แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้มิได้มีการตั้งเป็นประเด็นแห่งคดีไว้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค2ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5) บิดาโจทก์ถึงแก่ความตายไปแล้วก่อนโจทก์ฟ้องการสมรสระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลยได้ขาดจากกันเพราะเหตุบิดาโจทก์ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1501แล้วการสมรสนั้นจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะทายาทของบิดาคู่สมรสเดิมอันจะก่อให้เกิดสิทธิหรืออำนาจที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆะทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวแสดงว่าจำเลยได้กระทำสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์เช่นสิทธิในครอบครัวสิทธิในมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตายหรือสิทธิอื่นใดซึ่งจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55ถือว่าตามฟ้องไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น บุตร ของ นาย บุญหลงกับนางหยวก บิดา มารดา ของ โจทก์ ได้ สมรส กัน ก่อน วันที่ 1 ตุลาคม 2478 ต่อมา เมื่อ วันที่2 มีนาคม 2533 จำเลย ได้ จดทะเบียนสมรส กับ นาย บุญหลง บิดา โจทก์ โดย รู้ อยู่ แล้ว ว่า นาย บุญหลง มี นาง หยวก มารดา โจทก์ เป็น ภรรยา และ ขณะ จดทะเบียนสมรส นาย บุญหลง มี อาการ ป่วย ทาง ประสาท ทั้ง เป็น โรค ชรา ไม่สามารถ กระทำ สิ่ง ใด ด้วย ตนเอง ได้ และ นาย บุญหลง ได้ ถึงแก่กรรม เมื่อ วันที่ 13 กรกฎาคม 2533 จำเลย ได้ นำ ใบ สำคัญ การ สมรสดังกล่าว แสดง ต่อ บุคคลอื่น ทั่ว ๆ ไป ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหายขอให้ พิพากษา ว่า ใบ สำคัญ การ สมรส เป็น โมฆะ ไม่มี ผล สมบูรณ์ ตาม กฎหมาย
จำเลย ให้การ ว่า นาง หยวก มิใช่ ภรรยา ชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย บุญหลง และ โจทก์ มิใช่ บุตร ชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย บุญหลง ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย อยู่กิน ฉัน สามี ภรรยา กับ นาย บุญหลง มา นาน ประมาณ 40 ปี จึง ได้ จดทะเบียนสมรส เมื่อ วันที่ 2 มีนาคม 2533ขณะ จดทะเบียนสมรส นาย บุญหลง มี สติสัมปชัญญะ สมบูรณ์ ทุกประการ การ สมรส ระหว่าง จำเลย กับ นาย บุญหลง เป็น อัน สิ้นสุด ลง นับแต่ วันที่ นาย บุญหลง ได้ ถึงแก่กรรม ก่อน โจทก์ ฟ้องคดี นี้ โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้ เป็น พับ
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน ค่า ทนายความ ชั้นอุทธรณ์ ให้ เป็น พับ
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า ศาล มีอำนาจที่ จะ ยก ข้อกฎหมาย เรื่อง อำนาจฟ้อง ซึ่ง เป็น ข้อกฎหมาย อัน เกี่ยว ด้วยความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ขึ้น วินิจฉัย โดย มิได้ มี การ ตั้ง เป็นประเด็น แห่ง คดี ไว้ ได้ หรือไม่ เห็นว่า ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 142(5) บัญญัติ ว่า “ใน คดี ที่ อาจ ยก ข้อกฎหมายอัน เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ขึ้น อ้าง ได้ นั้น เมื่อ ศาลเห็นสมควร ศาล จะ ยก ข้อ เหล่านั้น ขึ้น วินิจฉัย แล้ว พิพากษาคดี ไป ก็ ได้ “ซึ่ง ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว เป็น การ ให้ อำนาจศาล ที่ จะ พิจารณา ว่า เมื่อมี ข้อกฎหมาย อัน เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน แล้ว ควร ที่ จะยก ข้อกฎหมาย นั้น ขึ้น วินิจฉัย หรือไม่ ก็ ได้ แม้ จะ ไม่ได้ มี การ ยกขึ้นว่า กัน มา แล้ว ใน ศาลชั้นต้น ก็ ตาม ศาลล่าง ทั้ง สอง จึง มีอำนาจ ที่ จะ ยกข้อกฎหมาย ดังกล่าว ขึ้น วินิจฉัย เรื่อง อำนาจฟ้อง ของ โจทก์ ก็ ได้ส่วน ใน ปัญหา ที่ว่าการ กระทำ ของ จำเลย นั้น เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ โจทก์หรือไม่ เห็นว่า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501บัญญัติ ว่า การ สมรส ย่อม สิ้นสุด ลง ด้วย ความตาย การ หย่า หรือ ศาล พิพากษาให้ เพิกถอน เท่านั้น ฉะนั้น การ สมรส ที่ จะ เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ใน ฐานะ เป็น ทายาท ของ บิดา คู่สมรส เดิม อัน จะ ก่อ ให้ เกิด สิทธิ หรือ อำนาจที่ จะ ฟ้อง ขอให้ ศาล พิพากษา ว่า เป็น โมฆะ ได้ ก็ ต่อเมื่อ การ สมรส ระหว่างบิดา โจทก์ กับ จำเลย ยัง คง มี อยู่ แต่ คดี นี้ ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่าบิดา โจทก์ ได้ ถึงแก่กรรม ไป แล้ว ก่อน โจทก์ ฟ้อง การ สมรส ระหว่าง บิดา โจทก์กับ จำเลย ได้ ขาด จาก กัน เพราะ เหตุ บิดา โจทก์ ถึงแก่ความตาย ตาม มาตรา 1501แล้ว เมื่อ การ สมรส ของ บิดา โจทก์ กับ จำเลย ขาด จาก กัน ขณะ โจทก์ ฟ้องคดี นี้การ สมรส นั้น จึง ไม่มี ผล กระทบ กระเทือน หรือ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ใน ฐานะ ทายาท ของ บิดา อันเป็น คู่สมรส เดิม แต่อย่างใด และ ตาม คำฟ้องของ โจทก์ ก็ มิได้ กล่าว แสดง ว่า จำเลย ได้ กระทำ สิ่ง ใด อันเป็น การ โต้แย้งเกี่ยวกับ สิทธิ หรือ หน้าที่ ของ โจทก์ เช่น สิทธิ ใน ครอบครัว สิทธิ ใน มรดกของ บิดา โจทก์ ผู้ตาย หรือ สิทธิ อื่น ใด ซึ่ง จะ เป็นเหตุ ให้ โจทก์ มีอำนาจฟ้อง จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ถือว่าตาม คำฟ้อง ไม่มี ข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับ สิทธิ หรือ หน้าที่ ของ โจทก์โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง
พิพากษายืน