แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ผู้รับมฤดกคนหนึ่งได้เข้าเป็นผู้ปกครองเด็กตามพินัยกรรม์ของผู้ตายแล้ว จะยกอายุความมรฤกยันเด็กไม่ได้ เจตนาจะให้ที่ดินที่ลูกหนี้ตีใช้หนี้แก่เด็กจึงให้หลงชื่อเด็กเป็นผู้รับโอนในโฉนดดังนี้ ที่ดินนั้นยอมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเด็กตั้งแต่วันโอน
เจตนาจะยกที่ให้แก่เด็ก แต่จดทะเบียนเป็นโอนขายแก่เด็กเด็กก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์
ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน ฝ่ายหนึ่งโอนทะเบียนให้ อีกฝ่ายหนึ่งทำหนังสือขายให้แก่คนภายนอกโดยผู้รับแลกเปลี่ยนเป็นผู้รับเงินราคาที่ขายได้นั้น อีกฝ่ายหนึ่งจะฟ้องเรียกเงินที่ขายได้นั้นไม่ได้
เงินค่าเช่าที่ดินและโรงเรือนย่อมเป็นของเจ้าของที่ดิน
เด็กอายุ 17 ปี ตายในขณะที่อยู่ในความปกครองของธิดา ส่วนมารดาตายไปก่อนแล้ว มฤดกตกได้แก่บิดาผู้เดียว พี่น้อง ร่วมบิดามารดาไม่มีสิทธิได้รับมฤดก อ้างฎีกาที่ 567/2456
รับเงินของผู้อื่นไว้รักษาและหาผลประโยชน์ เดิมฝากธนาคารไว้ ภายหลังไม่ปรากฎว่าได้ถอนไปหรือได้นำไปหาผลประโยชน์อย่างไร ศาลคิดค่าผลประโยชน์ให้ในอัตราขั้นต่ำที่ฝากธนาคาร เงินรายได้ที่เก็บได้จากทรัพย์ของเด็กนั้น ถ้าเด็กนำสืบไม่ได้ว่าผู้ปกครองใดได้เท่าใดแล้ว ศาลไม่คิดค่าผลประโยชน์ให้
ย่อยาว
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงและตัดสินในข้อกฎหมายดังนี้
๑. ฟังว่าโจทก์สำนวนที่ ๑,๓ เป็นโอรสกรมพระจันทบุรี ฯ เกิดจากหม่อมอื่นกรมพระจันทบุรี ฯ ทำพินัยกรรมให้โอรสธิดาทั้งหมดอยู่ในความปกครองของหม่อมเจ้าอักษรสมาน เมื่อกรมพระจันทบุรี ฯ สิ้นพระชนม์แล้ว หม่อมเจ้าอัยษรสมานก็ปกครองโจทก์ ศาลฎีกาจึงเห็นพ้องด้วยศาลล่างว่า หม่อมเจ้าอัยษรสมานเป็นผู้ปกครองของโจทก์สำนวนที่ ๑,๓ จึงเห็นว่าจำเลยจะยกอายุความขึ้นตัดฟ้องโจทก์ผู้อยู่ในความปกครองไม่ได้
๒. เรื่องที่น่าเกี่ยวแก่โจทก์สำนวนที่ ๑ ฟังว่า เดิมเป็นของหม่อมเจ้าบรรสารสนิทได้โอนตีใช้หนี้หม่อมเจ้าอัยษรสมาน ๆ ได้ส่งชื่อโจทก์ในสำนวนที่ ๑ กับโอรส ธิดาอื่นในโฉนดโดยหม่อมเจ้าอัยษรสมานเจตนายกที่ให้แก่ผู้มีชื่อในโฉนด ศาลฎีกาจึงเห็นว่ากรรมสิทธิ์ที่ดินย่อมโอนจากเจ้าของเดิมมาเป็นของผู้มีชื่อในโฉนดตั้งแต่วันจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน ร.ศ. ๑๒๗ มาตรา ๓๕,๓๙ เงินค่าเช่านาที่ได้ภายหลังวันโอนจึงเป็นของผู้มีชื่อในโฉนด
