แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯระหว่างวันที่17มกราคม2535ถึงวันที่7กุมภาพันธ์2535แต่ในระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ยังไม่ได้สมัครรับเลือกตั้งจึงไม่เป็นผู้เสียหายตามป.วิ.อ.มาตรา2(4)และพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯมาตรา93จัตวาและไม่มีอำนาจฟ้อง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า พระราชกฤษฎีกา ให้ มี การเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2535 มีผล บังคับ ใช้ ตั้งแต่ วันที่ 17 มกราคม 2535ให้ ดำเนินการ เลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็น การเลือกตั้งทั่วไป ใน วันที่ 22 มีนาคม 2535 ทั่ว ราชอาณาจักร และ ให้ มี การ รับสมัคร ผู้ สมัคร เลือกตั้ง เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ใน วันที่ 10กุมภาพันธ์ 2535 ถึง วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 โจทก์ และ จำเลยได้ สมัคร รับเลือกตั้ง เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ใน เขต เลือกตั้งที่ 1 ใน นาม พรรค ความหวังใหม่ ได้ หมายเลข ประจำตัว ผู้ สมัคร หมายเลข 3ส่วน จำเลย สมัคร ใน นาม พรรค สามัคคีธรรม ได้ หมายเลข ประจำตัว ผู้ สมัคร หมายเลข 1 เมื่อ วันที่ 17 มกราคม 2535 เวลา กลางวัน จำเลย ให้หน่วย แพทย์ เคลื่อนที่ ของ โรงพยาบาล พญาไท โดย จำเลย เป็น กรรมการ ผู้อำนวยการ ใหญ่ ฝ่ายบริหาร ไป ให้ บริการ ตรวจ รักษา โรค แก่ ประชาชนและ วันที่ 20 มกราคม 2535 ถึง วันที่ 31 มกราคม 2535 จำเลย ประกาศและ แจกจ่าย หนังสือ เชิญ ชวน ประชาชน ใน เขต เลือกตั้ง ที่ 1 ว่า หน่วย แพทย์เคลื่อนที่ ของ โรงพยาบาล พญาไท จะ มา ให้ บริการ ตรวจ รักษา โรค โดย หน่วย แพทย์ เคลื่อนที่ ของ โรงพยาบาล พญาไท เป็น การ จัดทำ ให้ เสนอ ให้ ซึ่ง ทรัพย์สิน และ ประโยชน์ อื่น ใด อัน อาจ คำนวณ เป็น เงินได้ แก่ ประชาชนใน เขต เลือกตั้ง เพื่อ จูงใจ ให้ ผู้ เลือกตั้ง ลง คะแนน เลือกตั้ง ให้ แก่จำเลย ต่อมา เมื่อ วันที่ 2 มีนาคม 2535 เวลา กลางวัน และ กลางคืนหลัง เที่ยง จำเลย ได้ ใช้ เครื่องขยายเสียง กระจายเสียง ป่า วประกาศหมิ่นประมาท ใส่ความ โจทก์ ต่อ ประชาชน จำนวน มาก ที่มา ฟัง คำ ปราศรัยหา เสียง ของ จำเลย มี ข้อความ ตอนหนึ่ง ว่า “พี่น้อง คง จำ ได้ว่า เมื่อการ สมัคร ปี พ.ศ. 2531 ได้ มี การ ประกาศ ออก ไป ว่า กระผม จะ ไม่รับเงินเดือน เงินเดือน ที่ จะ ได้ ใน ฐานะ ผู้แทนราษฎร เมื่อ ตอน โน้นผม จะ ไม่รับ ผม จะ ยก เป็น สาธารณกุศล ซึ่ง กระผม ก็ ได้ ทำ อย่าง นั้นผม ก็ คิดว่า จะ ช่วย ให้ เด็ก ๆ ของ เรา ลูกหลาน ของ เราได้ มี กิน มี อยู่มี ใช้ ได้ เรียน หนังสือ อีก หน่อย มัน โต ขึ้น ไป มัน ฉลาด เฉลียว ขึ้นก็ ได้ ช่วย พ่อแม่ ให้ มี