า แก่ กิจการ สหกรณ์ ทุก ประเภท ทั่วราชอาณาจักร อัน มิใช่ เป็น การ หา ผล กำไร หรือ รายได้ แบ่งปัน กัน ก็ ตามแต่ ตาม มาตรา 106(5) จำเลย ยัง มีอำนาจ ซื้อ จัดหา จำหน่าย ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครอง หรือ ทำนิติกรรม เกี่ยวกับ ทรัพย์สิน และ อาจ มีรายได้ จาก ค่าตอบแทน ใน การ บริการ ตลอด ถึง ผลประโยชน์ จาก ทรัพย์สินของ ตนเอง ตาม มาตรา 107(5) ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ศาลแรงงานกลาง รับฟังมา เป็น ที่ ยุติ ว่า ใน ทางปฏิบัติ จำเลย มี งบ รายได้ และ ค่าใช้จ่ายปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย ล. 2 รายได้ สูง กว่า รายจ่าย จะ ตกเป็น ทุน ใน การดำเนินงาน ต่อไป เช่นนี้ แสดง ว่าการ ดำเนิน กิจการ ของ จำเลย มี ลักษณะแสวงหา ประโยชน์ จาก กิจการ เหล่านั้น โดย มิใช่ เป็น กิจการ ให้ เปล่ากิจการ ของ จำเลย จึง เป็น กิจการ ที่ แสวงหา กำไร ใน ทาง เศรษฐกิจ ตก อยู่ภายใต้ บังคับ แห่งประเทศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 อุทธรณ์ ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังขึ้น แต่ สำหรับประเด็น ที่ ว่า จำเลย จะ ต้อง รับผิด ใช้ ค่าชดเชย และ ดอกเบี้ย เพียงใดนั้น ศาลแรงงานกลาง ยัง มิได้ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ศาลฎีกา เห็นสมควรย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ปัญหา ดังกล่าว ก่อน ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง ให้ ศาลแรงงานกลาง ดำเนินการ พิจารณา ใน ประเด็น ดังกล่าว ข้างต้น เสีย ก่อน แล้ว พิพากษา ใหม่ตาม รูปคดี

Share