แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา
ย่อสั้น
การไม่ให้ลูกจ้างทำงานโดยลูกจ้างไม่ได้ทำผิด ถือเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน 16 เมษายน 2515 ข้อ 45 ฉบับที่ 6 31 กรกฎาคม 2521 มีผลตั้งแต่วันเลิกจ้าง จะนำ ประมวลกฎหมาายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 มาใช้ไม่ได้
ย่อยาว
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยใช้เงินค่าชดเชย 4,970 บาท สินจ้างที่มิได้บอกกล่าวล่วงหน้า 4,970 บาท กับดอกเบี้ย โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า “ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเพียงใดหรือไม่ พิเคราะห์เห็นว่า ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 45 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างประจำตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามข้อ 10 และข้อ 32 กับค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้าง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 6 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2521 ได้ให้ความหมายของการเลิกจ้างไว้โดยเฉพาะว่าหมายถึงการที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงาน ปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานโดยที่ลูกจ้างไม่ได้ทำความผิดตามข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฉบับลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หรือในกรณีที่นาายจ้างไม่ยอมให้ลูกจ้างประจำทำงานเกินเจ็ดวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่จ่ายค่าจ้างให้ถ้าปรากฏว่ามีเจตนาจะไม่ให้ลูกจ้างนั้นทำงานต่อไปหรือกลั่นแกล้งลูกจ้างให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้างลูกจ้างด้วย ดังนี้เห็นได้ว่าถ้านายจ้างไม่ยอมให้ลูกจ้างได้ทำงานต่อไปตามสัญญาไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ โดยลูกจ้างไม่ได้ทำความผิดตามข้อ 47 แม้นายจ้างจะมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าก็มีผลเป็นการเลิกจ้าง และศาลฎีกาเห็นพ้องกับคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางว่ากรณีเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานนี้ จะนำมาตรา 582 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับไม่ได้เพราะเป็นกฎหมายคนละส่วนกัน เมื่อคดีได้ความตามข้อเท็จจริงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 30 ตุลาคม 2523 การเลิกจ้างก็มีผลแต่วันดังกล่าวนั้น โจทก์จะถือว่าโจทก์ยังเป็นลูกจ้างต่อมาจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้า โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 มาเป็นประโยชน์แก่โจทก์ เพื่อคำนวณระยะเวลาทำงานในการคิดค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์เมื่อเลิกจ้างหาได้ไม่ โจทก์เข้าทำงาานเป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2522 มาจนถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2523 คิดระยะเวลายังไม่ครบหนึ่งปี โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 10 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดเช่นนี้ให้แก่โจทก์ ส่วนค่าชดเชยโจทก์คงมีสิทธิได้รับเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้ายสามสิบวันตามข้อ 46(1) ของประกาศข้างต้น หาใช่ตามข้อ 46(2) ไม่”
พิพากษายืน