รายได้ มาก ขึ้น แล้ว ตัว ของ เด็ก ๆ เอง ก็ จะได้ รุ่งโรจน์ต่อไป ใน อนาคต มี เงิน มี ทอง มากมาย มี งาน ทำ ดี ๆ แล้ว ก็จะ ช่วย ให้ บ้านเมือง ของ เราเจริญ รุดหน้า ยิ่งขึ้น แต่ ผล ของ การ เสีย สละทำ อย่าง นั้น ก็ คือ ว่า ผม ถูก ฟ้อง ฟ้อง แบบ จอง ล้าง จอง ผลา ญ 3 ศาลแม้ ว่า ศาลชั้นต้น จะ ลงโทษ จำคุก ผม ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ต่อมา ก็ ยกฟ้องเพราะ คำฟ้อง อย่าง นี้ ระบบ จอง ล้าง จอง ผลา ญ กว่า จะ เป็น ไทแก่ ตัวมัน ก็ เหน็ดเหนื่อย แสน สาหัส ที่ ต้อง ต่อสู้ กับ ความ อาฆาต มา ดร้าย “ข้อความ ดังกล่าว เป็น การ หมิ่นประมาท ใส่ความ โจทก์ ว่า โจทก์ เป็นคน อาฆาต มา ดร้าย รังแก จอง ล้าง จอง ผลา ญจำเลย ซึ่ง เสีย สละ เงินเดือนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อ เด็ก ยากจน ซึ่ง คำ กล่าว ของ จำเลย เป็นความเท็จ ความจริง โจทก์ ใช้ สิทธิ ทาง ศาล โดยสุจริต และ ชอบ ด้วย กฎหมายมิได้ ฟ้อง เพื่อ รังแก หรือ จอง ล้าง จอง ผลา ญอาฆาต มา ดร้าย จำเลย ดัง ที่จำเลย ใส่ความ และ ใน การ ปราศรัย หา เสียง ของ จำเลย ใน ครั้งนี้ จำเลยยัง ได้ หมิ่นประมาท ใส่ความ โจทก์ อีก ตอนหนึ่ง ว่า “ปี นี้ ผม โดนฟ้องอีก แล้ว โดย ฟ้อง ว่า ที่ นำ หน่วย แพทย์ ออก มา แสมขาวกับสองคลอง ใน วัน ไหน ผม ก็ จำ ไม่ได้ แต่ บังเอิญ วันที่ จะ มา เป็น วัน หลังจาก ที่ กฎหมายเลือกตั้ง เขา ออก มา แล้ว บอก ว่า จะ มี การเลือกตั้ง เมื่อไร เขา ก็ กำหนดว่า ไม่ควร จะ ให้ มี การ แจก เงิน ซื้อ เสียง อะไร ต่อ อะไร สาร พัด ใน ระหว่างนี้ แต่ ปรากฏว่า การ เอา หน่วย แพทย์ เคลื่อนที่ ออก มา บริการ พี่น้องประชาชน ก็ ยัง ไม่มี ใคร ตัดสิน ว่า มัน ผิด อย่าง นั้น หรือ เปล่า มัน เป็นการ แจก เงิน หรือ เปล่า ผม เห็นว่า เป็น การ ช่วย คน จน ที่ เจ็บไข้ได้ป่วยแต่ เอา ละ เมื่อ มี กฎหมาย ออก มา เช่นนั้น ผม ก็ บอก ให้ หยุด อย่า ออก มา เลยก็ ออก ไม่ได้ ตาม ที่ ประกาศ ไว้ แล้ว แต่ แม้ ว่า จะ ออก มา ไม่ได้ ขณะ นี้ก็ มี การ ฟ้องร้อง กัน แล้ว ฟ้องร้อง ว่า กระทำผิด ทั้งที่ ความผิดมัน ยัง ไม่ได้ กระทำ คิด ดู ซิครับ พี่น้อง เขา ฟ้อง ว่า พี่น้อง ผิด ฐานฆ่าคน ตาย แต่ เรายัง ไม่ได้ ฆ่า ใคร ตาย ก็ ยัง ฟ้องร้อง อยู่ ว่า ฆ่าคน ตายอย่าง นี้ มัน ไม่ พา ลหรือ อย่างไร อย่า หา เรื่อง กัน มาก นัก เลย เป็นนักเลง จริง มัน ต้อง นักเลง ไม่ใช่ อันธพาล ครับ ผม ขอ จอง ล้าง จอง ผลา ญกับ ไอ้คน ที่ คอย รังแก ประชาชน รังแก คน ซึ่ง มี ความ บริสุทธิ์ใจ ที่ มีความ เมตตา ที่ จะ ช่วยเหลือ พี่น้อง ประชาชน ” คำ ปราศรัย หา เสียง เลือกตั้งของ จำเลย ดังกล่าว เป็น การ ใส่ความ ว่า โจทก์ เป็น คน พา ล หา เรื่อง แกล้งฟ้องร้อง จำเลย ทั้ง ๆ ที่ ความผิด ยัง ไม่ เกิด นอกจาก นั้น ยัง ใส่ความโจทก์ ว่า เป็น อันธพาล คอย รังแก ข่มเหง ประชาชน โดย ขัดขวาง มิให้ ประชาชนได้รับ ประโยชน์ จาก หน่วย แพทย์ ที่ จำเลย จัด มา ให้ บริการ แก่ ประชาชนผู้ ยากจน ที่ เจ็บไข้ได้ป่วย รังแก คน ซึ่ง มี ความ บริสุทธิ์ใจ ที่ มีเมตตา จะ ช่วยเหลือ พี่น้อง ประชาชน ซึ่ง หมายความ ถึง รังแก จำเลยคำ กล่าว ของ จำเลย นี้ เป็น ความเท็จ เพราะ ความจริง การกระทำ ของ จำเลยที่ ให้ หน่วย แพทย์ เคลื่อนที่ ไป รักษา พยาบาล หรือ เสนอ ให้ หน่วย แพทย์ไป ตรวจ รักษา ดังกล่าว เป็น ความผิด สำเร็จ ตาม กฎหมาย โดย พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญญัติ เอาผิด กับ ผู้ที่ เพียงแต่เสนอ ให้ หรือ สัญญา ว่า จะ ให้ ทรัพย์สิน หรือ ผลประโยชน์ อัน อาจ คำนวณเป็น เงินได้ เท่านั้น แม้ ยัง ไม่ได้ ทำ ตาม ที่ เสนอ หรือ ตาม สัญญา ว่าจะ ให้ ก็ ตาม การกระทำ ของ จำเลย นอกจาก เป็น ความผิด ตาม กฎหมาย แล้วยัง เป็น การ หา เสียง โดย ผิด หลักการ ใน ระบอบ ประชาธิปไตย เป็น การ เอาเปรียบและ เสียหาย แก่ โจทก์ และ ผู้ สมัคร อื่น การ ที่ โจทก์ ร้องทุกข์ ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ฉะเชิงเทรา ให้ ดำเนินคดี กับ จำเลย เป็น การกระทำที่ชอบ ด้วย กฎหมาย และ เป็น การ รักษา ระบอบ ประชาธิปไตย โจทก์ จึง มิใช่เป็น ฝ่าย หา เรื่อง ไม่ใช่ คน พา ล ไม่ได้ เป็น นักเลง อันธพาล รังแกข่มเหง ประชาชน หรือ ข่มเหง รังแก จำเลย ตาม ที่ จำเลย ใส่ความ ทั้งนี้การ ที่ จำเลย กล่าว ปราศรัย หา เสียง จำเลย มี เจตนา ใส่ความ โจทก์ ต่อบุคคล ที่ 3 และ ประชาชน ที่มา ฟัง คำ ปราศรัย หา เสียง เพื่อ ให้ โจทก์เสื่อมเสีย ชื่อเสียง ถูก ดูหมิ่น ถูก เกลียดชัง เสีย เกียรติคุณใน หมู่ ประชาชน ทำให้ ประชาชน เสื่อม ความ นับถือ และ ไม่ ลง คะแนน เสียงเลือกตั้ง ให้ กับ โจทก์ การกระทำ ของ จำเลย ที่ ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 35, 91,93 จัตวา พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่3) พ.ศ. 2535 มาตรา 22 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328, 332ให้ เพิกถอน สิทธิ เลือกตั้ง ของ จำเลย เสีย กับ ให้ จำเลย ลง ประกาศคำพิพากษา คดี นี้ และ คำขอ อภัย โจทก์ ใน หนังสือพิมพ์ รายวัน ที่ มีจำหน่าย แพร่หลาย ใน หมู่ ประชาชน จำนวน 3 ฉบับ เป็น เวลา ติดต่อ กัน7 วัน โดย จำเลย เป็น ผู้ ออก ค่าใช้จ่าย เอง
