คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2478

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

บุริมสิทธิของผู้ให้เช่าที่ดินนั้นมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์ของผู้เช่าที่อยู่ในที่เช่าโดยไม่คำนึงว่าใครเป็นผู้นำทรัพย์เข้ามา ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 182-183 ศาลกะประเด็นข้อพิพากลงในคำชี้สองสถานขาดไปแม้คู่ความรับตามรายงานของศาลเมื่อคดีมาปรากฎต่อศาลฎีกา ๆ ก็สั่งให้กะประเด็นที่ขาดลงเป็นประเด็นข้อพิพากแล้ว แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้ ฎีกาอุทธรณ์ปัญหากฎหมายการแปลรายงานพิจารณาเป็นปัญหาข้อกฎหมายสัญญาทางพระรา-ชไมตรี คดีที่คนในบังคับอังกฤษเป็นคู่ความ ๆ ฎีกาได้แต่ปัญหากฎหมาย

ย่อยาว

เดิมโจทก์ชนะความจำเลยแล้ว นำยึดทรัพย์ของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดผู้ร้อง ๆ ขัดทรัพย์ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิในมูลเช่าอสังหาริมทรัพย์เหนือทรัพย์สินที่ยึดในที่เช่า โดยกล่าวว่าเดิม อ.ภรรยาจำเลยได้เช่าที่ของผู้ร้อยรายนี้ ระหว่างเช่า ฮ.ได้นำทรัพย์สิ่งของหลายอย่างเข้ามาในที่เช่า ผู้ร้องค้างค่าเช่า ฮ.ภรรยาจำเลยตามคำพิพากษาเป็นเงิน ๕๓๑ บาท ๕๐ สตางค์ บัดนี้โจทก์มายึดทรัพย์ของจำเลยและของ ฮ. ซึ่งอยู่ในที่เช่า ผู้ร้องจึงขอรับชำระหนี้ก่อนโจทก์
ศาลจดรายงานพิจารณาว่าผู้ร้องและโจทก์รับกันว่าระหว่างเช่าจำเลยซึ่งเป็นสามี ฮ.ได้ขนทรัพย์เข้ามาอยู่ด้วยจึงเป็นปัญหาว่าจะเรียกได้หรือไม่ว่าผู้เช่านำทรัพย์เข้ามาในที่เช่า
ศาลชั้นต้นเห็นว่าตามาตรา ๒๖๑ บ่งชัดว่าผู้ให้เช่ามีบุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์เฉพาะที่ผู้เช่านำมาเท่านั้น ไม่ควรขยายความครอบงำไปถึงเรื่องผัวเมียด้วย จึงมีคำสั่งว่าผู้ร้องไม่มีบุริมสิทธิในทรัพย์รายพิพากให้ยกคำร้อง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าตามรายงานพิจารณาต้องถือว่าผู้ร้องได้ยอมรับว่าทรัพย์รายนี้เป็นของสามีผู้เช่าจริง+
ศาลฎีกาเห็น+ พิจารณาเป็นปัญหากฎหมาย+ไม่มีความข้อใดต่อให้เห็นว่าผู้ร้อง+ว่าทรัพย์รายพิพากเป็นของจำเลยดังคำชี้ขาดของศาลอุทธรณ์ ส่วนในข้อที่ผู้ร้องจะมีบุริมสิทธิตามมาตรา ๒๖๐-๒๖๑ ในทรัพย์รายพิพากเพียงใดนั้น เห็นว่าถ้าทางพิจารณาได้ความตามที่ผู้ร้องกล่าวว่าทรัพย์รายพิพากนี้เป็นของจำเลยและของ ฮ.ภรรยาจำเลย ฮ.ก็มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย ผู้ร้องย่อมมีบุริมสิทธิในส่วนที่เป็นของ ฮ. ตามมาตรา ๒๖๐ โดยไม่คำนึงถึงว่าใครเป็นผู้นำเข้ามาไว้ในทรัพย์ที่เช่า แต่ประเด็นที่ว่าทรัพย์รายพิพากเป็นของ ฮ. หรือของจำเลยนั้นยังโต้เถียงกันอยู่ จึงพิพากษาให้ศาลชั้นต้นกะข้อความดังกล่าวแล้วลงในประเด็นข้อพิพากแล้วจัดการต่อไปตามกระบวนความ.

Share