แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
พนักงานอัยการเคยฟ้องโจทก์ผู้เป็นมารดาจำเลยในเรื่องขอแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยอ้างว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์กึ่งหนึ่งเป็นการฟ้องแทนจำเลยเพราะจำเลยต้องห้ามฟ้องบุพการีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1562ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโดยฟังว่าจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์คำพิพากษาย่อมผูกพันจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคแรกเมื่อประเด็นพิพาทในคดีนี้มีว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคดีจึงไม่จำต้องสืบพยานโจทก์จำเลยอีกต่อไป โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งแปลงโดยให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมแทนด้วยขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่พิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336เป็นกรณีไม่มีอายุความและหาใช่เป็นการฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา240ไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ศาล พิพากษา เพิกถอน ชื่อ จำเลย ที่ ถือ กรรมสิทธิ์รวม ออกจาก โฉนด ที่ดิน เลขที่ 27362 และ ให้ ที่ดิน ดังกล่าว ตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของ โจทก์
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เพิกถอน ชื่อ จำเลย ออกจาก เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 27362 ตำบล คลองกุ่ม อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร (ที่ดินพิพาท ) เนื้อที่ 25 ไร่ 1 งาน 19 ตารางวาและ ให้ ใส่ ชื่อ โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ แทน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้นดำเนินการ พิจารณา และ พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ตาม คำฟ้อง คำให้การ และที่ โจทก์ จำเลย แถลงรับ กัน ฟังได้ ว่า มูลคดี เดียว กัน นี้ จำเลย เคยร้องขอ ให้ พนักงานอัยการ กรมอัยการ ฟ้องโจทก์ คดี นี้ เป็น จำเลยอ้างว่า จำเลย มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท กึ่งหนึ่ง ขอให้ โจทก์รังวัด แบ่งแยก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 27362 ให้ เป็น ของ จำเลย 25 ไร่1 งาน 19 ตารางวา และ คดี ดังกล่าว ศาลฎีกา ได้ มี คำพิพากษาถึงที่สุดใน คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ 379/2534 พิพากษายืน ตาม คำพิพากษา ศาลล่างทั้ง สอง ให้ยก ฟ้อง โดย ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย มี ชื่อ ถือ กรรมสิทธิ์ใน ที่ดินพิพาท แทน โจทก์ เพื่อ ให้การ โอน ขณะ นั้น เป็น ไป ตาม ประมวล กฎหมายที่ดิน ซึ่ง ห้าม แต่ละ บุคคล มี ที่ดิน เกินกว่า 50 ไร่ เท่านั้นนาย ทองหล่อ ทรงสอาด ตา ของ จำเลย หา ได้ มี เจตนา ยก กรรมสิทธิ์ ที่ดิน พิพาท ให้ แก่ จำเลย ไม่ คดี มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์แต่เพียง ว่า ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง งดสืบพยาน โจทก์ และ พยาน จำเลย ชอบ ด้วยกฎหมาย หรือไม่ เห็นว่า คดี ดังกล่าว พนักงานอัยการ กรมอัยการเป็น โจทก์ ฟ้อง เพื่อ ประโยชน์ ของ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562 อันเป็น การ ฟ้อง แทน จำเลย ซึ่ง ต้องห้าม มิให้ ฟ้องโจทก์ซึ่ง เป็น บุพการี คำพิพากษา ศาลฎีกา คดี ดังกล่าว จึง มีผล ผูกพัน จำเลยซึ่ง เป็น คู่ความ ใน คดี นี้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคแรก เมื่อ ปรากฏว่า คดี ดังกล่าว ศาลล่าง ทั้ง สองพิพากษา ต้อง กัน ว่า จำเลย มี ชื่อ ถือ กรรมสิทธิ์ ใน โฉนด ที่ดินพิพาทแทน โจทก์ และ ศาลฎีกา พิพากษายืน ผล แห่ง คำพิพากษา ศาลฎีกา ย่อม ผูกพันคู่ความ เมื่อ ประเด็น พิพาท ใน คดี นี้ มี เพียง ว่า โจทก์ หรือ จำเลยเป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท เท่านั้น คดี ก็ ไม่จำเป็น ต้องสืบพยานโจทก์ และ พยาน จำเลย อีก ต่อไป เพราะ ผล แห่ง คำพิพากษา ศาลฎีกาดังกล่าว ผูกพัน คู่ความ ชัดเจน แล้ว ว่า จำเลย มี ชื่อ ถือ กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แทน โจทก์ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ประเด็น พิพาท ว่า โจทก์หรือ จำเลย ใคร มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่พิพาท สมควร ฟัง พยานหลักฐาน ทั้ง สอง ฝ่ายให้ สิ้น กระแสความ เสีย ก่อน และ พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้น พิจารณา พิพากษา ใหม่ นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกาของ โจทก์ ฟังขึ้น
สำหรับ ประเด็น ตาม คำ แก้ ฎีกา ของ จำเลย ที่ ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ แล้ว นั้น เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง อ้างว่า โจทก์ เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ทั้ง แปลง แต่ ให้ จำเลย ถือ กรรมสิทธิ์รวม แทนโจทก์ ด้วย และ ขอให้ เพิกถอน ชื่อ จำเลย ที่ ถือ กรรมสิทธิ์รวม ออกจาก โฉนดจึง เป็น กรณี ที่ โจทก์ ใช้ สิทธิ ติดตาม เอาคืน ซึ่ง ทรัพย์สิน ของ ตน จากจำเลย ผู้ ไม่มี สิทธิ จะ ยึดถือ ไว้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ซึ่ง ไม่มี กำหนด อายุความ จึง ไม่อยู่ ใน บังคับ ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ที่ ให้ มี กำหนด อายุความ10 ปี ดัง ที่ จำเลย กล่าวอ้าง ใน คำ แก้ ฎีกา และ กรณี เช่นนี้ ก็ ไม่ เข้าเกณฑ์ พ้น อายุความ ห้าม มิให้ ฟ้องร้อง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 240 เพราะ อายุความ ห้าม ฟ้อง ตาม มาตรา 240 ที่ กำหนด ห้าม มิให้ฟ้องร้อง เมื่อ พ้น ปี หนึ่ง นับแต่ เวลา ที่ เจ้าหนี้ ได้ รู้ ต้นเหตุอันเป็น มูล ให้ เพิกถอน หรือ พ้น 10 ปี นับแต่ ได้ ทำนิติกรรม นั้นใช้ เฉพาะ สำหรับ กรณี ฟ้อง เพิกถอน การ ฉ้อฉล ตาม ประมวล กฎหมาย แพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 237 เท่านั้น แต่ คดี นี้ เป็น การ ฟ้อง เพิกถอน ชื่อจำเลย ที่ ถือ กรรมสิทธิ์ แทน ออกจาก โฉนด ที่ดินพิพาท อันเป็น การ ใช้ สิทธิติดตาม เอาคืน ซึ่ง กรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์สิน ของ โจทก์ หาใช่ เป็น การ ฟ้องเพิกถอน การ ฉ้อฉล ไม่ คำ แก้ ฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น ทุก ข้อ ”
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น