คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ในวันนำเข้าสินค้าโจทก์ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้ส่วนจำนวนที่จำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่มนอกเหนือจากที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการค้าโจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางเงินสดและหนังสือค้ำประกันเป็นหลักประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯมาตรา112ถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มในวันนำเข้าแล้วเมื่อจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระเงินค่าภาษีอากรเพิ่มและโจทก์ได้นำเงินไปชำระและรับหนังสือค้ำประกันคืนจึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก่อนนำของไปจากอารักขาของศุลกากรอันจะถือว่าโจทก์ได้เสียอากรเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระอันจะอยู่ในบังคับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกินในกำหนด2ปีนับแต่วันที่นำสินค้าเข้าแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระค่าอากรเพิ่มเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระตามมาตรา112ทวิซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้กำหนดอายุความ10ปี

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ พิพากษา ว่า การ ประเมิน ของ จำเลย ไม่ชอบ และให้ จำเลย คืนเงิน แก่ โจทก์ 1,088,700 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ คืน แก่ โจทก์เสร็จสิ้น
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษา ว่า ให้ เพิกถอน การ ประเมิน ของ จำเลยเฉพาะ อากร ขาเข้า ให้ จำเลย คืนเงิน อากร ขาเข้า ที่ ประเมิน เพิ่ม ในแต่ละ ใบ ขน พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ ตาม ที่ ทั้ง สอง ฝ่าย นำสืบ และ ตาม ที่ ศาลภาษีอากรกลาง ฟัง มา โดยคู่ความ มิได้ อุทธรณ์ โต้แย้ง ใน ชั้น นี้ ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคล ประเภทบริษัท จำกัด มี วัตถุประสงค์ และ กรรมการ ตาม เอกสาร หมาย จ. 6 แผ่น ที่ 1โดย กรรมการ สอง คน ลงลายมือชื่อ ร่วมกัน และ ประทับตรา สำคัญ ของ โจทก์กระทำการ ผูกพัน โจทก์ ได้ นาง มั่นจิต นิมมานนิตย์ และ นาย จอห์นนี่ จง ไงยาง เป็น กรรมการ โจทก์ ด้วย เมื่อ ระหว่าง วันที่ 17 มิถุนายน 2528 ถึง วันที่ 2 มกราคม 2533 โจทก์ ซื้อ สินค้าใย สังเคราะห์ ที่ ไม่ได้ หวีหรือ สางตาม วัตถุ พยาน ซึ่ง ติด อยู่ กับ เอกสารหมาย จ. 5 อันดับ ที่ 27 ทำ ด้วย โพลีเอสเตอ ร์ซึ่ง เป็น วัตถุดิบ เพื่อ ใช้ปั่น เป็น ด้าย ผลิต สินค้า สำเร็จรูป จำหน่าย และ ส่งออก ต่างประเทศ จากประเทศ มาเลเซีย เข้า มา ใน ราชอาณาจักร รวม 30 เที่ยว เมื่อ สินค้า มา ถึง เขต ท่า ศุลกากร กรุงเทพ โจทก์ ได้ ยื่น ใบขนสินค้า ขาเข้า และ แบบแสดง รายการ การค้า เลขที่ 068-31453, 059-31473, 059-32324,069-31308, 069-31971, 021-32548, 031-33687, 031-33686,041-33617, 212-32019, 022-0043, 022-0332, 032-0088, 032-0346,042-0061, 042-0128, 042-0277, 102-0448, 102-0569, 112-0230,112-0229, 112-0304, 112-0504, 122-0888, 122-0270, 122-0271,122-0574, 122-0631, 122-0072 และ 013-0156 ตาม เอกสาร หมายล. 