คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จ่าสิบตำรวจ ส. ขับรถจักรยานยนต์ออกจากซอยแล้วเลี้ยวขวาตัดหน้ารถคันที่จำเลยขับจำเลยหักหลบแล้วแตะเบรกแต่ก็ยังชนกันและรถจำเลยเสียหลักแล่นขึ้นไปบนสะพานลอยแล้วชนรถยนต์สามล้อสาธารณะที่แล่นสวนทางมาแล้วไปชนราวสะพานไปพลิกคว่ำอยู่ถนนฝั่งตรงข้ามเป็นเหตุให้มีผู้ถึงแก่ความตายเมื่อจุดชนถึงที่รถพลิกคว่ำเป็นระยะทางประมาณ40ถึง50เมตรแสดงว่าจำเลยขับรถด้วยความเร็วทั้งที่รู้ว่าฝนตกและถนนลื่นซึ่งจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังโดยลดความเร็วลงได้แต่จำเลยหาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ถือว่าจำเลยขับรถโดยประมาทแต่เมื่อจ่าสิบตำรวจ ส. มีส่วนประมาทอยู่ด้วยประกอบกับจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจแล้วและจำเลยไม่เคยได้รับ โทษจำคุกมาก่อนสมควรวางโทษใหม่ให้เหมาะสมแก่รูปคดี

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 23 มิถุนายน 2535 เวลา กลางคืนก่อน เที่ยง จำเลย กระทำผิด ต่อ กฎหมาย หลายบท หลายกรรม ต่างกัน คือจำเลย ขับ รถยนต์โดยสาร ประจำทาง สาย 28 หมายเลข ทะเบียน 11-6959กรุงเทพมหานคร ไป ตาม ถนน พหลโยธิน จาก ทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มุ่งหน้า ไป ทาง ตลาด หมอ ชิต ด้วย ความประมาท ปราศจาก ความระมัดระวังกล่าว คือ จำเลย ได้ ขับ รถ รับ ส่ง ผู้โดยสาร ซึ่ง มี นางสาว หนูลา อนุลาด นางสาว สละ ฤทธิรงค์ นางสาวปิยะรัตน์ ธรรมาภิมณฑ์ นาย ธีรวัฒน์ อินทรศักดิ์ นางบุญมี มาตรา และ ผู้โดยสาร คนอื่น ๆ อีก หลาย คน ไป ตาม ถนน พหลโยธิน ขณะที่ ถนน เปียก ลื่น เนื่องจาก ฝนตก หนัก ด้วย ความ เร็ว สูง โดย ไม่ คำนึง ถึง ความปลอดภัย ของ ผู้อื่นเมื่อ จำเลย ขับ รถยนต์ ดังกล่าว มา ถึง บริเวณ เชิงสะพาน ลอย ข้าม สี่แยก สะพานควาย ได้ มี จ่าสิบตำรวจ สมบัติ ลอยป้อม ขับ รถจักรยานยนต์ ออกจาก ซอย พหลโยธิน 11 ซึ่ง อยู่ ทาง ด้านซ้าย มือ จำเลย เข้า มา ใน ถนน พหลโยธิน ด้านหน้า ของ จำเลย จำเลย เห็น ใน ระยะ ห่างไกล แล้ว แต่ ก็ มิได้ ชะลอ ความ เร็ว หรือ หยุด รถ เป็นเหตุ ให้ รถ คัน ที่ จำเลย ขับ ชน กับรถจักรยานยนต์ คัน ที่ จ่าสิบตำรวจ สมบัติ ลอยป้อม ขับ แล้ว รถยนต์ ที่ จำเลย ขับ เสีย หลัก ไป เฉี่ยว ชน กับ รถยนต์ สามล้อ สาธารณะหมายเลข ทะเบียน 1ส-3487 กรุงเทพมหานคร ซึ่ง มี นาย ประเสริฐ จันทะโยชน์ เป็น ผู้ขับ และ มี นาย เป้งกวง แซ่โง้ว นาง บัวเรียว ปินตา เป็น ผู้โดยสาร มา ใน รถ แล้ว พุ่ง ชน ราว เหล็ก สะพาน ลอย จน หัก เสียหาย ไป พลิกคว่ำ อยู่ บน ผิวจราจร ฝั่ง ตรงข้าม ทำให้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถยนต์ สามล้อ ดังกล่าว ได้รับ ความเสียหายนาย เป้งกวง แซ่โง้ว และจ่าสิบตำรวจสมบัติ ลอยป้อม ถึงแก่ความตาย นาย ประเสริฐ จันทะโยชน์ และนางสาวหนูลา อนุลาด ได้รับ อันตรายสาหัส นาง บัวเรียว ปินตา นางสาวสละ ฤทธิรงค์ นางสาวปิยะรัตน์ ธรรมาภิมณฑ์ นาย ธีรวัฒน์ อินทรศักดิ์ และนางบุญมี มาตรา ได้รับ อันตรายแก่กาย หลัง เกิดเหตุ จำเลย ไม่ได้ ให้ ความ ช่วยเหลือตาม สมควร และ ไม่แสดง ตัว และ แจ้งเหตุ ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ที่ ใกล้เคียงทันที กลับ หลบหนี ไป เหตุ เกิด ที่ แขวง สามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, 390พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 78, 157, 160
ระหว่าง พิจารณา นาง บัวเรียว ปินตา ผู้เสียหาย ยื่น คำร้อง ขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ ศาลชั้นต้น อนุญาต
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291, 300, 390 พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 157การกระทำ ของ จำเลย เป็น กรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ่ง เป็น บทที่ มี โทษหนัก ที่สุดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เมื่อ คำนึง ถึง เหตุ ที่ เกิดขึ้นครั้งนี้ มิได้ เป็น เพราะ ความประมาท ของ จำเลย เพียง ฝ่ายเดียว ลงโทษ จำคุก4 ปี ผิด ตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78,160 วรรคหนึ่ง จำคุก 3 เดือน รวม จำคุก 4 ปี 3 เดือน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา และ ลงชื่อ ใน คำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นฟังได้ ว่า ตาม วัน เวลา และ สถานที่เกิดเหตุ จำเลย ขับ รถโดยสารประจำทางสาย 28 หมายเลข ทะเบียน 11-6959 กรุงเทพมหานคร ไป ตาม ถนน พหลโยธิน จาก อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มุ่งหน้า ไป ยัง ตลาด หมอ ชิต เมื่อ ไป ถึง เชิงสะพาน ลอย ข้าม สี่แยก สะพานควาย จ่าสิบตำรวจ สมบัติ ขับ รถจักรยานยนต์ ออกจาก ซอย พหลโยธิน 11 แล้ว เลี้ยว ขวา ตัด หน้า รถ คัน ที่ จำเลย ขับ จึง ได้ เกิด ชนกัน ขึ้น รถ จำเลย เสีย หลัก แล่น ขึ้น ไป บนสะพาน ลอย แล้ว ชน รถยนต์ สามล้อ สาธารณะ ที่นาย ประเสริฐ เป็น ผู้ขับ สวนทาง มา ซึ่ง มี โจทก์ร่วม กับ นาย เป้งกวง นั่ง โดยสาร มา ด้วย รถ จำเลย ชน ราวสะพาน ไป พลิกคว่ำ อยู่ ถนน ฝั่ง ตรงข้าม เป็นเหตุ ให้ รถโดยสารประจำทางรถจักรยานยนต์ และ รถยนต์ สามล้อ ได้รับ ความเสียหาย จ่าสิบตำรวจ สมบัติ กับ นาย เป้งกวง ถึงแก่ความตาย นาย ประเสริฐกับนางสาวหนูลา ได้รับ อันตรายสาหัส โจทก์ร่วม นางสาว สละ นางสาวปิยะรัตน์ นาย ธีรวัฒน์และนางบุญมี ได้รับ อันตรายแก่กาย จำเลย หลบหนี ไม่แจ้งเหตุ ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ทันที ต่อมา จำเลย ได้ ชดใช้ค่าเสียหาย ให้ แก่ ผู้เสียหาย จน เป็น ที่ พอใจ แล้ว มี ปัญหา ที่ ต้องวินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย ว่า จำเลย ได้ ขับ รถ โดยประมาท หรือไม่ ปัญหา นี้โจทก์ และ โจทก์ร่วม มี นางสาว สละและนางสาวหนูลา เบิกความ เป็น พยาน โดย นางสาว สละ เบิกความ ว่า รถ คัน ที่ จำเลย ขับ แล่น