คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2495

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ไม่มีบทกฎหมายในที่ใดว่า คนไทยจะถือกรรมสิทธิที่ดินจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนก่อน หรือว่าจะมีกฎหมายให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนให้หน่วงเหนียวขัดขวางการรับจดทะเบียนไว้ตามอำเภอใจ พ.ร.บ.ว่าด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2486 ซึ่งแก้ไข พ.ศ.2492 ก็ได้แต่เพียงบัญญัติให้บุคคลตามตำแหน่งหน้าที่ระบุไว้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ขึ้นตามประมวลกฎหมายเท่านั้น หาได้ม่ข้อควาามใดที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอนุญาตการซื้อขาย หรือหน่วงเหนียวขัดขวางหารขอจดทะเบียนนิติกรรมของราษฎรไว้ได้ไม่ ตรงกันข้ามกลับมีบายัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 26 ระบุไว้อีกว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในทรัพย์สิน ฯลฯ ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย” ฉะนั้นการที่ราษฎรคนไทยขอให้นายอำเภอในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ดำเนินการเพื่อทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินให้ตน แต่นายอำเภออ้างว่าผู้ร้องมีบิดาเป็นคนต่างด้าว จึงต้องทำการสอบสวน และส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินก่อนตามที่กระทรวงมหาดไทย วางระเบียบไว้ โดยที่ปรากฎอยู่ตามคำพิพากษาของศาลแล้วว่า ผู้นั้นเป็นคนสัญชาติไทย นั้น ย่อมเป็นข้ออ้างที่ปราศจากมูลที่จะหน่วงเหนียวขัดขวางการรับจดทะเบียนนิติกรรมเสียเลย การกระทำนายอำเภอจึงเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายย่อมเป็นการกระทำละเมิดและจะอ้างว่า มีบุคคลอื่นใช้ให้ทำก็หาให้พ้นจากความรับผิดไม่ และระเบียบของกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวหากจะมีจริงก็มิใช่กฎหมาย และไม่มีกฎหมายอันใด ให้อำนาจให้ออกระเบียบเช่นนั้นได้ ฉะนั้นจะใช้บังคับแก่ประชาชน จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่เขานั้น ไม่ได้

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุคคลสัญชาติไทยตามคำสั่งศาลจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙+ โจทก์ไปขอให้จำเลยจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายที่ดิน ไม่มีหนังสือสำคัญและเรือนจากนางจองอิน แทนที่จำเลยจะปฏิบัติตามหน้าที่ จำเลยกลับสั่งให้โจทก์นำสูติบัตร และบัญชีการค้าในร้านของโจทก์ไปแสดง เพื่อจะสอบสวนว่าโจทก์มีสัญชาติใดแน่ จึงเป็นการจงใจประวิงหรือพยายามขัดขวางมิให้โจทก์มีสิทธิในอสังหาริมทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์ได้รับค่าเสียหาย ขอให้ศาลพิพากษาบังคับจำเลยจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายทีดินดังกล่าวให้โจทก์
จำเลยต่อสู้ว่า โจทก์เป็นบุตรหลานคนต่างด้าวกระทรวงมหาดไทยวางระเบียบให้จำเลยทำการสอบสวนและส่งเรื่องให้กรมที่ดินพิจารณาก่อน มิใช่เป็นความผิดของจำเลย ฯลฯ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า โจทก์เป็นคนสัญชาติไทยย่อมมีสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ได้ตามกฎหมาย จึงให้จำเลยในฐานะ พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกีบอสังหาริมทรัพย์ ดำเนินการเพื่อทำให้นิติกรรมซื้อขายที่ดินตามแบบอย่างที่ทำให้แก่คนไทยมีสัญชาติเป็นไทยให้โจทก์
จำเลยอุทธรณ์, ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.๒๔๘๖ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๔๙๒ นั้น บัญญัติแต่เพียงให้บุคคลตามตำแหน่งที่ระบุไว้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายเท่านั้น หาได้มีข้อความ+++หน้าที่มีอำนาจอนุญาตการซื้อขายหรือกน่วงเหนียวขัดขวางการขอจดทะเบียนนิติกรรมของราษฎรไว้ได้ไม่ ตรงกันข้ามกลับมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา ๒๖ ระบุไว้อีกว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในทรัพย์สิน ฯลฯ ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย” ศาลนี้ไม่เห็นเลยว่าจะมีบทกฎหมายในที่ใดเลย ที่ว่า คนไทยจะถือกรรมสิทธิที่ดิน จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนก่อน หรือว่าจะมีกฎหมายให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนให้หน่วงเหนียวขัดขวางการรับจดทะเบียนไว้ได้ตามอำเภอใจ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยที่จำเลยอ้าง แม้จะมีอยู่ ก็มิใช่กฎหมายแลไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจให้ออกระเบียบเช่นนั้นได้ ฉะนั้นใช้บังคับแก่ประชาชนจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่เขานั้นไม่ได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ว่า จำเลยต้องการจะสอบสวนในเรื่องการเป็นคนสัญชาติไทยของโจทก์ต่อไปอีก ที้งที่ปรากฎว่ามีคำสั่งคำพิพากษาของศาลว่า โจทก์เป็นคนสัญชาติไทยแล้วนั้น เป็นการอ้างที่ปราศจากมูลที่หน่วงเหนียวขัดกขวาง การรับจดทะเบียนนิติกรรมเสียเลยการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำละเมิด จะอ้างว่า มีบุคคลอื่นใช้ให้ทำ หาทำให้พ้นจากความผิดไม่
จึงพิพากษายืน

Share