คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

กฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ให้จำเลยจ่ายบำเหน็จและเป็นผู้ออกภาษีเงินได้ส่วนบุคคลให้นั้นระบุไว้ชัดเจนว่าสำหรับพนักงานประจำที่มิใช่ฝ่ายจัดการโจทก์เป็นพนักงานฝ่ายจัดการจะนำข้อบังคับนี้มาใช้ไม่ได้จึงไม่อาจอ้างสิทธิว่าจำเลยจะต้องออกภาษีเงินได้ให้จากข้อบังคับนี้ เงินสมทบกองทุนเงินสะสมเป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างกฎหมายแรงงานมิได้บังคับให้ปฏิบัติโจทก์จำเลยมีสิทธิตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้หาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่เมื่อโจทก์ทำบันทึกขณะลาออกจากงานว่านอกจากเงินตอบแทนที่จำเลยให้โจทก์แล้วโจทก์จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจากจำเลยอีกโจทก์จึงต้องผูกพันตามเอกสารนั้น.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง จำเลย ตั้งแต่ วันที่ 2 มกราคม2502 ทำงาน ใน แผนกช่าง จำเลย กำหนด เงื่อนไข สำหรับ การ จ่าย บำเหน็จกรณี พนักงาน ทำงาน มา ครบ 10 ปี ขึ้นไป และ ถูก เลิกจ้าง โดย ไม่ มีความผิด จำเลย จะ จ่าย บำเหน็จ ให้ เท่ากับ อัตรา ค่าจ้าง สุดท้ายคูณด้วย จำนวน ปี บริบูรณ์ ที่ ได้ ทำงาน มา กับ บริษัท และ จำเลยเป็น ผู้ออก ภาษี เงินได้ ส่วน บุคคล ให้ นอกจาก นี้ จำเลย ได้ ตั้งกองทุน เงิน สะสม โดย รับ พนักงาน ลูกจ้าง ของ บริษัท จำเลย รวมทั้งโจทก์ เข้า เป็น สมาชิก เก็บเงิน จาก สมาชิก ร้อยละ 10 ของ เงินเดือนทุก เดือน เป็น เงิน สะสม และ จำเลย จะ จ่าย ผลประโยชน์ คืน ให้ แก่สมาชิก และ ครอบครัว เมื่อ ตาย ครบ เกษียณ ทุพพลภาพ หรือ ลาออก จากบริษัท
โจทก์ ทำงาน กับ จำเลย ครั้ง สุดท้าย ดำรง ตำแหน่ง เป็น วิศวกร บำรุงรักษา โรงงาน ผลิต ผงซักฟอก ค่าจ้าง เดือนละ 49,417 บาท ค่า น้ำมัน รถเดือนละ 1,750 บาท จำเลย ให้ โจทก์ หยุด พักผ่อน ประจำปี ปีละ 1เดือน โจทก์ เป็น สมาชิก กองทุน เงิน สะสม ดังกล่าว เลขที่ 7785โจทก์ จ่าย เงิน เข้า กองทุน เงิน สะสม ตั้งแต่ เข้า เป็น สมาชิกเท่ากับ ร้อยละ 10 ของ เงินเดือน โดย นำ เข้า บัญชี เอ และ จำเลยจะ ต้อง นำ เงิน เท่ากับ จำนวน เงิน ที่ โจทก์ จ่าย แต่ละ เดือน อีกจำนวน หนึ่ง เข้า กองทุน เงิน สะสม ใน บัญชี บี (เงินสมทบ) เพื่อจ่าย ให้ แก่ โจทก์ ตาม เงื่อนไข ต่อมา ประมาณ กลางปี 2524 จำเลยจ่าย เงิน กองทุน สะสม ใน ส่วน ยอดเงิน สะสม ใน บัญชี เอ คืน ให้ แก่โจทก์ และ สมาชิก ส่วน เงิน สมทบ ของ กองทุน เงิน สะสม (บัญชีบี)จำเลย ยัง มิได้ จ่าย ให้ แต่ จำเลย คง นำ เงิน เข้า สมทบ ใน บัญชีดังกล่าว ต่อไป จำเลย แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ว่า โจทก์ มี สิทธิ ได้ รับเงิน สมทบ เมื่อ วันที่ 31 ธันวาคม 2525 เป็น เงิน 968,999 บาท 47สตางค์ ส่วน ยอดเงิน สมทบ ใน พ.ศ. 2526 และ เดือน มกราคม 2527 จำเลยมิได้ แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ โจทก์ คำนวณ แล้ว เป็น เงิน สมทบ ที่ โจทก์มี สิทธิ ได้ เมื่อ ออก จาก งาน เป็น เงิน 1,219,048 บาท 60 สตางค์
