แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
อำนาจศาลอุทธรณ์วางหลักอำนาจศาลที่จะตัดสินคดีสำหรับตัวจำเลยผู้มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา
ย่อยาว
คดีนี้ศาลเดิมฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยวิวาททำร้ายกัน ม.จำเลยฟัน ต.บาดเจ็บสาหัสมีผิดตาม ม.๒๕๖ ส่วนจำเลยอื่นมีผิดตาม ม.๒๕๘ ให้จำคุก ม.๒ ที ต.๓ เดือน
ม.ผู้เดียวอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ตัดสินยืนในข้อที่ลงโทษ ม.จำเลย แต่คดีสำหรับตัว ล.จำเลยที่มิได้อุทธรณ์ขึ้นมา ตัดสินกลับให้ปล่อยตัวไป
ปัญหาจึงมีว่า คดีฉะเพาะตัว ล.จำเลยที่มิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจตัดสินได้หรือไม่
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า หลักมีอยู่ดังนี้ คือ ถ้า
( ๑ ) เปนเรื่องที่เกี่ยวกับลักษณคดี แม้จะมีอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาแต่จำเลยบางคนก็ดี ศาลมีอำนาจตัดสินปล่อยตัวผู้ต้องหาไปทั้งหมดได้
( ๒ ) เปนเรื่องเกี่ยวกับส่วนตัวจำเลยแต่บางคนแล้ว ศาลไม่วินิจฉัยเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำตัดสินในส่วนตัวจำเลยที่คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา เพราะถือว่าคดีสำหรับผู้นั้นถึงที่สุดแล้ว ตามฎีกาที่ ๕๑๐/๒๔๗๐ คดีนี้ศาลเดิมฟังว่า ล.จำเลยเปนผู้วิวาทด้วย และ ถ.มิได้อุทธรณ์ ต้องถือว่าคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจตัดสินแก้ในคดีส่วนตัว ล.ให้ จึงให้บังคับคดีไปตามศาลเดิม