คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้ที่ดินที่ปลูกบ้านพิพาทถูกเวนคืนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎรแต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกันโจทก์มีสิทธิยึดถือและใช้สอยบ้านพิพาทกับมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้ใดเกี่ยวข้องในสถานะเช่นเดียวกับเจ้าของเมื่อจำเลยเป็นคู่สัญญาผู้เช่าบ้านพิพาทยอมรับสิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าและได้รับประโยชน์ในบ้านพิพาทที่เช่าจำเลยจะเถียงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่เมื่อการเช่าสิ้นสุดลงเพราะจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซึ่งโจทก์บอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระได้และการที่จำเลยอยู่ต่อมาได้ชื่อว่าอยู่โดยละเมิดสิทธิโจทก์จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย คดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงโจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตามที่ฟ้องปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยแม้ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยแต่เมื่อโจทก์และจำเลยต่างก็นำสืบจนคดีเสร็จสำนวนแล้วศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่อีก

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทำ สัญญาเช่า บ้าน พิพาท เลขที่ 133 จาก โจทก์มี กำหนด 2 ปี ค่าเช่า เดือน ละ 4,300 บาท เมื่อ ครบ กำหนด การ เช่าโจทก์ บอกเลิก สัญญา ให้ จำเลย ส่งมอบ บ้าน พิพาท คืน แต่ จำเลย เพิกเฉยขอให้ บังคับ จำเลย ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวาร ออกจาก บ้าน พิพาท และ ส่งมอบบ้าน พิพาท คืน โจทก์ กับ ให้ จำเลย ใช้ เงิน ค่าเช่า ที่ ค้างชำระ ใน เดือนสิงหาคม 2533 จำนวน 4,300 บาท และ ค่าเสียหาย เดือน ละ 4,300 บาทนับแต่ วันสิ้นสุด สัญญาเช่า เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย จะ ขนย้าย ทรัพย์สินพร้อม บริวาร ออก ไป และ ส่งมอบ บ้าน พิพาท แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า บ้าน พิพาท ปลูกสร้าง บน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 844แขวง ศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่ง เป็น ที่ดิน ของ กระทรวงการคลัง ต่อมา มี กฎหมาย เวนคืน ที่ดิน แปลง ดังกล่าว เพื่อ สร้างและ ขยาย ถนน เทศบาล กระทรวงการคลัง จึง จดทะเบียน โอน ที่ดิน ดังกล่าวให้ เป็น กรรมสิทธิ์ ของ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เพื่อ สร้างและ ขยาย ถนน เทศบาล ใน ท้องที่ แขวง ศาลเจ้าพ่อเสือ แขวงบวรนิเวศ และ แขวง เสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สิทธิ การ เช่า ที่ดิน และ ตึกแถว ใน บริเวณ ดังกล่าว เป็น อัน ถูก ยกเลิก ไป สัญญาเช่าระหว่าง โจทก์ จำเลย จึง ไม่ เกิด ผล โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง ขับไล่ จำเลยและ ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าเช่า ค้างชำระ กับ ค่าเสียหาย จาก จำเลย ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย ขนย้าย บริวาร และ ทรัพย์สินออกจาก บ้าน เลขที่ 133 ถนน บุญศิริ แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และ ส่งมอบ บ้าน ดังกล่าว แก่ โจทก์ ให้ จำเลย ชำระ ค่าเช่าเดือน สิงหาคม 2533 จำนวน 4,300 บาท พร้อม ค่าเสียหาย เดือน ละ4,300 บาท นับแต่ ครบ กำหนด การ เช่า จนกว่า จำเลย จะ ขนย้าย บริวารและ ทรัพย์สิน ออกจาก บ้าน เลขที่ 133 ถนน บุญศิริ แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขต พระนคร กรุงเทพมหานคร และ ส่งมอบ ให้ โจทก์ เรียบร้อย ค่าเสียหาย ดังกล่าว คิด ถึง วันฟ้อง ต้อง ไม่เกิน 12,900 บาท
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ โจทก์ ฟ้องขับไล่ จำเลย ออกจากอสังหาริมทรัพย์ อัน มีค่า เช่า หรือ อาจ ให้ เช่า ได้ ใน ขณะ ยื่น คำฟ้องไม่เกิน เดือน ละ หนึ่ง หมื่น บาท ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อ จำเลยฎีกา เฉพาะ ใน ปัญหาข้อกฎหมาย การ วินิจฉัย ปัญหา เช่นว่า นี้ ศาลฎีกาจำต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐานใน สำนวน ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า เมื่อ พ.