แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
สัญญาประกันในคดีอาญาจะสุดสิ้นลงเมื่อไรเมื่อศาลเดิมยกฟ้องแล้ว ระหว่างอุทธรณ์นายประกันส่งตัวจำเลยมาฟังคำพิพากษาไม่ได้ นายประกันต้องรับผิดอัยยการมีอำนาจที่จะเข้าว่าคดีในชั้นศาลฎีกาได้ ถึงแม้จะไม่ได้ว่าคดีในชั้นศาลเดิม ตามพระธรรมนูญศาลยุตติธรรม ม. 35 ข้อ ( 1 ) เทียบฎีกา 851/2465
ย่อยาว
นายประกันทำสัญญาประกันตัว จำเลยในคดีอาญาไว้ต่อศาล แต่ในคดีนั้นศาลตัดสินปล่อย จำเลย โจทก์อุทธรณ์ คราวนี้นายประกันไม่สามารถจะนำตัว จำเลยให้มาฟังคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ได้ นายประกันขอผัดผ่อนต่อศาลหลายครั้ง ในที่สุดศาลเดิมสั่งให้ปรับนายประกันตาม สัญญา
นายประกันอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่า เมื่อ ศาลเดิมตัดสินปล่อยแล้ว สัญญาเดิมก็สิ้นอายุ จะต้องต่อ สัญญาหรือเรียกประกันใหม่ เมื่อไม่ทำเช่นนั้น นายประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด เมื่ออัยยการได้ฟังคำตัดสินของ ศาลอุทธรณ์เช่นนั้น ได้ทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่าอัยยการมีหน้าที่ตามพระธรรมนูญศาลยุตติธรรม ม. ๓๕ ข้อ ( ๑ ) ที่จะเข้าว่าความเรื่องนี้ได้ และใน สัญญามีความว่า ” ในระหว่างคดีเรื่องนี้ … จะเอาตัวมาบังคับบัญชาไม่ได้ … ” จะต้องฟังว่านายประกันได้ประกันตัว จำเลยในระหว่างความเรื่องนี้จนกว่าจะถึงที่สุด เพราะฉนั้น สัญญานี้จึงยังไม่สิ้นอายุ นายประกันยังต้องรับผิดอยู่ จึงตัดสินกลับ ศาลอุทธรณ์ยืนตามคำสั่ง ศาลเดิม