เมื่อ เดือน มกราคม 2527 จำเลย บังคับ ให้ โจทก์ ยื่น ใบลาออก จากงาน โดย โจทก์ มิได้ กระทำ ความผิด จำเลย ขู่บังคับ ว่า หาก โจทก์ไม่ ลาออก เอง จำเลย จะ ไล่ออก โจทก์ เกรงว่า หาก ให้ จำเลย ไล่ออกจะ เป็น การ เสื่อมเสีย ชื่อเสียง ของ โจทก์ ต่อ การ หา งาน ใหม่จึง ยอม ตาม ที่ จำเลย เสนอ โจทก์ เป็น พนักงาน ทำงาน มา ครบ 10 ปีขึ้นไป ถูก เลิกจ้าง โดย ไม่ มี ความผิด โจทก์ มี สิทธิ ได้ รับบำเหน็จ เพิ่ม จาก ค่า ชดเชย ซึ่ง ระบุ ไว้ ใน กฎ และ ข้อบังคับเกี่ยวกับ การ ทำงาน และ จำเลย ต้อง ออก ภาษี เงินได้ ส่วน บุคคล ให้แต่ จำเลย ไม่ ยอม จ่าย เงิน ภาษี ดังกล่าว แทน โจทก์ จำนวน 996,310บาท และ จำเลย ไม่ จ่าย เงิน ชดเชย วัน หยุด พักผ่อน ประจำ ปี ย้อนหลังของ ปี 2526 อัน เป็น ปี สุดท้าย แห่ง การ ทำงาน ซึ่ง โจทก์ ไม่ ได้หยุด พักผ่อน ประจำ ปี เลย โจทก์ มี สิทธิ ได้ รับ เงิน ชดเชย วันหยุด พักผ่อน ประจำ ปี จาก จำเลย เป็น เงิน 51,167 บาท นอกจาก นี้จำเลย ไม่ จ่าย เงิน สมทบ กองทุน เงิน สะสม แก่ โจทก์ จำนวน 1,219,148บาท 60 สตางค์ จำเลย นำ บันทึก การ จ่ายเงิน ให้ โจทก์ ลงนาม หากโจทก์ ไม่ ลงนาม แล้ว จำเลย ขู่ ว่า จะ ไม่ จ่าย เงิน ใดๆ แก่ โจทก์โจทก์ จำต้อง ยอม ลงชื่อ ใน บันทึก นั้น บันทึก ดังกล่าว ตก เป็น โมฆะเงิน ที่ จำเลย จ่าย ให้ โจทก์ จ่ายเฉพาะ บางส่วน จำเลย มิได้ จ่ายเงิน ค่า ภาษี เงินได้ ส่วน บุคคล ใน เงิน บำเหน็จ แทน โจทก์ เงิน ชดเชยวันหยุด พักผ่อน ประจำปี และ เงิน สมทบ กองทุน เงิน สะสม ตาม ฟ้องส่วน ค่า ชดเชย และ เงิน บำเหน็จ จำเลย คิดจาก เงินเดือน เดือนละ49,417 บาท มิได้ คิด จาก ค่าจ้าง สุดท้าย คือ เดือนละ 51,167 บาทจำเลย จ่าย ค่า ชดเชย และ เงิน บำเหน็จ ขาด ไป จำนวน 94,500 บาทจึง ฟ้อง ขอ ให้ จำเลย ชำระ เงิน ค่า ภาษี เงินได้ บุคคล ที่ หัก จากโจทก์ ไป จำนวน 996,310 บาท ค่า ทำงาน ใน วัน หยุด พักผ่อน ประจำ ปีจำนวน 51,167 บาท เงิน สมทบ จาก กองทุน เงิน สะสม จำนวน 1,219,048บาท 60 สตางค์ และ ค่า ชดเชย กับ เงิน บำเหน็จ ซึ่ง จำเลย คำนวณ ผิดพลาด อีก จำนวน 94,500 บาท รวม เป็น เงิน ทั้งสิ้น 2,361,025 บาท60 สตางค์ แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7 ครึ่ง ต่อปี นับแต่วันฟ้อง จนกว่า ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ จำเลย ตั้งแต่ วันที่2 มกราคม 2502 ทำงาน ใน แผนกช่าง ตำแหน่ง พนักงาน จน ถึง วันที่ 1พฤษภาคม 2507 โจทก์ ได้ รับ การ เลื่อน ตำแหน่ง เป็น ผู้จัดการ ฝึกงานอัน เป็น ตำแหน่ง ของ พนักงาน ฝ่าย จัดการ ของ บริษัท จำเลย โจทก์ทำ สัญญา ใหม่ กับ จำเลย เมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2507 มี สาระ สำคัญว่า โจทก์ มี สิทธิ เข้า เป็น สมาชิก ของ กองทุน เงิน สะสม ของ จำเลยข้อ ตกลง ที่ ระบุ ใน สัญญา ฉบับนี้ จะ มี ผล ใช้ บังคับ แทน ข้อ ตกลงหรือ สภาพ การจ้าง ใดๆ ที่ เคย ผูกพัน หรือ มี ข้อบังคับ ระหว่างโจทก์ กับ จำเลย ก่อน หน้า วัน ที่ ทำ สัญญา นี้ กรณี โจทก์ ถูกเลิกจ้าง จำเลย จะ จ่าย เงิน บำเหน็จ ให้ นอกเหนือ จาก ผล ประโยชน์ตาม ที่ ระบุ ใน กองทุน เงิน สะสม ของ บริษัท จำเลย โดย ให้ คำนวณจาก เงินเดือน ก่อน ที่ โจทก์ ได้ รับ การ เลื่อน ตำแหน่ง 6,500บาท และ อายุ งาน ของ โจทก์ นับถึง วันที่ ได้ รับ การ เลื่อน ตำแหน่ง5 ปี 4 เดือน ส่วน หลักเกณฑ์ การ คำนวณ เงิน บำเหน็จ ที่ โจทก์ อ้างนั้น ใช้ เฉพาะ กับ พนักงาน ใน ตำแหน่ง ผู้จัดการ ทุกคน เพื่อ ใช้ แทนผลประโยชน์ อื่นๆ ที่ ผู้จัดการ เคย ได้ ใน กรณี ของ การ เกษียณ อายุเท่านั้น โดย จะ จ่าย ให้ หลังจาก หัก ภาษี เงินได้ แล้ว มิใช่ เป็นการ คำนวณ เงิน บำเหน็จ ที่ ให้ กับ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ ทำงาน กับบริษัท จำเลย ทุกคน เพราะ สำหรับ พนักงาน ที่ ไม่ ใช่ ฝ่าย จัดการบริษัท จำเลย ได้ มี กฎ ข้อบัง และ หลักเกณฑ์ การ คำนวณ ที่ ชัดแจ้งอยู่ แล้ว ใน ระยะ เวลา ที่ โจทก์ เป็น พนักงาน ของ จำเลย จำเลย ยังมิได้ ประกาศ เกี่ยวกับ เงิน บำเหน็จ ดังกล่าว เป็น ลายลักษณ์ อักษรเป็น ทางการ ดังนั้น การ จ่าย เงิน บำเหน็จ ดังกล่าว ให้ กับ พนักงานที่ เป็น ผู้จัดการ ของ บริษัท จำเลย ก็ ย่อม อยู่ ใน ดุลยพินิจ ของจำเลย
ใน พ.ศ. 2525 จำเลย ประกาศ เปลี่ยนแปลง โครงการ เงินสะสม โดย จ่ายเงิน สมทบ ส่วน ที่ เป็น ของ พนักงาน คืน ให้ กับ พนักงาน แต่ เงินสมทบ ส่วน ของ บริษัท ให้ คง ไว้ ใน กรณี ที่ ผู้จัดการ ลาออก เองถูก ปลดออก โดย ไม่มี ความผิด หรือ ครบเกษียณ อายุ และ ได้ เปลี่ยนชื่อโครงการ เป็น ผลประโยชน์ ของ ลูกจ้าง ตอน ปลดเกษียณ โจทก์ เคย เป็นสมาชิก กองทุน เงิน สะสม หรือ ผลประโยชน์ ของ ลูกจ้าง ตอน ปลดเกษียณจริง ยอดเงิน ใน บัญชี เมื่อ สิ้นเดือน ธันวาคม 2526 เป็น จำนวน1,180,653 บาท 28 สตางค์ หาก นับ ยอดเงิน ดังกล่าว เดือน มกราคม2527 อีก จำนวน 4,941 บาท แล้ว จะ เป็น เงิน เท่ากับ 1,185,594 บาท28 สตางค์
