แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาหรือไม่เมื่อพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักดีกว่าจำเลยก็รับฟังได้การที่โจทก์ไม่ส่งไปตรวจพิสูจน์หาใช่เป็นข้อพิรุธไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า เดิม นาย ปัญญา อับดุลอารีย์ ได้ ยืมเงิน โจทก์ จำนวน 500,000 บาท ต่อมา วันที่ 10 กันยายน 2532จำเลย ทั้ง ห้า ได้ ร่วมกัน ทำ หนังสือ รับ ใช้ หนี้ ดังกล่าว แทน นาย ปัญญา โดย จะ ชำระ ให้ เสร็จ ภายใน วันที่ 1 ตุลาคม 2532 หาก ผิดนัด ยอม ให้โจทก์ ยึด ที่ดิน ชาย ฝั่ง ทะเล ของ จำเลย ที่ 1 จำนวน 200 ตารางวาออก ขาย เพื่อ นำ เงิน มา ชำระหนี้ ให้ แก่ โจทก์ แต่ จำเลย ทั้ง ห้า ผิดนัด ซึ่งนับ ถึง วันฟ้อง จำเลย ทั้ง ห้า ค้าง ต้นเงิน และ ดอกเบี้ย จำนวน 531,250 บาทโจทก์ ได้ ทวงถาม แล้วแต่ จำเลย ไม่ชำระ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง ห้า ร่วมกันชำระ เงิน จำนวน 531,250 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 500,000 บาท นับ ตั้งแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จให้ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ที่ 4 และ ที่ 5 ให้การ ว่า โจทก์ ฟ้องคดี นี้ โดย ไม่ได้รับ ความ ยินยอม จาก สามี นาย ปัญญา จะ เคย ยืมเงิน โจทก์ หรือไม่ ไม่ทราบ จำเลย ที่ 1 ที่ 4 และ ที่ 5 ไม่เคย ทำ บันทึก ข้อตกลงรับ ใช้ หนี้ แทน นาย ปัญญา ให้ แก่ โจทก์ ฟ้อง ของ โจทก์ เคลือบคลุม ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 3 ไม่เคย ร่วม กับ จำเลย ที่ 1ที่ 4 และ ที่ 5 ทำ สัญญา ว่า จะ รับ ใช้ หนี้ จำนวน 500,000 บาท แทนนาย ปัญญา ให้ แก่ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3ร่วมกัน ชำระ เงิน แก่ โจทก์ จำนวน 500,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน ดังกล่าว นับ ตั้งแต่ วันที่1 ตุลาคม 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แต่ ดอกเบี้ย คิด ถึงวันฟ้อง ต้อง ไม่เกิน 31,250 บาท
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 1และ ที่ 3
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ทางพิจารณา โจทก์ นำสืบ ว่า ก่อน ฟ้องโจทก์ และ สามี ได้ หย่าขาด จาก การ เป็น สามี ภริยา กัน แล้ว ตามเอกสาร หมาย จ. 1 โจทก์ สนิท สนม กับ นาย ปัญญา อับดุลอารีย์ เปรียบ เสมือน ญาติ นาย ปัญญา เคย ยืมเงิน โจทก์ ไป ครั้ง ละ ประมาณ 20,000 บาท ถึง 50,000 บาท รวมเป็น เงิน ทั้งหมด 800,000 บาท เศษนาย ปัญญา ได้ นำ ไป ใช้ ลงทุน เลี้ยง ไก่ เลี้ยง ปลากะพง และ ซ่อมแซม บ้าน ซึ่ง ปลูก อยู่ บน ที่ดิน เนื้อที่ ประมาณ 1 ไร่ ซื้อ มาจาก จำเลย ที่ 1 แต่ยัง ไม่ได้ โอน เพราะ ที่ดิน ติด จำนอง ต่อมา กิจการ เลี้ยง ไก่ และ ปลากะพงขาดทุน นาย ปัญญา ได้ บอก แก่ โจทก์ ว่า หาก ขาย ที่ดิน ดังกล่าว ข้างต้น ไม่ได้ ก็ จะ โอน ให้ แก่ โจทก์ จำเลย ที่ 1 เคย ยืมเงิน นาย ปัญญา ไป ใช้ ครั้ง ละ 2,000 ถึง 5,000 บาท ต่อมา วันที่ 31 กรกฎาคม 2532นาย ปัญญา ถึงแก่ความตาย โจทก์ ได้ ไป พบ จำเลย ที่ 1 ที่ อำเภอ บางสะพาน จำเลย ทั้ง ห้า ได้ ร่วมกัน ทำ หนังสือ รับ ใช้ หนี้ เงิน จำนวน 500,000 บาทแทน นาย ปัญญา ให้ โจทก์ ยึดถือ ไว้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 ที่ดิน ที่ จำเลย ที่ 1 ขาย ให้ นาย ปัญญา ตาม โฉนด เอกสาร หมาย จ. 2 จำเลย ทั้ง ห้า ตกลง ว่า หาก ไม่สามารถ ชำระหนี้ ให้ แก่ โจทก์ ได้ ก็ จะ แบ่ง ที่ดิน ตาม เอกสารหมาย จ. 2 จำนวน 200 ตารางวา ให้ แก่ โจทก์ เมื่อ ครบ กำหนด เวลาชำระหนี้ จำเลย ทั้ง ห้า ผิดนัด และ เมื่อ วันที่ 28 กันยายน 2532จำเลย ที่ 1 ได้ นำ ที่ดิน ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 ไป ขาย ให้ บุคคลภายนอกแต่ ไม่ได้ นำ มา ชำระหนี้ ให้ แก่ โจทก์ โจทก์ ได้ ติดต่อ ให้ จำเลย ที่ 1มา ชำระหนี้ แต่ จำเลย ที่ 1 ผัดผ่อน ตลอดมา จำเลย ทั้ง ห้า จะ ต้อง รับผิดชำระหนี้ ดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2532 ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน31,250 บาท โจทก์ ได้ ให้ ทนายความ มี หนังสือ ทวงถาม ให้ จำเลยทั้ง ห้า ชำระหนี้ แก่ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 5 และ จ. 6 แต่จำเลย ทั้ง ห้า ไม่ชำระ
จำเลย ที่ 1 ที่ 4 และ ที่ 5 นำสืบ ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 5 เป็น สามีภริยา กัน จำเลย ที่ 3 ที่ 4 เป็น บุตร ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 5 จำเลย ที่ 1ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5 ไม่ได้ ลงชื่อ ใน เอกสาร หมาย จ. 3 จำเลย ที่ 1ไม่ได้ เขียน จดหมาย เอกสาร หมาย จ. 7 ถึง ทนายโจทก์
จำเลย ที่ 3 ไม่สืบ พยาน
พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ใน เบื้องต้น ว่า จำเลย ที่ 1ที่ 5 เป็น สามี ภริยา กัน จำเลย ที่ 3 ที่ 4 เป็น บุตร ของ จำเลย ที่ 1ที่ 5 นาย ปัญญา อับดุลอารีย์ เป็น หนี้ โจทก์ ประมาณ 800,000 บาท เมื่อ นาย ปัญญา ถึงแก่ความตาย แล้ว มี การ ทำ หนังสือ รับ ใช้ หนี้ แทน นาย ปัญญา จำนวน 500,000 บาท ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 3 ได้ ลงชื่อใน เอกสาร ดังกล่าว หรือไม่ โจทก์ มี ตัว โจทก์ เบิกความ ว่า โจทก์ รู้ จักกับ นาย ปัญญา ประมาณ 7-8 ปี สนิท สนม กัน เสมือน ญาติ นาย ปัญญา เคย ยืมเงิน โจทก์ ไป หลาย ครั้ง เพื่อ นำ ไป ลงทุน เลี้ยง ไก่ ปลา กะ พง และ ซ่อมบ้าน ซึ่ง ปลูก อยู่ ใน ที่ดิน ที่ ซื้อ จาก จำเลย ที่ 1 เป็น จำนวน ประมาณ800,000 บาท