คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2486

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การค้าเหรียนกสาปน์ไม่ว่าเหรียนกสาปน์ชนิดไดไห้เปนความผิด.
เหรียนกสาปน์ชนิด 20 สตางค์หรือต่ำกว่ามีกดหมายสันนิถานว่าบุคคลที่มีไว้เกินจำนวนที่กดหมายกำหนดเปนผู้มีไว้เกินสมควน ส่วนเหรียนกสาปน์ชนิดอื่นไม่มีข้อสันนิถานเช่นนั้น ดังนี้ความต่างกับหยู่ที่หน้าที่นำสืบ ผู้รับเหรียนกสาปน์เปนจำนวนมากมาจากผู้ชำระหนี้ ไม่ถือว่าเปนผู้ทำการค้าเหรียนกสาปน์ตามกดหมาย.

ย่อยาว

โจทฟ้องว่าจำเลยมีเหรียนกสาปน์ไว้ไนครอบครองเปนจำนวนเกินสมควน ข้อเท็ดจิงฟังได้ว่าจำเลยตั้งร้านขายกาแฟ ตำหรวดค้นร้ายได้เหรียนสองสลึง ๕ อัน, เหรียนสลึง ๑๙๖ อัน, สตางค์สิบ ๖๕ อัน, สตางค์ห้า ๓๖ อัน สตางค์หนึ่งชนิดทองแดง ๑๒๐ อัน ชนิดดีบุก ๙๑ อัน รวม ๖๑ บาท ๙๑ สตางค์ ซึ่งไนจำนวนนี้เปนเหรียนสลึงและสองสลึงของผู้อื่นฝากจำเลยไว้ ๑๐ บาท ๗๕ สตางค์ คงเปนของจำเลย ๕๑ บาท ๑๖ สตางค์.
สาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยมีเหรียนกสาปน์ไว้เกิดสมควนสำหรับปกติธุระ ประกอบกับความประพรึติของจำเลยมักไม่ทอนสตางค์แก่ผู้มาซื้อของ สแดงว่าจำเลยกักเหรียนกสาปน์เพื่อการค้า พิพากสาไห้จำคุกจำเลยตามกดหมายที่โจทอ้างมีกำหนด ๕ ปี ของกลางที่เปนของจำเลยไห้ริบ.
จำเลยอุธรน์ สาลอุธรน์เห็นว่าตามพระราชบัญญัติเงินตราไนภาวะฉุกเฉินนั้น คำว่า”เหรียนกสาปน์” ไม่หมายถึง เหรียนบาทเหรียนสลึงและเหรียนสองสลึงด้วย เพราะเหรียนเหล่านี้ชำระหนี้ได้โดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งประสงค์ควบคุมฉะเพาะเหรียนกสาปน์ชนิด ๒๐ สตางค์ หรือต่ำกว่าเท่านั้น คดีนี้จำเลยซึ่งมีสตางค์ไว้เพียง ๑๐ บาท๔๑ สตางค์ ไม่เปนการเกินสมควน พิพากสากลับไห้ยกฟ้องแต่มีความเห็นแย้งของผู้พิพากสานายหนึ่งเห็นว่า เหรียนบาทเหรียนสองสลึงและเหรียนสลึงก็หยู่ไนความควบคุมของพ.ร.บ.เงินตราไนภาวะฉุกเฉิน ฉะเพาะคดีนี้เห็นด้วยว่าควนยกฟ้อง เพราะจำนวนเหรียนกสาปน์ไม่เกินสมควน
โจทดีกา สาลดีกาเห็นว่า กดหมายมีข้อความชัดว่าการค้าเหรียนกสาปน์ไม่ว่าชนิดได ๆ ต้องเปนความผิด กดหมายที่สันนิถานว่าการครอบครองเหรียนกสาปน์ชนิด ๒๐ สตางค์หรือต่ำกว่าไว้เกินจำนวนที่กดหมายกำหนด เปนการมีไว้เกินสมควน ส่วนเหรียนกสาปน์ชนิดอื่นไม่มีข้อสันนิถาน เช่นนี้นั้น ต่างกันที่หน้าที่นำสืบ และแม้กดหมายควบคุมเหรียกสาปน์ทุกชนิดก็ดี ผู้รับเหรียนกสาปน์เปนจำนวนมากจากผู้มาชำระหนี้ก็ไม่มีผิด เพราะไม่ได้ทำการค้า.
ฉะเพาะคดีนี้ จำเลยมีเหรียนกสาปน์ไว้เปนจำนวนไม่เกินสมควน และที่จำเลยไม่ทอนสตางค์แก่ผู้ไปซื้อของ หากจะเปนจิง ก็ไม่พอจะสแดงว่าจำเลยค้าเหรียน จึงพิพากสายืน.

Share