คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

แม้หนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ลูกหนี้ที่2ร่วมรับผิดกับลูกหนี้ที่1และจำเลยอื่นในต้นเงิน40,000,000บาทพร้อมดอกเบี้ยลูกหนี้ที่2จึงต้องผูกพันชำระหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่2จะต้องรับผิดจนกว่าจะชำระหนี้ส่วนที่ตนต้องรับผิดจนครบหรือจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วเมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนองและมีลูกหนี้ร่วมอื่นชำระหนี้ให้เจ้าหนี้จำนวน16,774,820บาทแต่ก็นำไปชำระหนี้ได้เพียงดอกเบี้ยส่วนหนึ่งของหนี้ที่ค้างชำระเท่านั้นจึงมีหนี้ที่ลูกหนี้ที่1ต้องชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยอยู่เป็นจำนวน76,321,642.55บาทส่วนที่ลูกหนี้ที่2ยังไม่ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่2ต้องรับผิดเลยเมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้วลูกหนี้ที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจึงต้องรับผิดชำระหนี้ในส่วนที่ตนต้องรับผิดตามคำพิพากษาดังกล่าว

ย่อยาว

คดี นี้ สืบเนื่อง มาจาก เมื่อ วันที่ 25 กรกฎาคม 2534 ศาลชั้นต้นมี คำสั่ง ให้ พิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ (จำเลย ) ทั้ง สอง เด็ดขาด เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2534 เจ้าหนี้ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ตาม คำพิพากษาเป็น เงิน จำนวน 90,596,635.12 บาท จาก กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ทั้ง สอง รายละเอียด ปรากฎ ตาม บัญชี ท้าย คำขอ รับชำระหนี้และ เอกสาร ที่ เจ้าหนี้ อ้าง ส่ง
เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ได้ ให้ บรรดา เจ้าหนี้ ตรวจ คำขอ รับชำระหนี้ ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 104 แล้วไม่มี ผู้ใด โต้แย้ง คำขอ รับชำระหนี้ ราย นี้
เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ สอบสวน แล้ว เห็นว่า ลูกหนี้ ทั้ง สองทำ สัญญาค้ำประกัน หนี้ บริษัท กรุงแสง จำกัด ไว้ แก่ เจ้าหนี้ ซึ่ง เจ้าหนี้ ได้ ฟ้อง บริษัท กรุงแสง จำกัด กับ ลูกหนี้ ทั้ง สอง ให้ ชำระหนี้ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ ลูกหนี้ ทั้ง สอง ร่วมรับผิด กับ บริษัท กรุงแสง จำกัด ชำระหนี้ แก่ เจ้าหนี้ มูลหนี้ เกิด ก่อน วันที่ ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด และ ไม่ต้องห้าม มิให้ ขอรับ ชำระหนี้ ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 เห็นควร ให้ เจ้าหนี้ได้รับ ชำระหนี้ ตาม คำพิพากษา จาก กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ที่ 1ทั้ง เงินต้น และ ดอกเบี้ย นับแต่ วันที่ 26 ธันวาคม 2532 ถึงวันที่ 25 กรกฎาคม 2534 จำนวน 90,596,635.12 บาท โดย ให้กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ที่ 2 รับผิด ใน หนี้ ดังกล่าว ทั้ง ต้นเงินและ ดอกเบี้ย นับแต่ วันที่ 26 ธันวาคม 2532 ถึง วันที่ 25 กรกฎาคม 2534จำนวน 44,742,465.75 บาท ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 130(8) โดย มี เงื่อนไข ว่า หาก เจ้าหนี้ ได้รับ ชำระหนี้ จากกอง ทรัพย์สิน ของ บริษัท กรุงแสง จำกัด ซึ่ง เป็น ลูกหนี้ ชั้นต้น ใน คดีล้มละลาย หมายเลขแดง ที่ ล. 882/2533 ของ ศาลชั้นต้น และ หรือนาย มนู วณิชชากร จำเลยร่วม ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 18013/2531ของ ศาลชั้นต้น และ หรือ นาย ตันเผงกี่ แซ่ตัน ผู้ค้ำประกัน บริษัท กรุงแสง จำกัด แล้ว เพียงใด ให้สิทธิ ที่ จะ ได้รับ ชำระหนี้ ใน คดี นี้ ลดลง เพียง นั้น