โจทก์ ทำงาน กับ จำเลย ตำแหน่ง สุดท้าย คือ วิศวกร บำรุง รักษาเงินเดือน 49,417 บาท แต่ เงิน ค่า น้ำมัน รถ เดือนละ 1,750 บาท นั้นมิใช่ ค่าจ้าง เป็น เงิน ที่ จำเลย จ่ายคืน ให้ โจทก์ สำหรับ ค่าน้ำมัน รถ ที่ โจทก์ จ่าย ไป ล่วงหน้า ใน การ ใช้ รถ เพื่อ ธุรกิจของ จำเลย จำนวน เงิน แต่ละ เดือน จะ ไม่เท่า กัน เมื่อ วันที่ 23ธันวาคม 2525 โจทก์ ขอ ลาออก จาก บริษัท จำเลย โดย ให้ มี ผล ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2527 เพื่อ รับ เงิน ผลประโยชน์ ใน การ ออกจาก งานที่ บริษัท จำเลย ได้ เสนอ ให้ เป็น พิเศษ มากกว่า เงิน ผลประโยชน์ที่ โจทก์ พึง ได้ ใน กรณี ที่ โจทก์ ลาออก เอง ถูก เลิกจ้าง หรือเกษียณอายุ ตาม ปกติ ซึ่ง จำเลย จะ จ่าย ให้ หลังจาก หัก ภาษี เงินได้ส่วน บุคคล แล้ว ส่วน โครงการ เงิน บำเหน็จ ที่ โจทก์ กล่าวอ้างว่า บริษัท จำเลย เป็น ผู้ออก ภาษี เงินได้ ให้ นั้น เป็น โครงการเงิน บำเหน็จ ของ พนักงาน ที่ ไม่ ใช่ ฝ่าย จัดการ จำเลย ไม่ มีหน้าที่ จ่าย เงิน ภาษี เงินได้ ให้แก่ โจทก์ ทั้งสิ้น โจทก์ สมัครใจลาออก เอง และ ได้ ลง ลายมือชื่อ รับ เงิน ผล ประโยชน์ ดังกล่าว จำเลยไม่ ได้ ทำ การ ขู่ บังคับ ให้ โจทก์ ลาออก แต่ เสนอ ที่ จะ ให้ผลประโยชน์ พิเศษ กับ โจทก์ ถ้า โจทก์ สมัครใจ ลาออก เพราะ ทัศนคติใน การ ทำงาน และ ผล การ ทำงาน ของ โจทก์ ไม่ เป็น ไป ตาม คาดหมายเนื่องจาก โจทก์ ทำงาน กับ จำเลย มา เป็น เวลา นาน จำเลย ไม่ ต้องการปลด โจทก์ ออกจาก งาน จึง เสนอ ผลประโยชน์ พิเศษ ดังกล่าว ข้างต้นให้ โจทก์ ซึ่ง โจทก์ ก็ ตกลงใจ ขอ ลาออก นอกจากนี้ จำเลย ยัง จ่ายเงิน รางวัล พิเศษ แก่ โจทก์ ที่ ทำงาน มา ครบ 25 ปี เป็น จำนวน อีก49,417 บาท และ อนุญาต ให้ โจทก์ หยุดงาน ไป ได้ เลย เพื่อ เป็น การชดเชย วันหยุด พักผ่อน ประจำ ปี ใดๆ ที่ โจทก์ ยัง ไม่ ได้ หยุดใน เดือน มกราคม 2527 โจทก์ มิได้ ไป ทำงาน ให้ กับ จำเลย รวม เป็นเวลา ที่ โจทก์ หยุด มากกว่า หนึ่ง เดือน จำเลย ไม่ มี หน้าที่ จ่ายเงิน ค่า ชดเชย วันหยุด พักผ่อน ประจำปี ให้ กับ โจทก์ สำหรับ เงินที่ จำเลย จ่าย ให้ โจทก์ กรณี โจทก์ ลาออก นั้น เป็น เงินเดือน ของเดือน มกราคม 2527 1 เดือน จำนวน 49,417 บาท เงิน บำเหน็จ จาก วันเริ่ม ทำงาน ถึง อายุ 35 ปี เท่ากับ 10 X 1.5 X 49,417 = 741,255 บาทเงิน บำเหน็จ จาก อายุ 36 ปี ถึง 50 ปี เท่ากับ 15 X 2 X 49,417 =1,482,510 บาท เงิน แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า 3 เดือน เท่ากับ 3 X49,417 = 148,251 บาท ค่า ชดเชย 6 เดือน เท่ากับ 6 X 49,417 = 296,502บาท รวม เป็น เงิน ทั้งสิ้น 2,717,935 บาท หนังสือ บันทึก การ รับ เงินดังกล่าว โจทก์ สัญญา ว่า จะ ไม่ ใช้ สิทธิ เรียกร้อง เงิน หรือผลประโยชน์ อื่นใด จาก จำเลย