คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2504

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยฐานมีอาวุธปืนซึ่งมีหมายเลขทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต แต่ไม่ริบปืนของกลาง อัยการโจทก์จึงอุทธรณ์ขอให้ริบปืนของกลาง ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2506 ออกใช้บังคับโดยมีมาตรา 9 วรรค 1 เปิดโอกาสให้ผู้มีอาวุธปืนฯ มาขออนุญาตต่อนายทะเบียนในกำหนด 90 วันโดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ดังนี้+แม้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในระหว่างใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวศาลอุทธรณ์ย่อมพิพากษายกฟ้องได้

ย่อยาว

เดิมโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ศาลชั้นต้นสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๐๒
ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครเจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ฐานเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ค่าภาษีอากรรวม ๖ อันดับต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนแล้วทำความเห็นเสนอต่อศาลว่าคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวเข้าเกณฑ์จะได้รับขำระหนี้อย่างมีบุริมสิทธิ์เฉพาะรายการอันดับ ๑ และ ๒ ส่วนอันดับ ๓ ถึง ๖ เป็นหนี้ซึ่งถึงกำหนดชำระตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นอย่างต่ำและพ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นอย่างสูง เกิน ๖ เดือนก่อน ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ จึงควรได้รับอย่างเจ้าหนี้สามัญตามมาตรา ๑๓๐ (๘)
ศาลชั้นต้นเห็นชอบตามความเห็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ขอรับชำระหนี้อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้รับชำระฐานมีบุริมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา ๑๓๐ (๖)
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ตามข้อเท็จจริงหนี้รายพิพาทเป็นหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งลูกหนี้ยื่นรายการเสียภาษีไว้ไม่ครบ เจ้าพนักงานได้ตรวจสอบพบว่าลูกหนี้แสดงกำไรน้อยไป จะต้องเสียภาษีเพิ่มเติมสำหรับ พ.ศ. ๒๔๙๖, ๒๔๙๗, ๒๔๙๘ และ ๒๔๙๙ อีกปีละแสนบาทเศษ กรมสรรพากรจึงได้มีหนังสือประกอบคำสั่งกระทรวงการคลังที่อนุมัติผ่อนผันให้ลูกหนี้ผ่อนชำระค่าภาษีได้เป็นงวด รวม ๒๔ เดือน ๆ แรกให้เริ่มชำระแต่ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒ โดยต้องชำระภายในวันสิ้นเดือนของทุกๆ เดือน มิฉะนั้น จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ ๒๐
ภาษีเงินได้ทั้ง ๔ ปีนี้ ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกาว่าไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ์ตามกฎหมายล้มละลายนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา ๖๕ ภาษีเงินได้ของนิติบุคคลเรียกเก็บจากกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี ๑๒ เดือน และตามมาตรา ๖๘ กำหนดให้นิติบุคคลยื่นรายการตามแบบภายใน ๑๕๐ วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี พร้อมทั้งชำระภาษีต่ออำเภอ การชำระค่าภาษีตามมาตรานี้เป็นการชำระล่วงหน้าไปก่อนในขณะยื่นรายการโดยเจ้าพนักงานยังไม่ได้ประเมินเรียกเก็บ
สำหรับกรณีค่าภาษีรายพิพาทต้องตามบทบัญญัติในมาตรา ๑๙,๒๐ เจ้าพนักงานได้ตรวจสอบภายหลังว่า ลูกหนี้ยื่นรายการกำไรสุทธิน้อยไป ไม่ถูกต้องบริบูรณ์ จึงทำการไต่สวนแล้วแจ้งจำนวนที่ต้องชำระเพิ่มเติมไปยังลูกหนี้โดยผ่นให้ชำระเป็นงวดรายเดือน งวดแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๐๒ ฉะนั้น ค่าภาษีสำหรับรายการเพิ่มเติมใหม่จึงถึงกำหนดชำระภายในเวลาที่เจ้าพนักงานได้กำหนดให้ดังกล่าว จะถือว่าเป็นค่าภาษีปี พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๔๙๙ ถึงกำหนดชำระเป็นปีๆ ไป ดังฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่
นอกจากนี้ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา ๑๒ บัญญัติว่า ค่าภาษีที่ถึงกำหนดชำระแล้วมิได้เสีย ให้ถือเป็นภาษีค้าง ค่าภาษีค้างนี้เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดทรัพย์ขายทอดตลาดใช้ค่าภาษีได้ทันที ฉะนั้น ถ้าจะแปลว่าภาษีรายพิพาทถึงกำหนดชำระตั้งแต่สิ้นระยะเวลา ๑๕๐ วันของปี พงศ. ๒๔๙๖-๒๔๙๙ ดังฎีกาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เจ้าพนักงานก็อาจยึดทรัพย์ขายทอดตลาดได้เลย แทนที่จะประเมินเพิ่มเติม ฉะนั้น พิจารณาตามมาตรา ๑๒ นี้ ประกอบแล้วยิ่งเห็นได้ชัดว่า เงินได้ส่วนที่ไม่ยื่นรายการไว้จะถือว่าเป็นค่าภาษีที่ถึงกำหนดชำระแล้วไม่ได้
ส่วนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกาว่า ถ้าจะถือตามความเห็นศาลอุทธรณ์ที่ว่า ค่าภาษีกำหนดชำระเงินงวดๆ ฉะนั้น จึงครบกำหนดเพียงงวดแรกงวดเดียว นอกนั้นยังไม่ถึงกำหนด บุริมสิทธิ์ก็หมดไปนั้น เห็นว่า กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องบุริมสิทธิ์หมดไปหรือไม่ เพราะในคดีล้มละลายนั้น การขอรับชำระหนี้ย่อมขอรับได้สำหรับหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ เมื่อลูกหนี้ตกเป็นคนล้มละลาย เจ้าหนี้อื่นใดจะฟ้องร้องก็ไม่ได้ ได้แต่ขอรับชำระหนี้ การขอรับขำระหนี้นี้ก็มีกฎหมายกำหนดเวลาไว้ ถ้าไม่ยอมให้เจ้าหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดได้ชำระ ร้องขอชำระหนี้เจ้าหนี้นั้นก็อาจไม่ได้รับขำระหนี้เลย เพราะพ้นเวลาขอรับชำระหนี้เสียแล้ว
พิพากษายืน

Share