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง อนุญาต ให้ เจ้าหนี้ ได้รับ ชำระหนี้ จากกอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ตาม รายงาน ความเห็น ของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
เจ้าหนี้ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ที่ ไม่ โต้เถียง กัน ฟังได้ ว่าเดิม บริษัท กรุงแสง จำกัด เป็น หนี้ เจ้าหนี้ ตาม สัญญากู้ เบิกเงิน เกิน บัญชี และ สัญญา ขาย ลด ตั๋วสัญญาใช้เงิน แล้ว ได้ ทำ หนังสือรับสภาพหนี้ ไว้ ซึ่ง เมื่อ หักเงิน ที่ ชำระ ครั้งสุดท้าย เมื่อ วันที่30 ตุลาคม 2528 แล้ว ยัง คงเหลือ หนี้ เป็น เงินต้น 60,200,721.39 บาทดอกเบี้ย อีก 7,058,643.31 บาท โดย มี ลูกหนี้ ที่ 1 และนาย มนู วณิชชากร ได้ จดทะเบียน ที่ดิน จำนอง เป็น ประกันหนี้ ของ บริษัท กรุงแสง จำกัด และ ตกลง ว่า หาก บังคับจำนอง แล้ว ได้ เงิน ไม่พอ ชำระหนี้ ให้ ยึดทรัพย์สิน อื่น ชำระ จน ครบ ส่วน ลูกหนี้ ที่ 2ได้ เข้า ทำ สัญญาค้ำประกัน หนี้ ของ บริษัท กรุงแสง จำกัด ดังกล่าว โดย ยอมรับ ผิด อย่าง ลูกหนี้ ร่วมกัน ต่อมา บริษัท กรุงแสง จำกัด ผิดสัญญา ไม่ชำระ หนี้ ตาม กำหนด เจ้าหนี้ จึง ฟ้อง บริษัท กรุงแสง จำกัด ลูกหนี้ ที่ 1 นาย มนู และ ลูกหนี้ ที่ 2 ให้ ร่วมกัน ชำระหนี้ แก่ เจ้าหนี้ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ บริษัท กรุงแสง จำกัด ลูกหนี้ ที่ 1และ นาย มนู ร่วมกัน ชำระ เงิน ให้ เจ้าหนี้ จำนวน 67,259,364.70 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน ต้นเงิน 60,200,721.39 บาทซึ่ง เมื่อ คิด ถึง วันฟ้อง ไม่เกิน 22,991,727.45 บาท หาก ไม่ชำระให้ ยึด ที่ดิน ที่ ทะเบียน จำนอง ไว้ ออก ขายทอดตลาด หาก ได้ เงิน ไม่พอชำระ ให้ ยึดทรัพย์สิน อื่น ของ บริษัท กรุงแสง จำกัด ลูกหนี้ ที่ 1และ นาย มนู ใช้ หนี้ ให้ เจ้าหนี้ จน ครบ ให้ ลูกหนี้ ที่ 2 ร่วมรับผิด ชำระ เงิน จำนวน 40,000,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 14 กันยายน 2530 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จปรากฎ ตาม คำพิพากษา คดี หมายเลขแดง ที่ 18013/2531 ของ ศาลชั้นต้นเอกสาร หมาย จ. 30 คดีถึงที่สุด แล้ว บริษัท กรุงแสง จำกัด ลูกหนี้ ที่ 1 นาย มนู และ ลูกหนี้ ที่ 2 ไม่ชำระ หนี้ ให้ เจ้าหนี้ เจ้าหนี้ ได้ บังคับคดี ยึดทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ที่ 1 และ นาย มนู ซึ่ง ได้ จดทะเบียน จำนอง ไว้ มา ชำระหนี้ และ ได้ มี การ ชำระหนี้ ครั้งสุดท้ายเมื่อ วันที่ 25 ธันวาคม 2532 คงเหลือ ยอดหนี้ ที่ บริษัท กรุงแสง จำกัด เป็น หนี้ เจ้าหนี้ พร้อม ดอกเบี้ย เป็น เงิน 76,321,642.55 บาทปรากฎ ตาม บัญชี แสดง รับ จ่ายเงิน เอกสาร หมาย จ. 32
