แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์กับ ฉ. เป็นเจ้าของบ้านพิพาทร่วมกัน ฉ. ยินยอมให้จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทแต่โจทก์ไม่ยินยอมความยินยอมของ ฉ.ก็ไม่เป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1360วรรคแรกการที่จำเลยไม่ยอมออกไปจากบ้านพิพาทจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน บ้าน เลขที่ 18/1-3เมื่อ ปี 2531 จำเลย ได้ เข้า มา อยู่อาศัย ใน บ้าน ดังกล่าว ใน ส่วน หลังซึ่ง เป็น ชั้นล่าง ของ บ้าน โจทก์ บัดนี้ โจทก์ ไม่ประสงค์ จะ ให้ จำเลยอยู่อาศัย ต่อไป อีก จึง แจ้ง ให้ จำเลย พร้อม บริวาร ออก ไป จาก บ้านแต่ จำเลย ไม่ยอม ออก ขอให้ บังคับ จำเลย พร้อม บริวาร ออกจาก บ้าน เลขที่18/1-3 ถนน นันทาราม ซอย 5 ตำบลหายยา อำเภอ เมือง เชียงใหม่ จังหวัด เชียงใหม่ ให้ จำเลย ชำระ ค่าเสียหาย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย มิได้ อาศัย อยู่ ใน บ้าน เลขที่ 18/1-3แต่ อาศัย อยู่ ใน บ้าน เลขที่ 18/1 โดย อาศัย สิทธิ ของ นาง แฉล้ม พันธุ์น้อย มารดา จำเลย โจทก์ มิได้ มี ส่วน เกี่ยวข้อง หรือ มี กรรมสิทธิ์ ใน บ้าน เลขที่ ดังกล่าว โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
โจทก์ และ จำเลย แถลงรับ ข้อเท็จจริง เป็น ที่ ยุติ ว่า บ้าน พิพาทเลขที่ 18/1-3 ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง กับ บ้าน เลขที่ 18/1 ตาม ที่ จำเลยให้การ เป็น บ้าน หลัง เดียว กัน จำเลย เป็น บุตร โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ โจทก์ที่ เกิดจาก นาง แฉล้ม พันธุ์น้อย มารดา จำเลย ซึ่ง ได้ จดทะเบียนสมรส กัน เมื่อ ปี 2488 ตาม ใบ สำคัญ การ สมรส และ ภาพถ่าย ทะเบียนบ้านเอกสาร หมาย ล. 1 และ ล. 2 ใน ระหว่าง สมรส โจทก์ ได้ กู้ยืม เงิน จากประชา สงเคราะห์ จังหวัด เชียงใหม่ ก่อสร้าง บ้าน พิพาท นาง แฉล้ม พันธุ์น้อย มารดา จำเลย ได้ยิน ยอม ให้ จำเลย อยู่อาศัย ใน บ้าน พิพาท แล้ว คู่ความ แถลง ไม่ติดใจ สืบพยาน โดย ขอให้ ศาล วินิจฉัย เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า จำเลย มีสิทธิ อาศัย อยู่ ใน บ้าน พิพาท หรือไม่
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง รับฟัง เป็น ยุติ ว่า บ้าน พิพาทเป็น สินสมรส ระหว่าง โจทก์ กับ นาง แฉล้ม พันธุ์น้อย ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า เมื่อ บ้าน พิพาท เป็น สินสมรส จึง เป็น กรรมสิทธิ์รวม ระหว่าง โจทก์ กับนาง แฉล้ม การ ที่นา ง แฉล้ม ยินยอม ให้ จำเลย อาศัย อยู่ ใน บ้าน พิพาท โดย โจทก์ ไม่ยินยอม ด้วย จึง เป็น การ ขัด สิทธิ โจทก์ ย่อม ทำ ไม่ได้ นั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 วรรคหนึ่ง บัญญัติ ว่า”เมื่อ หย่า กัน แล้ว ให้ จัดการ แบ่ง ทรัพย์สิน ของ สามี ภริยา ” และมาตรา 1533 บัญญัติ ว่า “เมื่อ หย่า กัน แล้ว ให้ แบ่ง สินสมรส ให้ ชายและ หญิง ได้ ส่วน เท่ากัน ” จึง เห็น ได้ว่า สินสมรส คือ ทรัพย์สิน ที่สามี ภริยา มี ส่วน เป็น เจ้าของร่วม กัน บ้าน พิพาท จึง เป็น ของ โจทก์ และนาง แฉล้ม ร่วมกัน กรณี ดังกล่าว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง บัญญัติ ว่า “เจ้าของรวม คนหนึ่ง ๆ มีสิทธิใช้ ทรัพย์สิน ได้ แต่ การ ใช้ นั้น ต้อง ไม่ ขัด ต่อ สิทธิ แห่ง เจ้าของรวมคนอื่น ๆ ” ฉะนั้น เมื่อ นาง แฉล้ม ได้ยิน ยอม ให้ จำเลย ซึ่ง เป็น บุตร อาศัย อยู่ ใน บ้าน พิพาท แล้ว แม้ โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าของรวม ไม่ยินยอม ให้จำเลย อาศัย อยู่ ต่อไป ความ ยินยอม ของ นาง แฉล้ม ก็ ไม่เป็น การ ขัด ต่อ สิทธิ ของ โจทก์ นาง แฉล้ม ยัง คง มีสิทธิ ที่ จะ ยินยอม ให้ จำเลย อยู่อาศัย ต่อไป ได้ การ ที่ จำเลย ไม่ยอม ออก ไป จาก บ้าน พิพาท จึง ไม่เป็น การ โต้แย้งสิทธิ ของ โจทก์ โจทก์ ใน ฐานะ เจ้าของรวม ไม่มี สิทธิ ฟ้องขับไล่ จำเลย ได้ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ชอบแล้ว ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน