คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ทนายความของโจทก์ทั้งสองลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทนโดยไม่มีอำนาจอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ชอบและมิใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนหรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา31แต่เป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางผู้ตรวจรับอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้โจทก์ทั้งสองแก้ไขอำนาจของทนายความผู้ยื่นอุทธรณ์หรือมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีกรณีที่ศาลแรงงานกลางจะต้องสั่งให้เพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนพิจารณาใดๆอีก

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 3 กรกฎาคม2532 จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สอง โดย ไล่ โจทก์ ที่ 1 และ ปลด โจทก์ที่ 2 ออกจาก งาน กล่าวหา ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ร่วมกัน ทุจริต นำ อุปกรณ์ไฟฟ้า ลูก ถ้วยแขวน ที่ เบิก จาก แผนก พัสดุ ไป ฝาก ไว้ ที่ บ้านนาย สมพงษ์ ไกรเลิศสกุล ซึ่ง ไม่เป็น ความจริง ขอให้ บังคับ จำเลย รับ โจทก์ ทั้ง สอง เข้า ทำงาน ใน ตำแหน่ง หน้าที่ และ อัตรา ค่าจ้าง เดิมและ จ่าย ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ที่ 1 เดือน ละ 3,820 บาท แก่ โจทก์ ที่ 2เดือน ละ 3,580 บาท นับแต่ วัน เลิกจ้าง จนกว่า จะ รับ โจทก์ กลับเข้า ทำงาน จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ที่ 1 ขณะ ดำรง ตำแหน่ง พนักงานพัสดุ การไฟฟ้าอำเภอ สีคิ้ว จังหวัด นครราชสีมา ได้รับ คำสั่ง ให้ มา เบิก อุปกรณ์ ไฟฟ้า รวมทั้ง ลูก ถ้วยแขวน ที่ แผนก คลัง พัสดุ กอง บริหาร เขต การไฟฟ้าเขต 3 ภาค 2 (นครราชสีมา ) โดย โจทก์ ที่ 2 เป็น ผู้ควบคุม การ เบิกจ่ายโจทก์ ที่ 2 ร่วม กับ โจทก์ ที่ 1 สั่งจ่าย ลูก ถ้วยแขวน เกิน จาก จำนวน110 ลูก ตาม ใบสั่งจ่าย เพื่อ ทุจริต แล้ว โจทก์ ที่ 1 นำ ลูก ถ้วยแขวนที่ เบิก เกิน ไป จำนวน 153 ลูก ไป ฝาก ไว้ ที่ ไร่ ของ นาย สมพงษ์ เพื่อ ประโยชน์ ส่วนตัว เป็น การทุจริต และ ฝ่าฝืน ข้อบังคับ และ ระเบียบของ จำเลย อย่างร้ายแรง จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เป็น ธรรม แล้วขอให้ ยกฟ้อง ศาลแรงงานกลาง พิพากษายก ฟ้อง โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ ศาลแรงงานกลาง มี คำสั่ง ว่า โจทก์ ทั้ง สองยื่น อุทธรณ์ ภายใน กำหนด ที่ ศาล อนุญาต ปรากฏว่า ใบแต่งทนายความของ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ได้ ระบุ ให้ ทนายความ มีอำนาจ อุทธรณ์ทนายความ ลงชื่อ ใน ฟ้องอุทธรณ์ โดย ไม่มี อำนาจ จึง ไม่รับ อุทธรณ์โจทก์ ทั้ง สอง ต่อมา โจทก์ ทั้ง สอง ยื่น คำร้อง ว่า อุทธรณ์ ของ โจทก์ ทั้ง สองมิได้ ปฏิบัติ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62เกี่ยวกับ อำนาจ ของ ทนายความ เป็น กรณี ที่ มิได้ ปฏิบัติ ตาม กฎหมาย ในเรื่อง การ เขียน และ การ ยื่น คำคู่ความ ซึ่ง เป็น ความผิด พลาด ของ ทนายความโจทก์ ทั้ง สอง จึง ขอแก้ไข โดย ยื่น ใบ มอบฉันทะ ของ โจทก์ ทั้ง สอง มอบอำนาจให้ ทนายความ เป็น ผู้อุทธรณ์ ขอให้ ศาลแรงงานกลาง เปลี่ยนแปลงคำสั่ง ที่ ไม่รับ อุทธรณ์ เป็น ว่า ให้ รับ อุทธรณ์ ของ โจทก์ ทั้ง สองศาลแรงงานกลาง มี คำสั่ง ว่า พ้น ระยะเวลา ที่ ขยาย แล้ว จึง ไม่รับ โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ คำสั่ง ต่อ ศาลฎีกา ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ ว่าเมื่อ โจทก์ ทั้ง สอง ทราบ ตาม คำสั่ง ของ ศาลแรงงานกลาง ว่าทนายความ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่มี อำนาจ อุทธรณ์ แล้ว โจทก์ ทั้ง สองได้ ยื่น คำร้องขอ แก้ไข กระบวนพิจารณา ที่ ผิดระเบียบ โดย เสนอ ใบ มอบฉันทะของ โจทก์ ทั้ง สอง ที่ มอบอำนาจ ให้ ทนายความ อุทธรณ์ มา พร้อม กับคำร้อง อันเป็น การ ให้ สัตยาบัน ใน การ ที่ ทนายความ ยื่น อุทธรณ์จึง ชอบ ที่ ศาลแรงงานกลาง จะ อนุญาต ให้ โจทก์ ทั้ง สอง แก้ไข กรณี ที่โจทก์ ทั้ง สอง มิได้ ปฏิบัติ ตาม กฎหมาย เพื่อ ให้การ ดำเนินคดี เป็น ไป ด้วยความยุติธรรม โดย สั่ง รับ ใบ มอบฉันทะ และ ถือว่า อุทธรณ์ ที่ ทนายความ ยื่นเป็น อุทธรณ์ ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย พิเคราะห์ แล้ว การ ที่ โจทก์ ทั้ง สองยื่น อุทธรณ์ เมื่อ วันที่ 24 มีนาคม 2537 โดย นาย สมนึก นิลผาย ทนายความ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ลงชื่อ เป็น ผู้อุทธรณ์ แทน โจทก์ ทั้ง สองเมื่อ ใบแต่งทนายความ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ได้ ระบุ ให้ ทนายความมีอำนาจ อุทธรณ์ จึง เป็น กรณี ที่ ทนายความ ลงชื่อ ใน อุทธรณ์ โดย ไม่มี อำนาจอุทธรณ์ ของ โจทก์ ทั้ง สอง เป็น ฟ้องอุทธรณ์ ที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การ ยื่นอุทธรณ์ ของ นาย สมนึก นิลผาย ทนายความ มิใช่ กระบวนพิจารณา ที่ ผิดระเบียบ ที่ ศาล จะ มีอำนาจ สั่ง ให้ เพิกถอน ทั้งหมด หรือ บางส่วนหรือ สั่ง แก้ไข หรือ มี คำสั่ง อย่างใด อย่างหนึ่ง ตาม ที่ เห็นสมควรดัง ที่ บัญญัติ ไว้ ใน มาตรา 27 แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบ ด้วย พระราชบัญญัติ จัดตั้ง ศาลแรงงาน และ วิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แต่ เป็น กรณี ที่ ศาลแรงงานกลางผู้ตรวจ รับ อุทธรณ์ มีอำนาจ ที่ จะ สั่ง ให้ โจทก์ ทั้ง สอง แก้ไข อำนาจของ ทนายความ ผู้ยื่น อุทธรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 ประกอบ ด้วย พระราชบัญญัติ จัดตั้ง ศาลแรงงาน และ วิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 หรือ มี คำสั่ง ไม่รับอุทธรณ์ อย่างใด อย่างหนึ่ง ซึ่ง ศาลแรงงานกลาง ก็ ได้ มี คำสั่ง ไม่รับอุทธรณ์ ของ โจทก์ ทั้ง สอง เมื่อ การ ยื่น อุทธรณ์ ของ โจทก์ ทั้ง สองโดย นาย สมนึก นิลผาย ทนายความ เป็น ผู้ยื่น แทน ดังกล่าว มิใช่ กระบวนพิจารณา ที่ ผิดระเบียบ จึง ไม่มี กรณี ที่ ศาลแรงงานกลางจะ ต้อง สั่ง ให้ เพิกถอน หรือ แก้ไข กระบวนพิจารณา ใด ๆ อีก ที่ศาลแรงงานกลาง มี คำสั่ง ไม่รับ คำร้อง ซึ่ง มีผล เป็น การ ไม่อนุญาตตาม คำร้องขอ ให้ แก้ไข กระบวนพิจารณา ที่ ผิดระเบียบ ของ โจทก์ทั้ง สอง นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล อุทธรณ์ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ฟังไม่ ขึ้น ” พิพากษายืน

Share