กิจการ ของ นาย ปัญญา ขาดทุน นาย ปัญญา จะขาย ที่ดิน แปลง นั้น ซึ่ง มี เนื้อที่ ประมาณ 1 ไร่ หาก ขาย ไม่ได้ ก็ จะ โอน ให้โจทก์ ต่อมา วันที่ 31 กรกฎาคม 2532 นาย ปัญญา ถึงแก่ความตาย ครั้น วันที่ 10 กันยายน 2532 โจทก์ ไป หา จำเลย ที่ 1 จำเลย ทั้ง ห้ายอมรับ ใช้ หนี้ แทน นาย ปัญญา จำนวน 500,000 บาท ภายใน วันที่ 1 ตุลาคม 2532 หาก ไม่สามารถ ชำระหนี้ ได้ ก็ จะ นำ ที่ดิน ตาม เอกสารหมาย จ. 2 ไป ขาย หรือ มิฉะนั้น แบ่ง ใช้ แทน หนี้ เนื้อที่ 200 ตารางวาตาม สัญญา เอกสาร หมาย จ. 3 จำเลย ที่ 1 ได้ ขาย ที่ดิน ดังกล่าว ไปเมื่อ วันที่ 28 กันยายน 2532 แล้ว ไม่ชำระ หนี้ ให้ โจทก์ โดย มีนาย ปรีดา แสงจันทร์ และ นาย อาหมัด อดุลฮีม น้องชาย จำเลย ที่ 1เบิกความ เป็น พยาน สนับสนุน ว่า นาย ปรีดา เป็น ญาติ ห่าง ๆ กับ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 ขาย ที่ดิน ให้ นาย ปัญญา แล้ว โอน ไม่ได้ เพราะ ติด จำนอง จำเลย ที่ 1 บอก ว่า จะขาย ที่ดิน ใช้ หนี้ แทนนาย ปัญญา ขณะ จำเลย ที่ 1 กับพวก ลงชื่อ ใน เอกสาร หมาย จ. 3 นาย ปรีดา รู้เห็น และ ลงชื่อ เป็น พยาน ส่วน นาย อาหมัด ก็ ทราบ เรื่อง ที่ จำเลย ที่ 1ขาย ที่ดิน ให้ นาย ปัญญา หลังจาก นาย ปัญญา ถึงแก่ความตาย ไป ไม่ถึง เดือน ขณะ มี การ ทำบุญ ที่ บ้าน นาย ปัญญา นั้น โจทก์ จำเลย ที่ 1และ นาย อาหมัด อยู่ ที่ บ้าน นาย ปัญญา จำเลย ที่ 1 รับปาก กับ โจทก์ ว่า จะ ใช้ หนี้ แทน นาย ปัญญา 500,000 บาท เพราะ นาย ปัญญา กู้เงิน โจทก์ มา สร้าง สถานที่ รักษา คน ป่วย ซึ่ง สร้าง ใน ที่ดิน ที่ ซื้อ จากจำเลย ที่ 1 โดย จำเลย ที่ 1 จะ นำ ที่ดิน ที่ ขาย ให้ นาย ปัญญา ไป ขาย นำ เงิน มา ชำระ ภายใน 1 เดือน ฝ่าย จำเลย คง มี แต่ จำเลย ที่ 1 ที่ 3ที่ 4 และ ที่ 5 เบิกความ ปฏิเสธ ว่า ไม่ได้ ลงชื่อ ยอมรับ ใช้ หนี้ แทนนาย ปัญญา ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 แต่ จำเลย ที่ 1 ตอบ คำถามค้าน ทนายโจทก์ ว่า นาย ปัญญา ได้ มา เช่า ที่ดิน ของ พยาน ปลูก บ้าน นาน 4 ปี เศษ เนื้อที่ ประมาณ 100 ตารางวา นาย ปัญญา เป็น แพทย์ แผน โบราณ และ ทำ ฟาร์ม เลี้ยง ไก่ เลี้ยง ปลากะพงด้วย ขณะ นาย ปัญญา ยัง มี ชีวิต อยู่ โจทก์ เคย มา หา นาย ปัญญา 2-3 เดือน ครั้ง นาย ปัญญา เสียชีวิต ที่ กรุงเทพมหานคร แต่ มา ทำบุญ ที่ บ้าน อำเภอ บาง สะพานจำเลย ที่ 1 ได้ ไป ใน งาน ทำบุญ จำเลย ที่ 1 ได้ ขาย ที่ดิน ที่ ให้นาย ปัญญา เช่า แก่ ผู้อื่น ไป แล้ว อันเป็น การ เจือสม คำพยาน โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 เบิกความ ยอมรับ ว่า รู้ จัก กับ นาย ปรีดา แต่ มี สาเหตุ ให้ โกรธเคือง กัน เนื่องจาก นาย ปรีดา เลี้ยง สุกร แล้ว ปล่อย ปละ จำเลย ที่ 1 ขอร้อง เป็นเหตุ ให้ โกรธ กัน ส่วน นาย อาหมัด ซึ่ง