คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2496

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ฟ้องใช้ถ้อยคำว่า “จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 อีกฝ่ายหนึ่ง ต่างสมัครใจเข้า
วิวาทต่อสู้ทำร้ายร่างกาย ซึ่งกันและกัน โดยจำเลยที่ 1 – 2 สมคบกันใช้เหล็กแหลมแทงทำร้ายจำเลยที่ 3 บาดเจ็บสา หัส จำเลยที่ 3 -4 สมคบกันใช้กำลังชกต่อยทำร้ายจำเลยที่ 1 – 2 ถึงบาดเจ็บทุพพลภาพ” ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.
ลักษณะอาญามาตรา 254, 256, นั้น ย่อมถือได้ว่า มีข้อหาว่าจำเลยทำผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 258 ด้วย แม้ ท้ายฟ้องไม่ระบุมาตรา 258 ถ้าทางพิจารณาได้ความจริง ก็ใช้มาตรา 258 ลงแก่จำเลยได้./

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องใช้ถ้อยคำดังนี้ ” จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ ฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ ๓ และจำเลยที่ ๔ อีกฝ่ายหนึ่ง ต่างสมัครใจเข้า วิวาทต่อสู้ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน โดยจำเลยที่ ๑ กับจำเลยที่ ๒ สมคบกันใช้เหล็กแหลมแทงทำร้ายจำเลยที่ ๓ ถูก ตามร่างกายถึงบาดเจ็บสาหัส จำเลยที่ ๓ -๔ สมคบกันใช้กำลังชกต่อยทำร้ายจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ ถึงบาดเจ็บทุพพลภาพ” ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๒๕๔, ๒๕๖.
จำเลยให้การปฎิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ ๑ ผิดตามมาตรา ๒๕๖ จำคุก ๒ ปี จำเลยที่ ๓ -๔ ผิดตามมาตรา ๒๕๔ จำคุกคนละ ๑ ปี ปรับคนละ ๒๐๐ บาท ส่วนจำเลยที่ ๒ ให้ปล่อยตัวไป
จำเลยที่ ๓ – ๔ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกา ปรึกษาคดีแล้ว ฟ้องตามที่ปรากฎอยู่นั้น ไม่หมายความว่า จำเลยทำผิดฐานทำร้ายร่างกาย คำขอที่ระบุกฎหมาย ลักษณะอาญามาตรา ๒๕๔, ๒๕๖ จะใช้แก่คดีนี้ไม่ได้ แต่ฟ้องตามที่ปรากฎอยู่นั้นเท่ากับมีข้อหาว่า จำเลยทำความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๒๕๘ ท้ายฟ้องไม่ระบุมาตรา ๒๕๘ ก็ไม่เป็นอะไร ถ้าพิจารณาได้ความจริง ก็ใช้มาตรา ๒๕๘ ลงแก่ จำเลยได้ ตามแบบอย่างคำพิพากษาฎีกาที่ ๘๕๒/๒๔๙+ และ ๒๔๓/๒๔๙๑.
ฯลฯ
คงพิพากษายืน./

Share