แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินไม่รวมถึงการหักสำรองสินค้าล้าสมัยหรือตกรุ่นเนื่องจากตามมาตรา4(5)แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน(ฉบับที่145)พ.ศ.2527บัญญัติเกี่ยวกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินนอกจากที่ดินและสินค้า การคำนวณราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา65ทวิ(6)ประมวลรัษฎากรไม่อาจนำมาใช้เป็นหลักในการคำนวณราคาขายเพราะสินค้าที่ขายไปแล้วไม่ใช่สินค้าคงเหลือ
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน หนังสือ แจ้ง เปลี่ยนแปลง ผล ขาดทุน สุทธิเลขที่ กค. 0807/0143 ลงวันที่ 10 มกราคม 2535 ของ เจ้าพนักงานประเมิน และ เพิกถอน คำวินิจฉัย อุทธรณ์ (ภ.ส.7) เลขที่ 14/2536/1ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2535 ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ จำเลย ให้การ ว่าการ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ใน การแจ้ง เปลี่ยนแปลง ผล ขาดทุน สุทธิ และ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของคณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ถูกต้อง ชอบ ด้วย ข้อเท็จจริง เหตุผลและ หลักกฎหมาย แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง ศาลภาษีอากรกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่าใน รอบ ระยะเวลา บัญชี ปี 2530 โจทก์ ได้ ขาย สินค้า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล อุปกรณ์ และ ซอฟแวร์ให้ แก่ บริษัท เอสซีที คอมพิวเตอร์ จำกัด ใน ราคา 21,732,980.05 บาท ต่ำกว่า ราคา ทุน ไป 6,171,818.88บาท มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม อุทธรณ์ ของ โจทก์ ว่า โจทก์ ขาย สินค้าดังกล่าว ต่ำกว่า ราคา ตลาด โดย ไม่มี เหตุอันสมควร หรือไม่ โจทก์ อุทธรณ์ว่า โจทก์ เริ่ม ซื้อ สินค้า คอมพิวเตอร์มา เพื่อ จำหน่าย ตั้งแต่ ปี 2526เป็น ระยะเวลา กว่า 4 ปี แล้ว ขณะ ขาย ให้ แก่ บริษัท เอสซีที คอมพิวเตอร์ จำกัด มี สินค้า คอมพิวเตอร์ รุ่น ใหม่ ๆ ออก มา ถึง 4 รุ่น เป็น อย่างน้อย สินค้า ที่ โจทก์ ขาย ไป จึง เป็น สินค้า ตก รุ่น นั้นนาย ธีรศักดิ์ กิติลักษณวงศ์ พยานโจทก์ เบิกความ ว่า สินค้า ที่ ขาย โจทก์ ซื้อ มา ตั้งแต่ ปี 2526 จน ถึง ปี 2530 เป็น สินค้า ใหม่ ไม่เคยถูก ใช้ นาง อังคณา ชูโต พยานโจทก์ เบิกความ ว่า สินค้า ที่ บริษัท เอสซีที คอมพิวเตอร์ จำกัด รับโอน จาก โจทก์ บาง ชิ้น บริษัท เอสซีที คอมพิวเตอร์ จำกัด ขาย ได้ กำไร นาย พิพัฒน์ คณานุวัฒน์ พยานโจทก์ เบิกความ ว่า คอมพิวเตอร์ ที่ ไม่ได้ ใช้ งาน แม้ จะ เก็บ นานเท่าไร ก็ ไม่ เสื่อมสภาพ ทั้ง ฟ้อง ของ โจทก์ ก็ ระบุ ว่า สินค้า ที่ โจทก์ขาย มี ทั้งที่ อยู่ ใน สมัย และ ล้าสมัย ดังนั้น ข้อเท็จจริง จึง ยัง ฟังไม่ได้ ว่า สินค้า ที่ โจทก์ ขาย ไป เป็น สินค้า ตก รุ่น ทั้งหมด และ จากคำเบิกความ ของ พยานโจทก์ ดังกล่าว สินค้า ตก รุ่น ที่ โจทก์ ขาย ก็ เป็นสินค้า ใหม่ ไม่เคย ถูก ใช้ งาน และ ไม่ เสื่อมสภาพ จึง ไม่ น่าเชื่อ ว่ามี ราคา ต่ำกว่า ทุน ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่า โจทก์ ขาย สินค้า ให้ แก่บริษัท ใน เครือ เดียว กัน แม้ จะขาย ใน ราคา ต่ำกว่า ทุน ก็ มีเหตุ ผลอัน สมควร ยิ่งกว่า การ ขาย ให้ แก่ ผู้อื่น ตาม นัย คำพิพากษาฎีกาที่ 3796-3797/2525 นั้น เห็นว่า คดี ดังกล่าว เป็น การ ขาย หุ้นมิใช่ ขาย สินค้า ข้อเท็จจริง จึง ไม่ ตรง กับ คดี นี้ ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่าพยานโจทก์ คือ นาย ธีรศักดิ์ เบิกความ ว่า สินค้า ที่ โอน คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคล อุปกรณ์และ ซอฟแวร์ยี่ห้อ ไอบีเอ็ม โอน ไป ใน ลักษณะ ของ สินค้า ตก รุ่น นาย พิพัฒน์ เบิกความ ว่า เมื่อ ก่อน คอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคล มี วิวัฒนา การ สูง ขึ้น ปี ละ ครั้ง แต่ ใน ช่วง 4 ปีหลัง จะ ออก รุ่น ใหม่ มา 2-3 รุ่น ต่อ ปี รุ่น ใหม่ ที่ ออก มา ทุกครั้งจะ มี ประสิทธิภาพ สูง ขึ้น แต่ ราคา ถูก ลง กว่า เดิม สำหรับ สินค้าที่ ตก รุ่น จะ ต้อง มี การ จำหน่าย ออก ไป เพื่อ รับ รุ่น ใหม่ เข้า มาการ จำหน่าย เช่นนี้ ทำให้ ราคา ตกลง จึง ต้อง กำหนดราคา ให้ ต่ำ เพื่อจะ ได้ ขาย ให้ หมด ถ้า ไม่ ลดราคา สินค้า รุ่น เก่า จะ ทำให้ สินค้า รุ่น ใหม่ไม่สามารถ ออก จำหน่าย ได้ เนื่องจาก ถ้า ออก มา แล้ว สินค้า รุ่น เก่าจะขาย ไม่ได้ เลย และ มี ตัวแทน จำหน่าย ของ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศ ไทย จำกัด คือ บริษัท เมโทร จำกัด ได้ เคย ทำลาย สินค้า ที่ ซื้อ ไป จาก บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เนื่องจาก ขาย ไม่ออก นาย ยรรยง เต็งอำนวย เบิกความ ว่า ภาค ราชการ เคย ไม่รับ บริจาค คอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคล รุ่น เก่า เนื่องจาก มีค่า ใช้ จ่าย ใน การ บำรุงรักษา สูง และ ไม่สามารถ ใช้ กับ เครื่อง รุ่น ใหม่ ได้ สินค้า รุ่น ใหม่มี ประสิทธิภาพ สูง ขึ้น 2-3 เท่า แต่ ราคา จะ เท่ากับ หรือ ต่ำกว่ารุ่น เก่า จาก คำเบิกความ ของ พยานโจทก์ ดังกล่าว แสดง ว่า การ ขาย สินค้าคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคล ที่ ตก รุ่น จะ ต้อง ขาย ต่ำกว่า ราคา ทุน จึง จะขาย ได้โจทก์ จึง ไม่จำเป็น ต้อง นำสืบ ว่า สินค้า รุ่น ใหม่ ที่ มี ประสิทธิภาพ ดีกว่าตาม ที่ พยานโจทก์ เบิกความ นั้น เป็น สินค้า ของ บริษัท ใด ออก มา เมื่อใดรุ่น อะไร มี ประสิทธิภาพ ดีกว่า กัน อย่างไร และ ขาย ใน ท้องตลาด ราคา ใดตาม ที่ ศาลภาษีอากรกลาง วินิจฉัย เห็นว่า พยานโจทก์ ดังกล่าว มิได้เบิกความ ระบุ ว่า สินค้า ที่ โจทก์ ขาย เมื่อ ต้อง ลดราคา ลง แล้ว จะ ต้องขาย ต่ำกว่า ราคา ทุน เพราะ นาย พิพัฒน์ พยานโจทก์ เบิกความ ว่า การ ขาย ให้ แก่ บุคคล ทั่วไป ราคา ที่ กำหนด นั้น บวก กำไร ไว้ แล้ว และพยานโจทก์ ก็ มิได้ ระบุ ว่า สินค้า ที่ โจทก์ ขาย เป็น สินค้า รุ่น เดียว กับที่ บริษัท เมโทร จำกัด ได้ เคย ทำลาย หรือ รุ่น เดียว กับ ที่ ทางราชการ ไม่รับ บริจาค ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่า สินค้า ที่นาย พิพัฒน์ เบิกความ ว่า รุ่น ใหม่ จะ มี ประสิทธิภาพ สูง ขึ้น แต่ ราคา จะ ถูก ลง เป็น สินค้า ของบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด นั้น ก็ เป็น ความ เข้าใจ ของ โจทก์ เอง โดย พยาน มิได้ ระบุ ว่า เป็น สินค้า ของ บริษัท ดังกล่าว และ พยาน ก็มิได้ ระบุ ว่า เป็น สินค้า รุ่น ใหม่ กว่า สินค้า ที่ โจทก์ ขาย แต่อย่างใดจึง ยัง ฟัง ไม่ได้ ว่า โจทก์ จำต้อง ขาย สินค้า พิพาท ใน ราคา ต่ำกว่า ทุนที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่า สินค้า ที่ โจทก์ ขาย มี จำนวน มาก หลาย รายการ เป็น การขาย เหมา การ จะ นำสืบ ราคา ใน ท้องตลาด ของ แต่ละ ชิ้น แต่ละ รายการของ สินค้า ย่อม ไม่มี ทาง เป็น ไป ได้ นั้น เห็นว่า โจทก์ ไม่จำต้อง นำสืบราคา ใน ท้องตลาด ของ สินค้า แต่ละ ชิ้น แต่ละ รายการ แต่อย่างใด เพียงแต่นำสืบ ราคา ใน ท้องตลาด ของ คอมพิวเตอร์ ที่ ขาย แต่ละ รุ่น เท่านั้น ซึ่งสามารถ นำสืบ ได้ เมื่อ โจทก์ ไม่ได้ นำสืบ จึง ฟัง ไม่ได้ ว่า ราคา ในท้องตลาด ของ สินค้า ที่ โจทก์ ขาย ต่ำกว่า ทุน ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่านาง อังคณา เบิกความ ต่อไป ด้วย ว่า สินค้า บาง ชิ้น บริษัท เอสซีที คอมพิวเตอร์ จำกัด ขาย ไม่ได้ ต้อง รอ การ ทำลาย ทิ้ง บาง ชิ้น ขาย ไม่ได้ต้อง เก็บ ไว้ เป็น อะไหล่ เพื่อ คอย ให้ บริการ แก่ ลูกค้า และ จน ถึง ปี 2533ก็ ยัง คง เห็น สินค้า ที่ ซื้อ ขาย กัน นี้ อยู่ ใน ความ ครอบครอง ของ บริษัท เอสซีที คอมพิวเตอร์ จำกัด เห็นว่า พยาน มิได้ เบิกความ ว่า สินค้า ดังกล่าว มี อะไร บ้าง และ มี ราคา ต่ำกว่า ทุน หรือไม่ ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่าการ หัก สำรอง สินค้า