คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2481

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำผิดในระหว่างกลางคืนวันที่ 19-30 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 1-2 ค่ำ ทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยกระทำผิดในระหว่างคืนวันขึ้น 1-2 ค่ำ ซึ่งตรงกับวันที่ 30-31 ดังนี้ เมื่อโจทก์จำเลยรวมทั้งพะยานทั้งหลายต่างเข้าใจและให้การเป็นวันขึ้นแรมทั้งสิ้นไม่เรียกว่าโจทก์ฟ้องผิดวัน

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่าระหว่างเวลากลางคืน วันที่ ๒๙-๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๑ ตรงกับวันขึ้น ๑-๒ ค่ำเดือน ๗ ติดต่อกันจำเลยลักทรัพย์ขอให้ลงโทษ
ทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยกระทำผิดในคืนวัน ๑ ค่ำเดือน ๗ ติดต่อกับคืนขึ้น ๒ ค่ำ ตามปฏิทินหลวงตรงกับวันท ๓๐-๓๑ พฤษภาคม ๒๔๘๑
ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลอุทธรณ์ว่าในการที่โจทก์เขียนวันขึ้นแรมต่างกับวันที่ ไม่ตรงกัน แต่วันขึ้นแรมที่อ้างในฟ้องเป็นวันเกิดเหตุอันแท้จริง จำเลยเข้าใจได้ดี พะยานทั้งหลายก็ให้การเป็นวันขึ้นแรมทั้งสิ้นโจทก์จำเลยก็เข้าใจว่าวันฟ้องเป็นวันขึ้นแรมที่อ้าง ยังไม่พอจะถือว่าโจทก์ฟ้องผิดวัน ที่ศาลล่างลงโทษจำเลยมาชอบแล้ว ให้ยกฎีกาจำเลย

Share