คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2477

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ปล่อยโคให้เข้ากินข้าวกล้าของเขาเป็นผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ค่าเขาฝากคนอื่น 2 คน แม้จะเป็นคนละคราวก็เป็นผิดฐานโฆษนาหมิ่นประมาท วิธีพิจารณาอาชญา ในคดีอาชญาย่อมให้โอกาศแก่จำเลยเปลี่ยนข้อต่อสู้ได้เต็มที่ ธรรมนูญศาล อำนาจศาลฎีกา เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงให้แน่นอน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจชี้ขาดข้อเท็จจริงเสียเองได้

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ขึ้น ๑๒ ค่ำเดือน ๑๐ จำเลยปล่อยโคเ+เข้ากินข้าวกล้าของเจ้าทุกข์ กับโฆษนาหมิ่นประมาทเจ้าทุกข์ด้วย
จำเลยต่อสู้ว่ามารดาเจ้าทุกข์อนุญาตเพราะข้าวกล้านั้นเสียใช้ไม่ได้แล้วข้อโฆษนาหมิ่นประมาทจำเลยปฏิเสธ ครั้นเวลานำสืบจำเลยนำสืบว่า ความจริงจำเลยล่ามโคกินข้าวกล้านำสืบว่า ความจริงจำเลยล่ามโคกินข้าวกล้าวันแรม ๑๒ ค่ำเดือน ๑๐ และมีข้อตกลงกับเจ้าทุกข์ว่าเจ้าทุกข์ต้องถอนข้าวกล้าไปให้พ้นน่าของจำเลยภายในกลางคืนเดือน ๑๐ พ้นไปแล้วจำเลยให้โคกินข้าวกล้านั้นได้
ศาลเดิมเห็นว่าการนำสืบฝืนคำให้การ จึงงดสืบพะยานจำเลยแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ม.๒,๓๒๔ แล ๓๓๙ แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าควรยอมให้จำเลยมีโอกาศต่อสู้คดีเต็มที่จึงย้อนสำนวนให้ศาลเดิมสืบพะยานต่อไป
ศาลเดิมสืบพะยานจำเลยแล้วคงไม่ยอมรับฟังพะยานจำเลยจึงพิพากษาลงโทษจำเลยตามเดิม
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ในคดีอาชญาย่อมให้โอกาศจำเลยต่อสู้คดีได้เต็มภูมิ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยได้ให้การในครั้งแรกอย่างไร แต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยข้อเท็จจริงให้แน่นอนเป็นแต่กล่าวว่าถ้าจะต้องฟังดังจำเลยนำสืบจำเลยก็ไม่มีผิดแล้วพิพากษายกฟ้อง เมื่อเป็นเช่นนี้ศาลฎีกาทรงไว้ซึ่งอำนาจที่จะชี้ขาดข้อเท็จจริงได้ และฟังว่าจำเลยทำผิดตาม ม.๓๒๔ พะยานจำเลยไม่สมข้อต่อสู้ ส่วนข้อโฆษนาหมิ่นประมาทนั้น แม้จำเลยด่าฝากไปกับ ก. และคนละคราวก็ฟังได้ว่าเป็นความผิดตามมาตรา ๓๓๙ ข้อ ๓ จึงพิพากษาลงโทษจำเลยตามศาลเดิม

Share