ศ. 2516 มีพระราชบัญญัติ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ เพื่อ สร้าง และ ขยาย ทางหลวง เทศบาลใน ท้องที่ แขวง ศาลเจ้าพ่อเสือ แขวงบวรนิเวศและแขวงเสาชิงช้า เขต พระนคร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2516 ใช้ บังคับ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท เลขที่ 133 ถนน บุญศิริ แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร ของ โจทก์ ก็ อยู่ ใน เขต เวนคืน ด้วย ปรากฏ ตาม สำเนา พระราชบัญญัติและ แผนผัง แนว ถนน ที่ ถูก เวนคืน เอกสาร หมาย ล. 1 และ ล. 2 ตามลำดับเมื่อ พ.ศ. 2527 กระทรวงการคลัง ได้ จดทะเบียน ยก ที่ดิน ที่ปลูกบ้านพิพาท ให้ เป็น ทางสาธารณะ ตาม โฉนด ที่ดิน เอกสาร หมาย ล. 4 เมื่อ วันที่8 สิงหาคม 2531 จำเลย ทำ สัญญาเช่า บ้าน พิพาท จาก โจทก์ ตั้งแต่ เดือนสิงหาคม 2533 เป็นต้น มา จำเลย ไม่ชำระ ค่าเช่า ให้ โจทก์ โจทก์ จึงมอบหมาย ให้ ทนายความ มี หนังสือ แจ้ง ให้ จำเลย ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวารออกจาก บ้าน พิพาท ตาม สำเนา หนังสือ ขอบ อก เลิกสัญญา และ ใบ ตอบรับเอกสาร หมาย จ. 3 และ จ. 4 ตามลำดับ จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม คดีมี ปัญหา ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้องขับไล่ จำเลย ออกจาก บ้าน พิพาท หรือไม่เห็นว่า แม้ จะ ฟังได้ ว่า ที่ดิน ที่ปลูกบ้าน พิพาท ถูก เวนคืน ตามพระราชบัญญัติ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ เพื่อ สร้าง และ ขยาย ทางหลวง เทศบาลใน ท้องที่ แขวง ศาลเจ้าพ่อเสือ แขวงบวรนิเวศ และแขวงเสาชิงช้า พ.ศ. 2516 และ มี การ จดทะเบียน ยก ที่ดิน ดังกล่าว ให้ เป็น ทางสาธารณะเมื่อ พ.ศ. 2527 ซึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304ประกอบ มาตรา 1306 และ มาตรา 1307 ห้าม มิให้ บุคคล ยึดทรัพย์สินของ แผ่นดิน และ ห้าม มิให้ ยก อายุความ ขึ้น เป็น ข้อต่อสู้ กับ แผ่นดินใน เรื่อง ทรัพย์สิน อันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็ ตาม ก็ เป็นบทบัญญัติ ที่ ใช้ บังคับ ระหว่าง รัฐ กับ ราษฎร แต่ ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลยซึ่ง เป็น ราษฎร ด้วยกัน โจทก์ มีสิทธิ ยึดถือ และ ใช้สอย บ้าน พิพาท เลขที่133 กับ มีสิทธิ ขัดขวาง มิให้ ผู้ใด เกี่ยวข้อง ใน สถานะ เช่นเดียว กับเจ้าของ ทั้ง การ ให้ เช่าทรัพย์ ผู้ให้เช่า ไม่จำต้อง เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์ ที่ ให้ เช่า เมื่อ จำเลย ผู้เช่า บ้าน พิพาท เมื่อพ.ศ. 2531 เป็น คู่สัญญา กับ โจทก์ ยอมรับ สิทธิ ของ โจทก์ ใน ฐานะผู้ให้เช่า และ ได้รับ ประโยชน์ ใน บ้าน พิพาท ที่ เช่า ตาม สัญญา ชั่ว ระยะเวลาอัน มี จำกัด จำเลย จะ โต้เถียง ว่า โจทก์ ไม่ใช่ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ใน บ้าน พิพาท ไม่มี อำนาจฟ้อง หาได้ไม่ เมื่อ การ เช่า สิ้นสุด ลงเพราะ จำเลย ผิดสัญญา โดย ไม่ชำระ ค่าเช่า ซึ่ง โจทก์ บอกเลิก การ เช่าตาม สำเนา หนังสือ บอกกล่าว และ ใบ ตอบรับ เอกสาร หมาย จ. 3 และ จ. 4ตามลำดับ โดยชอบ แล้ว โจทก์ ย่อม มีอำนาจ ฟ้องขับไล่ จำเลย และ เรียกค่าเช่า ที่ ค้างชำระ ได้ นอกจาก นี้ การ ที่ จำเลย อยู่ ต่อมา ได้ ชื่อ ว่า อยู่โดย ละเมิด สิทธิ โจทก์ ทำให้ โจทก์ เสียหาย จำเลย จึง ต้อง ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ด้วย ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า โจทก์ มี อำนาจฟ้องชอบแล้ว ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา ว่า เมื่อ ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า โจทก์ มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ จำต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ปัญหา เรื่องค่าเสียหาย การ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ปัญหา ดังกล่าว จึง ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 เห็นว่า คดี นี้ ไม่ต้องห้าม อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง โจทก์ อุทธรณ์ ว่า โจทก์ ได้รับ ความเสียหายตาม ที่ ฟ้อง ปัญหา เรื่อง ค่าเสียหาย จึง เป็น ประเด็น โดยตรง ที่ ศาลอุทธรณ์จะ ต้อง วินิจฉัย แม้ ศาลชั้นต้น จะ ยัง มิได้ วินิจฉัย แต่เมื่อ โจทก์ และจำเลย ต่าง ก็ ได้ นำสืบ จน คดี เสร็จ สำนวน มา แล้ว ศาลอุทธรณ์ ย่อม มีอำนาจที่ จะ วินิจฉัย ปัญหา ดังกล่าว ไป เสีย ทีเดียว โดย ไม่จำต้อง ย้อนสำนวนไป ให้ ศาลชั้นต้น พิจารณา ใหม่ ดัง ที่ จำเลย ฎีกา ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยโดย ไม่ ย้อนสำนวน ชอบแล้ว ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน

Share