ใน ทุก กรณี ย่อม มี ผล บังคับ กัน ทางกฎหมาย มิได้ เป็น โมฆะ ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ พิพากษา ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า โจทก์ ลาออก จาก งาน ด้วยความ สมัครใจ มิใช่ เนื่องจาก จำเลย เลิก จ้าง หน้าที่ สุดท้าย โจทก์เป็น พนักงาน ประจำ ฝ่าย จัดการ ของ จำเลย กฎ และ ข้อบังคับ เกี่ยวกับการ ทำงาน และ ข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การ จ้าง สำหรับ พนักงาน ประจำที่ มิใช่ ฝ่าย จัดการ ไม่ ใช้ กับ พนักงาน ประจำ ระดับ หัวหน้างานและ ผู้จัดการ จำเลย ไม่ มี ความ ผูกพัน ต้อง ใช้ กฎ ข้อ บังคับดังกล่าว กับ โจทก์ สิทธิ ของ โจทก์ ที่ จะ ให้ จำเลย ชำระ ภาษี เงินได้แทน จึง ไม่ มี จำเลย ไม่ ต้อง จ่าย ภาษี เงินได้ แก่ โจทก์ เงิน สมทบสำหรับ กองทุน เงิน สะสม นั้น เป็น เงิน ที่ จำเลย สมัครใจ จ่าย ให้มิใช่ เงิน ที่ กฎหมาย คุ้มครอง แรงงาน บังคับ ให้ จ่าย โจทก์ ย่อมสละสิทธิ เรียกร้อง เงิน ดังกล่าว ได้ การ สละสิทธิ เรียกร้อง ย่อมผูกพัน โจทก์ โจทก์ ลาออก จาก งาน มิใช่ จำเลย เลิกจ้าง จึง ไม่ ต้องจ่าย ค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุด พักผ่อน ประจำ ปี พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า กฎ และ ข้อ บังคับ เกี่ยวกับการ ทำงาน ตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 2 ได้ ระบุ ไว้ ชัดเจน ว่าสำหรับ พนักงาน ประจำ ที่ มิใช่ ฝ่าย จัดการ เมื่อ โจทก์ เป็น พนักงานฝ่าย จัดการ จะ นำ ข้อ บังคับ ดังกล่าว มา ใช้ ได้ อย่างไร ที่ โจทก์อ้างว่า สภาพ การจ้าง ระหว่าง โจทก์ จำเลย ไม่ ได้ ทำ เป็น หนังสือก็ ฝ่าฝืน ต่อ ความ จริง เพราะ ตาม เอกสาร ท้าย คำ ให้การ หมายเลข 1ปรากฏ ว่า โจทก์ จำเลย มี สัญญาจ้าง ต่อกัน สัญญา ดังกล่าว ใช้ บังคับได้ เมื่อ ได้ วินิจฉัย แล้ว ว่า สภาพ การจ้าง ตาม เอกสาร ท้ายฟ้องหมายเลข 2 ไม่ ใช้ บังคับ ระหว่าง โจทก์ จำเลย และ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ลาออก มิใช่ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ จะ อ้าง สภาพ การจ้างตาม เอกสาร ดังกล่าว มา บังคับ ให้ จำเลย ออก ภาษี เงินได้ ให้ ไม่ ได้
เงิน สมทบ กองทุน เงิน สะสม ตาม โครงการ ผลประโยชน์ ทดแทน เป็นข้อตกลง ระหว่าง นายจ้าง กับ ลูกจ้าง กฎหมาย แรงงาน มิได้ บังคับ ให้ปฏิบัติ โจทก์ จำเลย มี สิทธิ ตกลง กัน เป็น อย่างอื่น ได้ หา เกี่ยวกับความ สงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ไม่ โจทก์ ต้อง ผูกพัน ตาม เอกสารท้าย คำให้การ หมายเลข 8 ดัง ที่ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ไว้ ชอบ แล้ว
พิพากษายืน.

Share