แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การมีไม้สักไม่เป็นความผิดเป็นความผิดต่อเมื่อชักลากความผิดฐานชักลากไม้สักมีอายุความ 5 ปี นับแต่วันชักลาก เมื่อความผิดขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว โทษริบทรัพย์ก็ขาดอายุความตามไปด้วย.
ย่อยาว
ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยได้ชักลากปลายไม้สัก ๒ ท่อนกับไม้สักอีก ๗ ต้น เมื่อราว ๙ ปีมาแล้ว และได้ชักลากไม้ ๑ ต้นซึ่งยังสดอยู่มนระยะเวลาตัดใหม่ ๆ โดยไม่ได้เสียค่าตอและภาษี ไม่มีดวงตราอนุญาตให้ชักลากได้ตามกฎหมายขอให้ลงโทษ
ศาลชั้นต้นวินิฉัยว่าอายุความที่จะฟ้องร้องในคดีนี้มีกำหนดเพียง ๕ ปี นับแต่วันชักลาก ฉะนั้นปลายไม้สัก ๒ ท่อน กับไม้ ๗ ต้นขาดอายุความฟ้องร้อง จึงลงโทษจำเลยฉะเพาะไม้ ๑ ต้นที่ยังสดอยู่เท่านั้นกับให้ริบไม้ทั้งหมด.
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์แก้ฉะเพาะข้อริบไม้สักของกลางว่า ให้ริบแต่ไม้สักที่ยังสดอยู่ต้นเดียว นอกนั้นยืน แต่มีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์นายหนึ่งมีความเห็นแย้งว่า คดีของโจทก์ไม่ขากอายุความตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๙๐๔ – ๙๐๕ – ๙๐๖/๒๔๗๘.
โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าในคดีนี้เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความเป็นพิเศษ คดีก็ย่อมตกอยู่ในหลักอายุความทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษระอาญามาตรา ๗๘ กฎหมายมิได้บัญญัติว่า ผู้ใดมีไม้สักเป็นผิด แต่บัญญัติให้เป็นผิดเมื่อชักลาก คดีนี้ไม้ตกอยู่ที่จำเลยกว่า ๕ ปี จึงเห็นได้ว่าจำเลยทำผิดมากกว่า ๕ ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความ และเห็นว่าการขอให้ริบทรัพย์เป็นโทษส่วนควบ เมื่อคดีที่กล่าวหาขาดอายุความตามกฎหมายแล้วโทษอุปกรณ์ก็ย่อมรับไว้พิจารณาด้วยไม่ได้ดุจเดี่ยวกัน จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์