เป็น น้องชาย ก็ มี สาเหตุ โกรธเคือง กัน เรื่อง ทรัพย์มรดก จำเลย ที่ 1มี ตำแหน่ง เป็น โต๊ะอีหม่าม ประจำ มัสยิด ที่ บางสะพานใหญ่ จำเลย ที่ 3ตอบ คำถามค้าน ทนายโจทก์ ว่า จำเลย ที่ 4 เล่า ให้ ฟัง ว่า จำเลย ที่ 1กับ นาย อาหมัด มี สาเหตุ โกรธเคือง กัน เรื่อง มรดก จำเลย ที่ 4ตอบ คำถามค้าน ทนายโจทก์ ว่า นาย อาหมัด ไม่เคย มี เรื่อง โกรธเคือง กับ จำเลย ที่ 1 และ ครอบครัว จำเลย ที่ 5 ตอบ คำถามค้าน ทนายโจทก์ว่า ไม่เคย มี เรื่อง โกรธเคือง กับ นาย อาหมัด เห็น ได้ว่า ขัด กัน มาก จำเลย ที่ 5 เบิกความ ว่า นาย ปัญญา เช่า บ้าน ของ พยาน เป็น ที่ รักษา โรค อัมพาต แล้ว ตอบ คำถามค้าน ทนายโจทก์ ว่า นาย ปัญญา เช่า ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1 ปลูก บ้าน ไม่ถึง ปี ไม่ทำ สัญญาเช่า แต่ ตอบ คำถาม ติงว่า ตอน ทำ สัญญาเช่า มี บ้าน อยู่ แล้ว แต่ นาย ปัญญา ไป ต่อเติม ขึ้น อันเป็น การขัดกัน ใน ตัว และ ขัด กับ จำเลย ที่ 1 ด้วย เมื่อ คำเบิกความของ จำเลย ดังกล่าว แตกต่าง กัน เช่นนี้ ทำให้ ไม่มี น้ำหนัก ให้ รับฟังเกี่ยวกับ ลายมือชื่อ ใน เอกสาร หมาย จ. 3 จำเลย ที่ 3 ตอบ คำถามค้านทนายโจทก์ ว่า ลายมือชื่อ ที่อยู่ ด้าน บน นาง เน๊าะ มี ลักษณะ คล้าย กับ ลายมือชื่อ ของ จำเลย ที่ 1 ใน ใบ แต่ง นาย ณรงค์ ด้วงสั้น เป็น ทนาย และ ลายมือชื่อ ตรง ช่อง บุตร มี ลักษณะ เหมือน ลายมือชื่อ พยาน ตอน ที่ทำงาน ศาล ได้ ตรวจ ดู ลายมือชื่อ จำเลย ที่ 1 ใน ใบ รับ หมายศาล ใน ใบแต่งทนาย ความ และ ใน เอกสาร หมาย จ. 7 เปรียบเทียบ กับ ลายมือชื่อใน เอกสาร หมาย จ. 3 มี ลีลา การ เขียน คล้ายคลึง กัน มาก โดยเฉพาะเอกสาร หมาย จ. 7 ระบุ บ้าน ผู้ เขียน ตรง กับ บ้าน จำเลย ที่ 1 มี ข้อความถึง โจทก์ ทำนอง ขอ อย่า ให้ มี เรื่อง กัน สำหรับ ลายมือชื่อ จำเลย ที่ 3ใน ใบ คำให้การ ต่อ ศาล ใน ฐานะ พยาน และ ใน ใบแต่งทนายความ เปรียบเทียบกับ ลายมือชื่อ ใน เอกสาร หมาย จ. 3 ก็ มี ลีลา การ เขียน คล้ายคลึง กัน มากเช่นเดียวกัน นอกจาก นี้ นาย อาหมัด ยัง ตอบ คำถามค้าน ทนายจำเลย ยืนยัน ว่า มา เป็น พยาน เพื่อ ความเป็นธรรม แม้ จะ ไม่อยู่ ใน เหตุการณ์ขณะ ทำ เอกสาร หมาย จ. 3 เมื่อ ลายมือชื่อ ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 3 ใน เอกสารหมาย จ. 3 มี เอกสาร อื่น สามารถ เปรียบเทียบ ได้ การ ที่ โจทก์ ไม่ส่ง ไปตรวจ พิสูจน์ หาใช่ ข้อ พิรุธ ดัง ที่ ศาลอุทธรณ์ ตำหนิ ไม่ พยานหลักฐานโจทก์ มี น้ำหนัก เชื่อ ได้ กว่า พยาน จำเลย ข้อเท็จจริง เชื่อ ได้ว่าจำเลย ที่ 1 ที่ 3 ได้ ลงชื่อ ใน เอกสาร หมาย จ. 3 จึง ต้อง รับผิด ตาม สัญญาใน เอกสาร ดังกล่าว ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ที่ 3 นั้นศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น