แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เหตุบรรดาลโทษะฆ่าผู้ชำเราภรรยาเมื่อผู้นั้นหยุดการกอดปล้ำแล้ว
อย่างไรเรียกว่าเปนคุณความดีตาม ม.59 พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ พ.ศ.2461 ม.3 ศาลเดิมวาง ม.249 จำคุกตลอดชีวิต ศาลอุทธรณ์วาง ม.249, 155-59จำคุก 5 ปี เป็นแก้มาก ฎีกาได้
ย่อยาว
ได้ความว่า ช.ผู้ตายเข้าไปในเรือนจำเลยแล้วกอดปล้ำจะทำชำเรา จ. ๆ ใช้มีดแทงไปหลายที ช.จึงปล่อย ระวางนั้นมีผู้ไปบอก ฝ.สามี จ. จึงรีบมาพบ ช.ห่างเรือนจำเลยราว ๓ เส้น ฝ.ทรงเข้าแทง ข.ทางเบื้องหลัง ๒-๓ ที ช.ตายในวันนั้นดังนี้
ศาลเดิมตัดสินว่า ฝ.จำเลยมีผิดตาม ม.๒๕๙ ให้จำคุกตลอดชีวิต จ.จำเลยทำการป้องกันพอสมควรแก่เหตุไม่มีผิดตาม ม.๕๐ ให้ปล่อยไป
ศาลอุทธรณ์ตัดสินว่า ฝ.จำเลยมีผิดตาม ม.๒๔๙ และ ๕๕ แต่ ฝ.เปนคนหากินตามปกติ ไม่ปรากฏว่าเคยทำผิดมาแต่ก่อน ควรได้รับความปราณีลดโทษตาม ม.๕๙ ด้วย คงให้จำคุก ฝ.๕ ปี นอกจากนี้ยืนตาม
ศาลฎีกาตัดสินแก้ว่า ช.ตายด้วยพิษบาดแผลที่ ฝ.ทำร้าย และฝ. ได้ทำไปในขณะที่บรรดาลโทษะเพระเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งนับว่ายังติดต่อกันอยู่ โดย ฝ.ทำร้าย ช.ทันทีในขณะวิ่งตามมาพบดังนี้ ยังเรียกไม่ได้ว่าโทษะที่เกิดจากมูลเหตุเดิมได้สงบหรือขาดตอนไปแล้ว ความผิดของ ฝ.จำเลยต้องด้วย ม.๒๔๙ – ๕๕ ส่วนที่ศาลอุทธรณ์ลดโทษให้จำเลยตาม ม.๕๙ นั้น ยังไม่ชอบ เพราะเหตุที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นลดโทษนั้น จะถือว่าเปนคุณความดีของจำเลยตาม ม.๕๙ ยังไม่ได้ จึงให้จำคุก ฝ.ไว้ ๗ ปี ๖ เดือน ตามกฎหมายที่กล่าวมาแล้ว