ล้าสมัย หรือ ตก รุ่น ที่ โจทก์ นำ มา หัก ออกจาก ราคา ทุนเพื่อ กำหนด เป็น ราคา ขาย ใช้ หลักการ อัน เดียว กัน กับ การ หัก ค่า สึกหรอหรือ ค่า เสื่อมราคา ตาม พระราชกฤษฎีกา ออก ตาม ความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วย การ หัก ค่า สึกหรอ และ ค่า เสื่อมราคา ของ ทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145)พ.ศ. 2527 ซึ่ง เป็น การ หัก ค่า เสื่อมราคา ของ ทรัพย์สิน ที่ บริษัทนำ มา ใช้ งาน ใน กิจการ ของ บริษัท เห็นว่า ตาม พระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวมาตรา 4(5) บัญญัติ เกี่ยวกับ การ หัก ค่า สึกหรอ และ ค่า เสื่อมราคาของ ทรัพย์สิน อย่างอื่น นอกจาก ที่ดิน และ สินค้า ฉะนั้น พระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึง นำ มา ใช้ กับ สินค้า ที่ โจทก์ ขาย ไม่ได้ ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่าการ หัก สำรอง สินค้า ล้าสมัย ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (6)เปิด โอกาส ให้ ทำได้ นั้น เห็นว่า ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (6)เป็น เรื่อง การ คำนวณ ราคา สินค้า คงเหลือ ใน วัน สุดท้าย ของ รอบ ระยะเวลาบัญชี มิใช่ เรื่อง การ คำนวณ ราคา ขาย สินค้า โจทก์ จึง ไม่อาจ นำ ราคาสินค้า คงเหลือ ที่ คำนวณ ตาม มาตรา 65 ทวิ (6) มา ถือ เป็น ราคา ขาย ได้และ สินค้า ของ โจทก์ ได้ ขาย ไป แล้ว มิใช่ สินค้า คงเหลือ ที่ โจทก์ อุทธรณ์ว่า พยาน จำเลย คือ นาง จุฑารัตน์ วัฒยากร เป็น ผู้ครอบครอง บัญชี และ เอกสาร ของ โจทก์ และ เป็น ผู้ทำ ความเห็น ใน เบื้องต้น แทนเจ้าพนักงาน ประเมิน เป็น ผู้มีส่วนได้เสีย แห่ง คดี และ นาย ผชาญ วชิรประดิษฐพร เป็น นิติกร ประจำ กอง อุทธรณ์ ภาษีอากร กรมสรรพากร ซึ่ง เป็น ผู้ตรวจ และ ลง ความเห็น เสนอ ต่อ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์คำเบิกความ ของ พยาน ดังกล่าว จึง มี น้ำหนัก น้อยกว่า พยานโจทก์ นั้นเห็นว่า พยาน ดังกล่าว เป็น เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ไม่มี ส่วนได้เสีย ใน คดีทั้ง เป็น เจ้าหน้าที่ ที่ มี หน้าที่ เกี่ยวข้อง โดยตรง คำเบิกความของ พยาน ดังกล่าว จึง มี น้ำหนัก ดีกว่า พยานโจทก์ ซึ่ง มิได้ รู้เห็นเกี่ยวกับ คดี นี้ โดยตรง เพียงแต่ เบิกความ แสดง ความ คิดเห็น หรือการ คาดหมาย ของ พยาน เท่านั้น ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ขาย สินค้าต่ำกว่า ราคา ตลาด โดย ไม่มี เหตุอันสมควร ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษาชอบแล้ว อุทธรณ์ ของ โจทก์ ทุก ข้อ ฟังไม่ขึ้น ” พิพากษายืน