1 แผ่น ที่ 1, 15, 29, 47, 64, 80, 93, 102, 114, 124, 131, 159,172, 184, 196, 207, 219, 232, 243, 252, 262, 272, 283, 294, 305,315, 324, 336, 346 และ 356 ซึ่ง นำเข้า เมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน2528 วันที่ 16 พฤษภาคม 2529 วันที่ 28 พฤษภาคม 2529 วันที่ 13มิถุนายน 2529 วันที่ 27 มิถุนายน 2529 วันที่ 10 มีนาคม 2531วันที่ 1 เมษายน 2531 วันที่ 12 เมษายน 2531 วันที่ 24 เมษายน 2531วันที่ 14 ธันวาคม 2531 วันที่ 30 มกราคม 2532 วันที่ 24 กุมภาพันธ์2532 วันที่ 1 มีนาคม 2532 วันที่ 16 มีนาคม 2532 วันที่ 2 เมษายน2532 วันที่ 6 เมษายน 2532 วันที่ 14 เมษายน 2532 วันที่ 19ตุลาคม 2532 วันที่ 26 ตุลาคม 2532 วันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 วันที่3 พฤศจิกายน 2532 วันที่ 11 พฤศจิกายน 2532 วันที่ 20 พฤศจิกายน2532 วันที่ 1 ธันวาคม 2532 วันที่ 11 ธันวาคม 2532 วันที่ 11ธันวาคม 2532 วันที่ 21 ธันวาคม 2532 วันที่ 25 ธันวาคม 2532วันที่ 31 ธันวาคม 2532 และ วันที่ 2 มกราคม 2533 ตามลำดับ รวม 30ฉบับ ซึ่ง โจทก์ กรอก รายการ สินค้า ชนิด ปริมาณ น้ำหนัก และ ราคา สินค้าที่ โจทก์ ซื้อ มา ตาม ใบ กำกับ สินค้า อันเป็น ราคา ตาม สัญญาซื้อขาย และได้ นำ เงินสด ไป ชำระ และ รับ หลักประกัน คืน แล้ว โจทก์ ไม่เห็น ด้วย กับ การประเมิน ราคา เพิ่ม และ ได้ อุทธรณ์ การ ประเมิน ต่อ กองวิเคราะห์ ราคา ของจำเลย ตาม เอกสาร หมาย จ. 4 ซึ่ง เจ้าพนักงาน พิจารณา อุทธรณ์ ของ จำเลยมี คำสั่ง ยืน ตาม ราคา ที่ เจ้าพนักงาน ประเมิน เงินอากร ขาเข้า ตาม ใบ ขนสินค้า ขาเข้า และ แบบแสดงรายการ การค้า เลขที่ 068-31453, 069-31308 และ069-31971 ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 1, 47 และ 64 นั้น โจทก์ได้รับ คืน ไป บางส่วน แล้ว สำหรับ ใบขนสินค้า ขาเข้า แบบแสดงรายการ การค้าเลขที่ 068-31453, 059-31473, 059-32324, 069-31308, 069-31971และ 021-32548 ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 1, 15, 29, 47, 64 และ 80รวม 6 ฉบับ โจทก์ นำ คดี มา ฟ้อง เมื่อ พ้น กำหนด 2 ปี นับแต่ วัน นำ สินค้าเข้า มา ใน ราชอาณาจักร แล้ว
ส่วน ปัญหา ว่าคดี ตาม ใบขนสินค้า ขาเข้า และ แบบแสดงรายการ การค้าเลขที่ 068-31453, 059-31473, 059-32324, 069-31308, 069-31971 และ021-32548 ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 1, 15, 29, 47, 64 และ 80ขาดอายุความ หรือไม่ นั้น เห็นว่า ตาม ทางนำสืบ ของ โจทก์ และ จำเลย ฟังได้ว่า วันที่ 17 มิถุนายน 2528 วันที่ 16 พฤษภาคม 2529 วันที่ 28พฤษภาคม 2529 วันที่ 13 มิถุนายน 2529 วันที่ 22 มิถุนายน 2529 และวันที่ 10 มีนาคม 2531 ซึ่ง เป็น วัน นำเข้า สินค้า ตาม ใบขนสินค้า ขาเข้าและ แบบแสดงรายการ การค้า ทั้ง หก ฉบับนั้น