พิเคราะห์ แล้ว มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ เจ้าหนี้ ว่าเจ้าหนี้ มีสิทธิ ได้รับ ชำระหนี้ ดอกเบี้ย นับแต่ วันที่ 14 กันยายน 2530ถึง วันที่ 25 ธันวาคม 2532 จาก กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ที่ 2 หรือไม่เพียงใด เจ้าหนี้ ฎีกา ว่า เมื่อ วันที่ 25 ธันวาคม 2532 ลูกหนี้ ร่วมอื่น ได้ ชำระหนี้ ให้ แก่ เจ้าหนี้ จำนวน 16,774,820 บาท แต่ ลูกหนี้ ที่ 1ยัง คง ค้างชำระ ดอกเบี้ย อยู่ 38,142,250.23 บาท ดังนั้น การ ที่ลูกหนี้ ร่วม อื่น ชำระหนี้ จำนวน 16,774,820 บาท ต้อง นำ เงิน ดังกล่าวมา เฉลี่ย ความรับผิด ของ ลูกหนี้ ที่ 1 และ ที่ 2 ด้วย ซึ่ง เมื่อ คำนวณแล้ว ลูกหนี้ ที่ 1 จะ ได้รับ ประโยชน์ 13,755,352.40 บาท ลูกหนี้ที่ 2 จะ ได้รับ ประโยชน์ จำนวน 3,019,467.60 บาท ขอให้ ศาลฎีกาพิพากษาแก้ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ให้ เจ้าหนี้ ได้รับ ชำระ ดอกเบี้ย จากกอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ที่ 2 ตั้งแต่ วันที่ 14 กันยายน 2530 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2532 เป็น เงิน 3,019,467.60 บาท เห็นว่าหนี้ ตาม คำพิพากษา คดี หมายเลขแดง ที่ 18013/2531 ของ ศาลชั้นต้นให้ ลูกหนี้ ที่ 2 ร่วมรับผิด ใน ต้นเงิน 40,000,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 14 กันยายน 2530 จนกว่า จะชำระ เสร็จ ฉะนั้น ลูกหนี้ ที่ 2 จึง ต้อง ผูกพัน ชำระหนี้ ใน ส่วน ที่ลูกหนี้ ที่ 2 จะ ต้อง รับผิด จนกว่า จะ ชำระหนี้ ส่วน ที่ ตน ต้อง รับผิด จน ครบหรือ จนกว่า เจ้าหนี้ จะ ได้รับ ชำระหนี้ ทั้งหมด เสร็จสิ้น แล้วเมื่อ ปรากฎ ว่า เจ้าหนี้ ได้รับ ชำระหนี้ จาก การ บังคับจำนอง และ มีลูกหนี้ ร่วม อื่น ชำระหนี้ ให้ เจ้าหนี้ เมื่อ วันที่ 25 ธันวาคม 2532จำนวน 16,774,820 บาท แต่ ก็ นำ ไป ชำระหนี้ ได้ เพียง ดอกเบี้ยส่วน หนึ่ง ของ หนี้ ที่ ค้างชำระ เท่านั้น จึง มี หนี้ ที่ ลูกหนี้ ที่ 1 ต้องชำระ ทั้ง เงินต้น และ ดอกเบี้ย อยู่ เป็น จำนวน 76,321,642.55 บาทตาม บัญชี แสดง การ รับ จ่ายเงิน เอกสาร หมาย จ. 32 ส่วน ที่ ลูกหนี้ที่ 2 ยัง ไม่ได้ชำระ ให้ แก่ เจ้าหนี้ ใน ส่วน ที่ ลูกหนี้ ที่ 2ต้อง รับผิด เลย เมื่อ เจ้าหนี้ ยัง มิได้ รับชำระหนี้ เสร็จสิ้น แล้วลูกหนี้ ที่ 2 ซึ่ง เป็น ลูกหนี้ ร่วม จึง ต้อง รับผิด ชำระหนี้ ใน ส่วน ที่ ตนต้อง รับผิด ตาม คำพิพากษา อยู่ จำนวนเงิน 40,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 14 กันยายน 2530 จน ถึงวันที่ ลูกหนี้ ที่ 2 ถูก พิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด วันที่ 25 กรกฎาคม 2534ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 แต่ เจ้าหนี้ฎีกา ขอให้ เจ้าหนี้ ได้รับ ชำระ ดอกเบี้ย เพิ่มเติม จาก ที่ ศาลล่าง ทั้ง สองกำหนด นับแต่ วันที่ 14 กันยายน 2530 ถึง วันที่ 25 ธันวาคม 2532เพียง จำนวน 3,019,497.60 บาท ด้วย ศาลฎีกา จึง ให้ เจ้าหนี้ได้รับ ชำระ ค่า ดอกเบี้ย เพิ่มเติม ดังกล่าว จาก กอง ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ ที่ 2 ตาม ที่ ฎีกา ขอ มา
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ เจ้าหนี้ ได้รับ ชำระหนี้ ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 40,000,000 บาท นับแต่ วันที่14 กันยายน 2530 ถึง วันที่ 25 ธันวาคม 2532 แต่ ทั้งนี้ ไม่เกิน3,019,497.60 บาท จาก กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ที่ 2 ตาม มาตรา 130(8)แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 อีก ส่วน หนึ่ง ด้วย นอกจาก ที่ แก้คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share