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว เห็นว่า คดี โจทก์ ไม่มี มูลพิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ความผิด ฐาน หมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 คดี มีมูล ให้ ประทับ ฟ้อง นอกจากที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา โดย อัยการ สูงสุด รับรอง ให้ ฎีกา เฉพาะ ความผิด ต่อพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ในชั้น นี้ มี ว่า คดี โจทก์ มีมูล ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 หรือไม่ โจทก์ ฎีกา ว่า พยานหลักฐานที่ โจทก์ นำสืบ มา ใน ชั้น ไต่สวน มูลฟ้อง เพียงพอ รับฟัง ได้ว่า โจทก์เป็น ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และ เป็น ผู้เสียหาย มีอำนาจ ฟ้อง จำเลยใน ความผิด ต่อ พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2522 แล้ว นั้น เห็นว่า ตาม พระราชบัญญัติ การเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 93 จัตวา แก้ไข เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2535 มาตรา 22 บัญญัติ ว่า “ใน กรณี มี การกระทำ ความผิด ตามพระราชบัญญัติ นี้ ใน เขต เลือกตั้ง ใด ให้ ถือว่า ผู้ สมัคร หรือ พรรคการเมือง ซึ่ง มี สมาชิก สมัคร รับเลือกตั้ง ใน เขต นั้น เป็น ผู้เสียหายตาม กฎหมาย ว่าด้วย วิธีพิจารณาความอาญา ” แต่ ตาม ฟ้องโจทก์ บรรยายว่า พระราชกฤษฎีกา ให้ มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2535ให้ ดำเนินการ เลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็น การเลือกตั้ง ทั่วไปใน วันที่ 22 มีนาคม 2535 ทั่ว ราชอาณาจักร และ ให้ มี การ รับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ใน วันที่ 10กุมภาพันธ์ 2535 ถึง วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 โจทก์ และ จำเลยได้ สมัคร รับเลือกตั้ง เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ใน เขต เลือกตั้งที่ 1 จังหวัด ฉะเชิงเทรา และ จำเลย กระทำ ความผิด ระหว่าง วันที่17 มกราคม 2535 ถึง วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2535 การ บรรยายฟ้อง ดังกล่าวมี ความหมาย อยู่ ใน ตัว ว่า ก่อน วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 โจทก์ยัง ไม่ได้ สมัคร รับเลือกตั้ง เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ใน เขต เลือกตั้งที่ 1 จังหวัด ฉะเชิงเทรา ดังนั้น ใน วันที่ โจทก์ กล่าวหา ว่า จำเลยกระทำ ความผิด คือ ระหว่าง วันที่ 17 มกราคม 2535 ถึง วันที่ 7กุมภาพันธ์ 2535 โจทก์ จึง ไม่เป็น ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ใน เขต เลือกตั้งที่ 1 จังหวัด ฉะเชิงเทรา โจทก์ จึง ไม่เป็น ผู้เสียหาย ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ตาม นัย พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 93 จัตวา ที่ แก้ไข เพิ่มเติมใหม่ โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง คดี โจทก์ ใน ข้อหา ความผิด ต่อพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 จึงไม่มี มูล ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน