แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำผิดในเวลากลางคือระหว่างวันที่ 24 มีนาคม 2484กับวันที่ 25 มีนาคม 2484 และวอเล็นว่า(ตรกับวันแรม 13 ค่ำเดือน 4) แม้โจทก์จะนำพะยานสืบว่าความผิดเกิดเมื่อคืนแรม 12 ค่ำตรงกับกลางคืนระหว่างวันที่ 24 – 25 มีนาคา ก็ไม่เรียกว่าต่างกับวันที่กล่าวในฟ้อง
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานหลักทรัพย์หรือของโจร เมื่อระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกวันที่ ๒๔ ถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ซึ่งเป็นเวลากลางคืนตามกฎหมาย (ตรงกับวันแรม๑๓ ค่ำ เดือน ๔)
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาต่างกับฟ้อง โจทก์ฟ้องผิดวันและรับรองว่าวันที่ ๒๔ มีนาคม ที่ โจทก์กล่าวในฟ้องนั้นตรงกับวันแรม ๑๒ ค่ำดังที่พะยานเบิกความ แต่โจทก์วงเล็บไว้ว่าแรม ๑๓ ค่ำ คำพะยานผิดกับฟ้อง จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับโดยเห็นว่าทางพิจารณาได้ต่างกับฟ้อ จึงให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงในท้องสำนวนแล้วพิพากษาคดีเสียใหม่
จำเลยฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยทำผิดในเวลากลางคืนระหว่างวันที่ ๒๔ ถึงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๔๘๔ แต่หากวงเล็บไว้ว่า(ตรงกับแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๔)มาด้วย และนำพะยานมาสืบว่าความผิดเกิดเมื่อคืนวันแรม ๑๒ ค่ะ ซึ่งตรงกับกลางคืนระหว่างวันที่ ๒๔ วันที่ ๒๕ มีนาคม ดังนี้ เรียกไม่ได้ว่าพะยานโจทก์เบิกความต่างกับวันที่กล่าวในฟ้อง เพราะวันแรม ๑๒ ค่ำนั้น ก็ตรงกับวันที่ ๒๔ มีนาคม การที่โจทก์วงเล็บไว้ในฟ้องนั้น ก็โดยยกวันจันทร์คดีขึ้นเทียบ ก็เมื่อการนำสืบได้ความในเรื่องวันตรงกันฟ้องแล้ว แม้การเทียบจันทร์คดีจะคลาดเคลื่อนไปบ้างก็หาเป็นสาระสำคัญที่ทำให้คดีโจทก์เสียไปไม่ จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์