คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2508

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายบัญญัติว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์-ทรัพย์ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องและต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ฉะนั้น การต่อสู้คดีว่าหนี้ของผู้ขอรับชำระหนี้ขาดอายุความ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงทำได้ตามลำพัง โดยไม่ต้องให้ลูกหนี้รู้เห็นยินยอมด้วย

ย่อยาว

เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย นายประเสริฐ เสรฐภักดี โดยนายอุดม ผู้รับมอบอำนาจได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ว่า จำเลยเป็นหนี้อยู่ ๑๑๒,๐๐๐ บาท ขอรับชำระหนี้ฐานเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกัน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนแล้ว ทำความเห็นต่อศาลว่า เช็ค ๕ ฉบับ นับแต่วันที่จำเลยสั่งจ่ายขาดอายุความ
ศาลขั้นต้นสั่งว่า เช็ค ๕ ฉบับแรเป็นเช็คขาดอายุความ ส่วนเช็ค ๒ ฉบับหลังไม่น่าเชื่อว่ากระทำขึ้นด้วยความสุจริต จึงมีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้เสีย
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า สำหรับเช็ค ๕ ฉบับแรกซึ่งยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อเิดกำหนด ๑ ปี นับแต่วันออกเช็ค และศาบล่างเห็นว่าขาดายุความแล้วนั้น ผู้ขอรับชำระหนี้ฎีกาอ้างว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา ๒๒ ได้ต่อเมื่อได้สอบสวนลูหนี้ผู้ล้มละลาย และลูกนี้นั้นกล่างอ้างขึ้นแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษืทรัพย์จะยกขึ้นกล่าวอ้างเองไม่ได้เพราะไม่ใช่ตัวแทนของลูกหนี้ผู้ล้มละลาย ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องและต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ฉะนั้น การต่อสู้คดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงทำได้ตาลำพังโดยไม่ต้องใ้ห้ลูกหนี้รู้เห็นยินยอมด้วย และไม่มีบทกฏหมายใดบัญญัติว่า กรณีดังเช่นคดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกล่าวอ้างได้ต่อเมื่อสอบสวนลูกหนี้แล้ว หรือว่าจะต้องให้ลูกหนี้กล่าวอ้างขึ้น ฎีกาข้อนี้จึงตกไป
เห็นว่า เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้รู้แล้วว่าเช็ค ๕ ฉบับแรขอรับเงินไม่ได้ จึงไม่น่าเชื่อเลยว่าเจ้าหนี้จะยอมให้จำเลยยืมเงินไปอีกและเป็นจำนวนมากกว่าเดิมอย่างคนไร้ความคิด ที่ศาลล่างให้ยกคำขอรับชำระหนี้ชอบแล้ว
พิพากษายืน ให้ยกฎีาของเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้

Share