๓. เงินมฤดกของหม่อมเจ้าพรพิพัฒน์ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาของโจทก์สำนวนที่ ๒,๓ นั้น ได้ความว่าหม่อมเจ้าพรพิพัฒน์สิ้นชีพเมื่ออายุ ๑๗ ปี ยังอยู่ในความปกครองของกรมพระจันทบุรี ฯ ผู้เป็นบิดา มฤดกจึงตกได้แก่กรมพระจันทบุรี ฯ ผู้เดียวตามลักษณมฤดกบทที่ ๒๐ พระราชบัญญัติแก้ไข ลักษณมฤดก ร.ศ.๑๒๑ ไม่ลบล้างกฎหมาย ลักษณมฤดกบทที่ ๒๐
๔. โรงเรือนที่ตรอกสาเกเกี่ยวกับโจทก์สำนวนที่ ๓ นั้นฟังว่า หม่อมเจ้าอัยษรสมานทำนิติกรรมจดทะเบียนขายให้แก่โจทก์โดยเจตนาจะให้ที่รายนี้แก่โจทก์ ศาลฎีกาเห็นว่าแม้ความจริงเป็นยกให้ โจทก์ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตั้งแต่วันจดทะเบียน ค่าเช่าจากโรงเรือนจึงเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาให้หักค่าไฟฟ้าและค่าซ่อมเแซมจากค่าเช่า ค่าเช่าเหลือเท่าใดให้จำเลยใช้ แต่เห็นว่าโจทก์จะเรียกเงินผลประโยชน์ไม่ได้เพราะไม่ได้นำสืบว่า ผู้รักษาเงินเอาไปทำผลประโยชน์อย่างไรได้เท่าใด
๕. เงินที่กรมพระจันทบุรี ฯ รับพระราชทานมารักษาและหาผลประโยชน์แทน โจทก์สำนวนที่ ๒ หมื่นบาท ซื้อแชร์ให้โจทก์เสีย ๒๑๕๐ บาท เหลือนอกนั้นฝากธนาคารได้ดอกเบี้ยร้อยละ ๓ กึ่งถึงร้อยละ ๔ ต่อจากนั้นจะมีการถอนจากธนาคารอย่างไรไม่ปรากฎ แต่ปรากฎว่าเงินรายอื่น ๆ หม่อมเจ้าอัยษรสมานนำไปหาผลประโยชน์ร้อยละ ๗ กึ่งต่อปีขึ้นไป ศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อกรมพระจันทบุรี ฯ สิ้นพระชนม์แล้ว หม่อมเจ้าอัยษรสมานพูดกับโจทก์ถึงเงินรายนี้ โจทก์ทูลให้เอาไว้หาผลประโยชน์ต่อไป และเมื่อหม่อมเจ้าอัยษรสมานสิ้นชีพแล้ว ผู้รับมฤดกคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้จัดการมฤดกได้มีหนังสือรับรองหนี้ต่อโจทก์ จำเลยจึงยกอายุความมาตัดฟ้องไม่ได้ และศาลฎีกาเห็นว่าควรคิดค่าผลประโยชน์ให้โจทก์ร้อยละ ๓ กึ่งในอัตราอย่างต่ำที่ฝากธนาคารตั้งแต่วันที่กรมพระจันทบุรี ฯ รับมา
๖. เงินค่าขายที่บ้านถนนสาธรเกี่ยวกับโจทก์สำนวนที่ ๒ ฟังว่าหม่อมเจ้าอัยษรสมานลงชื่อโจทก์เป็นผู้รับจำนองแล้วหลุดเป็นสิทธิแก่โจทก์ภายหลังเก็บค่าเช่าไม่ค่อยได้ โจทก์ถวายคืน หม่อมเจ้าอัยษรสมานจึงโอนที่หัวลำโพงให้แทนโดยใส่ชื่อเป็นเจ้าของร่วมกับผู้อื่น โดยที่หัวลำโพงมีราคามาก แต่ที่ถนนสาธรนั้นไม่ได้โอนคืนมายังหม่อมเจ้าอัยษรสมาน ๆ ได้จัดการโอนขายตรงไปยังผู้ซื้อทีเดียวเพื่อให้เสียค่าธรรมเนียมน้อย ศาลฎีกาจึงเห็นว่าโจทก์ฟ้องเรียกเงินรายนี้ไม่ได้