คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยอ้างว่าขณะที่มีการปิดสำเนาคำฟ้องที่ภูมิลำเนาของจำเลยจำเลยไปพักอาศัยอยู่กับบุตรที่ต่างจังหวัดนั้นยังไม่พอฟังว่าจำเลยจงใจจะไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนดการที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องโดยไม่ได้ไต่สวนให้ได้ความว่าจำเลยทราบว่าตนถูกฟ้องแล้วไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนดก่อนจึงไม่ชอบและการที่ศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งก็เป็นการไม่ชอบเช่นกัน

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ชดใช้ เงิน ตาม สัญญากู้ และ สัญญาจำนองพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ศาลชั้นต้น นัด สืบพยานโจทก์ใน วันที่ 7 กันยายน 2535
ใน วันนัด สืบพยานโจทก์ ทนายจำเลย ให้ เสมียนทนาย นำ คำร้อง ลงวันที่7 กันยายน 2535 ไป ยื่น ต่อ ศาลชั้นต้น อ้างว่า ไม่ได้ จงใจ ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลย ไม่ได้ เป็น หนี้ โจทก์ ตาม ฟ้อง จำเลย ขอยื่น คำให้การและ จำเลย ขอเลื่อน คดี เนื่องจาก ทนายจำเลย ติด ว่าความ คดี ที่ ศาล อื่นซึ่ง นัด ไว้ ก่อน แล้ว
ศาลชั้นต้น เห็นว่า ไม่มี เหตุอันสมควร ที่ จะ อนุญาต ให้ จำเลยยื่นคำให้การ และ ให้ เลื่อนคดี จึง ให้ยก คำร้อง ให้ โจทก์ สืบพยาน ไปฝ่ายเดียว แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน ตาม ฟ้อง พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยให้ แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย ว่า อุทธรณ์ ของ จำเลย ต้องห้าม อุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา224 วรรคหนึ่ง พิพากษายก อุทธรณ์ ของ จำเลย
จำเลย ฎีกา โดย ศาลฎีกา มี คำสั่ง รับ ฎีกา ของ จำเลย ไว้ ดำเนินการ ต่อไป
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ฟ้อง จำเลยเมื่อ วันที่ 11 มิถุนายน 2535 และ ส่ง สำเนา คำฟ้อง ให้ แก่ จำเลยโดย ปิด หมาย ไว้ ณ ภูมิลำเนา ของ จำเลย ที่ จังหวัด อุดรธานี เมื่อ วันที่29 มิถุนายน 2535 ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ใน วันที่ 23 กรกฎาคม 2535ว่า จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ นัด สืบพยานโจทก์ วันที่ 7 กันยายน 2535และ แจ้ง ให้ จำเลย ทราบ โดย ปิด หมาย ไว้ ที่ ภูมิลำเนา ของ จำเลย เมื่อ ถึงวันนัด สืบพยานโจทก์ จำเลย ยื่น คำร้อง ลงวันที่ 7 กันยายน 2535ขอยื่น คำให้การ และ ขอเลื่อน คดี โดย อ้างว่า จำเลย ไม่ได้ จงใจ ขาดนัดยื่นคำให้การ เนื่องจาก ขณะที่ เจ้าหน้าที่ ของ ศาล นำ สำเนา คำฟ้อง ไป ปิดไว้ ที่ ภูมิลำเนา จำเลย นั้น จำเลย ไป พัก อยู่ กับ บุตร ที่ จังหวัด นครปฐมและ กรุงเทพมหานคร ไม่ทราบ ว่า ตน ถูก ฟ้อง และ จำเลย ไม่ได้ เป็น หนี้โจทก์ ตาม ฟ้อง ขอยื่น คำให้การ ประกอบ กับ ทนายจำเลย ติด ว่าความ คดี ที่ศาล อื่น ซึ่ง นัด ไว้ ก่อน แล้ว ขอเลื่อน คดี ศาลชั้นต้น เห็นว่า คำร้องของ จำเลย ไม่มี เหตุผล จึง ให้ยก คำร้อง โดย ไม่ได้ ทำการ ไต่สวน แล้ว พิพากษาให้ จำเลย แพ้ คดี ใน วันเดียว กัน มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลยว่า การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ของ ศาลชั้นต้น ที่ ไม่อนุญาต ให้ จำเลยยื่นคำให้การ และ ไม่ให้ เลื่อนคดี กับ คำวินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่ เห็นว่า การ ที่ จะ พิจารณา ว่า จำเลย จงใจ ขาดนัดยื่นคำให้การ หรือไม่ นั้น จะ ต้อง พิจารณา ให้ ได้ความ ว่า จำเลย ทราบ ว่าตน ถูก ฟ้อง ตาม หมายเรียก ให้ ยื่นคำให้การ แล้ว ไม่ยื่น คำให้การ ภายใน กำหนดแต่ คดี นี้ ศาลชั้นต้น ยัง ไม่ได้ ไต่สวน ว่า จำเลย ทราบ ว่า ตน ถูก ฟ้องตาม หมายเรียก ให้ ยื่นคำให้การ แล้ว ไม่ยื่น คำให้การ ภายใน กำหนด หรือไม่การ ที่ ศาลชั้นต้น พิจารณา จาก คำร้องขอ งจำเลย แล้ว อ้างว่า จำเลย แถลงรับว่า จำเลย มี ภูมิลำเนา อยู่ ตาม ฟ้อง จริง แล้ว สั่ง ไม่อนุญาต ให้ จำเลยยื่นคำให้การ โดย ไม่ได้ ทำการ ไต่สวน นั้น เห็นว่า ยัง ไม่พอ ฟัง ว่า จำเลยจงใจ ที่ จะ ไม่ยื่น คำให้การ ภายใน กำหนด เนื่องจาก ใน คำร้อง ก็ อ้างว่าขณะที่ มี การ ปิด สำเนา คำฟ้อง ที่ ภูมิลำเนา ของ จำเลย นั้น จำเลย ไป พัก อาศัยอยู่ กับ บุตร ที่ จังหวัด นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร ซึ่ง แสดง ให้ เห็นว่าจำเลย อาจ ยัง ไม่ทราบ ว่า ตนเอง ถูก ฟ้อง การ ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง ยกคำร้องโดย ไม่ได้ ทำการ ไต่สวน ให้ สิ้น กระแสความ เสีย ก่อน เป็น การ ไม่ชอบ ด้วยกระบวนพิจารณา และ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย ว่า อุทธรณ์ของ จำเลย ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา224 วรรคหนึ่ง ก็ เป็น การ ไม่ชอบ ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา จำเลยฟังขึ้น ”
พิพากษายก คำพิพากษา และ คำสั่งศาล ชั้นต้น กับ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ให้ ศาลชั้นต้น รับคำ ร้องขอ งจำเลย ไว้ ทำการ ไต่สวนแล้ว มี คำสั่ง และ คำพิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี

Share