เร็ว กว่า ปกติ และ นางสาว หนูลา เบิกความ ว่า รถ คัน ที่ จำเลย ขับ แล่น ด้วย ความ เร็ว เหมือนกับ รถโดยสาร คัน อื่น ๆ เพราะ รถ ไม่ ติด แม้ พยาน บาง ปาก จะ เบิกความว่า รถ จำเลย แล่น เร็ว ปานกลาง บ้าง และ แล่น ไม่ เร็ว เท่าไหร่ บ้างแต่ ก็ ไม่ได้ ชี้ ชัด ว่า แล่น อัตรา ความ เร็ว กี่ กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมงเมื่อ พิจารณา จาก สภาพ ที่เกิดเหตุ ตาม ที่ ร้อยตำรวจเอก บุญชู รัตกิจนากร พนักงานสอบสวน ทำแผน ที่เกิดเหตุ เอกสาร หมาย จ. 8และ เบิกความ ประกอบ ฟังได้ ว่า พบ รอย ยาง เกิดจาก การ ห้ามล้อ ของ รถโดยสารประจำทาง คัน ที่ จำเลย ขับ เป็น แนว ยาว จากคอ สะพาน จน ถึง ท่อ เหล็ก ที่ ถูก ชน ประมาณ 70 เมตร ซึ่ง เกี่ยวกับ ปัญหา นี้จำเลย เบิกความ ว่า เมื่อ เห็น รถจักรยานยนต์ แล่น ออก มาจาก ปากซอย พหลโยธิน 11 จำเลย ก็ หัก หลบ แล้ว แตะ เบรก แต่ รถ ยัง ไหล ไป เรื่อย ๆ จาก จุด ชน ไป ถึง ที่ รถ พลิกคว่ำ เป็น ระยะ ทาง ประมาณ 40 ถึง 50 เมตรเห็น ได้ว่า รถ จำเลย ไม่สามารถ หยุด ได้ ทันท่วงที ซึ่ง แสดง ให้ เห็นว่าจำเลย ขับ รถ ด้วย ความ เร็ว ทั้งที่ รู้ ว่า ฝนตก และ ถนน ลื่น จำเลย น่า จะ ใช้ความระมัดระวัง ซึ่ง บุคคล ใน ภาวะ เช่น จำเลย ผู้ขับขี่ จัก ต้อง มี ตาม วิสัยและ พฤติการณ์ และ จำเลย อาจ ใช้ ความระมัดระวัง เช่นว่า นั้น ได้ โดย ลดความ เร็ว ลง แต่ จำเลย หา ได้ ใช้ ให้ เพียงพอ ไม่ มิฉะนั้น คง ไม่ เกิดชนกัน ขึ้น ถือได้ว่า จำเลย ขับ รถ โดยประมาท ที่ ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ต้อง กัน มา ว่า จำเลย ขับ รถ โดยประมาท นั้น ชอบแล้ว แต่ พิเคราะห์ตาม พฤติการณ์ แล้ว เห็นว่า จ่าสิบตำรวจ สมบัติ มี ส่วน ประมาท อยู่ ด้วย ประกอบ กับ จำเลย ได้ ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ ผู้เสียหาย จน เป็น ที่ พอใจแล้ว และ จำเลย ไม่เคย ได้รับ โทษ จำคุก มา ก่อน การ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สองลงโทษ จำคุก จำเลย ฐาน นี้ มา 4 ปี นั้น เห็นว่า หนัก เกิน ไป สมควร วางโทษเสีย ใหม่ ให้ เหมาะสม แก่ รูปคดี ฎีกา จำเลย ฟังขึ้น บางส่วน ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ลงโทษ จำคุก จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 มี กำหนด 2 ปี และ ปรับ 10,000 บาท สำหรับ ความผิด ตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคหนึ่ง ให้ ปรับ2,000 บาท อีก สถาน หนึ่ง เป็น จำคุก 3 เดือน ปรับ 2,000 บาทรวมเป็น จำคุก 2 ปี 3 เดือน และ ปรับ 12,000 บาท โทษ จำคุก ใน แต่ละ กระทงความผิด ให้ รอการลงโทษ ไว้ มี กำหนด 3 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 ให้ จำเลย ไป รายงาน ตัว ต่อ พนักงานคุมประพฤติ ทุก 3 เดือนเป็น เวลา 1 ปี หาก ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29, 30 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share