โจทก์ ได้ ชำระ ภาษีอากรเฉพาะ ตาม จำนวน ที่ ได้ สำแดง ไว้ เท่านั้น ส่วน จำนวน ที่ เจ้าพนักงานของ จำเลย เรียก ให้ โจทก์ ชำระ เพิ่ม นอกเหนือ จาก ที่ โจทก์ ได้ สำแดง ไว้ใน ใบขนสินค้า ขาเข้า และ แบบแสดงรายการ การค้า โจทก์ ยัง มิได้ ชำระแต่ ได้ วางเงิน สด และ หนังสือ ค้ำประกัน ของ ธนาคาร เป็น หลักประกันค่าอากร ที่ อาจ ต้อง ชำระ เพิ่ม เมื่อ เจ้าพนักงาน ของ จำเลย ประเมิน เพิ่มใน ภายหลัง อันเป็น การ ดำเนินการ เพื่อ นำ สินค้า ออกจาก อารักขา ของจำเลย ตาม ที่ พระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 บัญญัติ ไว้จึง ยัง ถือไม่ได้ว่า โจทก์ ชำระ ค่าภาษีอากร เพิ่ม ใน วัน นำเข้า แล้วต่อมา เมื่อ เจ้าพนักงาน ของ จำเลย ได้ ประเมิน ให้ โจทก์ ชำระ เงิน ค่าภาษีอากร เพิ่ม ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 แผ่น ที่ 1 ถึง 27 และ โจทก์ได้ นำ เงิน ไป ชำระ และ รับ หลักประกัน ที่ เป็น หนังสือ ค้ำประกัน ของ ธนาคารดังกล่าว คืน ก็ เป็น การ ดำเนินการ ตาม ที่ พระราชบัญญัติ ศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติ ไว้ การ ที่ โจทก์ ชำระ ค่าภาษีอากร ตาม ที่ เจ้าพนักงาน ของ จำเลย แจ้ง ให้ ไป ชำระ เพิ่ม ใน ภายหลัง ตามใบขนสินค้า ขาเข้า และ แบบแสดงรายการ การค้า แต่ละ ฉบับ รวม 6 ฉบับดังกล่าว ข้างต้น จึง มิใช่ เรื่อง ที่ โจทก์ ชำระ ค่าภาษีอากร จน ครบถ้วนหรือ วางเงิน ไว้ เป็น ประกัน ก่อน ที่ จะ นำ ของ ไป จาก อารักขา ของ ศุลกากร ตามที่ พระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 40 บัญญัติ ไว้ อัน จะ ถือว่า โจทก์ ได้เสีย อากร เกินกว่า จำนวน ที่ พึง ต้อง ชำระ เพราะ เหตุ อันเกี่ยวกับ ราคา แห่ง ของ อัน จะ อยู่ ใน บังคับ สิทธิเรียกร้อง ขอ คืนเงิน อากรที่ ได้เสีย ไว้ เกิน ใน กำหนด 2 ปี นับแต่ วันที่ นำ สินค้า เข้า ตาม บทบัญญัติ มาตรา 10 วรรคห้า แห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 หาก แต่เป็น เรื่อง ที่ โจทก์ ชำระ ค่าอากร เพิ่ม เกินกว่า จำนวน ที่ พึง ต้อง ชำระโดย พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ได้ ประเมิน เงินอากร เพิ่ม เพราะ เหตุอัน เกี่ยวกับ ราคา แห่ง ของ ซึ่ง เป็น ไป ตาม มาตรา 112 ทวิ วรรคแรกและ วรรคสอง แห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 ทั้ง พระราชบัญญัติศุลกากร ดังกล่าว ก็ มิได้ บัญญัติ เกี่ยวกับ กำหนด อายุความ ใน เรื่อง นี้ ไว้โดยเฉพาะ จึง ต้อง ใช้ กำหนด อายุความ 10 ปี ตาม มาตรา 164 เดิมแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 29มีนาคม 2533 ปรากฏว่า โจทก์ ชำระ ภาษีอากร เพิ่ม ตาม ที่ ได้รับ แจ้ง การประเมิน ตาม ใบขนสินค้า ขาเข้า เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 1, 15, 29, 47,64,และ 80 ระหว่าง วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2529 ถึง วันที่ 16 พฤษภาคม2531 ยัง ไม่ พ้น กำหนด 10 ปี คดี โจทก์ จึง ยัง ไม่ขาดอายุความ อุทธรณ์ของ จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share