แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์เกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อปี2524โดยเป็นบุตรนาย ช.ซึ่งมีสัญชาติไทยกับนาง ล. ซึ่งเป็นคนญวนอพยพกรณีไม่ต้องด้วยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่337ลงวันที่13ธันวาคม2515ซึ่งเป็นเรื่องของผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยมีมารดาเป็นคนต่างด้าวโดยไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายแต่ต้องด้วยพระราชบัญญัติสัญชาติฯมาตรา7(1)ที่แก้ไขเพิ่มเติมโจทก์จึงมีสัญชาติไทย
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น บุตร โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย ชัยชิด นาง ลัดดา ซึ่ง เป็น ผู้ มี สัญชาติ ไทย โจทก์ จึง เป็น ผู้ มี สัญชาติ ไทย เมื่อ โจทก์ เกิด แล้ว ประมาณ 10 วัน ผู้แทน โจทก์ ได้ ไป แจ้ง การ เกิด ของโจทก์ ต่อ จำเลย เพื่อ ให้ ออก สูติบัตร ให้ แก่ โจทก์ และ ให้ เพิ่ม ชื่อโจทก์ ลง ใน ทะเบียนบ้าน เลขที่ 171/76 ซึ่ง เป็น ภูมิลำเนา ของ บิดามารดา โจทก์ แต่ จำเลย อ้างว่า โจทก์ เป็น คนต่างด้าว ไม่ยอม ดำเนินการให้ ขอให้ พิพากษา ว่า โจทก์ เป็น ผู้ มี สัญชาติ ไทย ให้ จำเลย รับ แจ้งการ เกิด ของ โจทก์ ออก สูติบัตร ให้ แก่ โจทก์ และ เพิ่ม ชื่อ โจทก์ลง ใน ทะเบียนบ้าน เลขที่ 171/76 ถนน ชยางกูร ตำบลในเมือง อำเภอ เมือง อุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ใช่ บุตร โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของนาย ชัยชิด และ นาง ลัดดา วงศ์วิริยานนท์ แต่ เป็น บุตร ของ นางสาว ตี (ถี) เล ซึ่ง เป็น บุตร คนญวน อพยพ และ ไม่ปรากฏ บิดา ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย โจทก์ จึง ไม่ใช่ ผู้ มี สัญชาติ ไทย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า โจทก์ เป็น ผู้ มี สัญชาติ ไทยให้ มีสิทธิ และ หน้าที่ ตาม กฎหมาย คำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ในเบื้องต้น ว่า โจทก์ เกิด ใน ราชอาณาจักรไทย เมื่อ ปี 2524 เป็น บุตรนาย ชัยชิด วงศ์วิริยานนท์ กับ นาง ลัดดา วงศ์วิริยานนท์ นาย ชัยชิด เป็น ผู้ มี สัญชาติ ไทย มี ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ดังนี้
(3) โจทก์ ไม่ได้ สัญชาติ ไทย เพราะ นาง ลัดดา มารดา โจทก์ มิได้ สมรส กับ นาย ชัยชิด บิดา โจทก์ โดยชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่
สำหรับ ใน ประเด็น สุดท้าย นี้ โจทก์ มี นาง ลัดดา กับ นาย ชัยชิด บิดา มารดา เบิกความ เป็น พยาน ว่า คน ทั้ง สอง ได้ สมรส กัน จดทะเบียนสมรสตาม เอกสาร หมาย จ. 3 ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า จำเลย มิได้ นำสืบ โต้แย้งหรือ หักล้าง การ นำสืบ ของ โจทก์ จึง ฟัง ว่า บิดา มารดา โจทก์ สมรส กันโดยชอบ จำเลย ฎีกา ว่า จำเลย ได้ ต่อสู้ คดี มา แต่ ศาลชั้นต้น และ ได้ ยื่นเอกสาร หมาย ล. 3 และ ล. 4 ประกอบ คำเบิกความ ของ นาย คำพันธ์ ตันโตมะ แสดง ถึง การ ไม่ชอบ ของ การ จดทะเบียนสมรส ระหว่าง บิดา มารดา โจทก์ เห็นว่า ใน คำให้การ ของ จำเลย จำเลย เพียง ปฏิเสธ ว่า โจทก์ มิใช่บุตร ชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย ชัยชิด และ นาง ลัดดา โจทก์ เป็น บุตร คนญวน อพยพ ไม่ปรากฏ บิดา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย จำเลย มิได้ ต่อสู้ ว่าการ สมรส ระหว่าง นาย ชัยชิด กับ นาง ลัดดา ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ การ ที่ จำเลย ยื่น เอกสาร หมาย ล. 3 และ ล. 4 ประกอบ คำเบิกความ ของ นาย คำพันธ์ นั้น ก็ เพียง เพื่อ แสดง ว่า ไม่มี ชื่อ นาง ลัดดา ปรากฏ อยู่ ใน ทะเบียนบ้าน เท่านั้น จึง ไม่ เพียงพอ ที่ จะ ฟัง ว่า ไม่มี การ จดทะเบียนสมรสระหว่าง นาย ชัยชิด กับ นาง ลัดดา หรือ การ จดทะเบียนสมรส ดังกล่าว ไม่ชอบ พยานหลักฐาน โจทก์ จึง มี น้ำหนัก ยิ่งกว่า พยาน จำเลย คดี ฟังได้ ว่านาง ลัดดา มารดา โจทก์ สมรส กับ นาย ชัยชิด บิดา โจทก์ โดยชอบ ด้วย กฎหมาย หรือ กล่าว อีก นัย หนึ่ง ก็ คือ นาง ลัดดา มี สามี ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย คือ นาย ชัยชิด ฉะนั้น แม้ ข้อเท็จจริง จะ ปรากฏว่า นาง ลัดดา มารดา โจทก์ ไม่มี สัญชาติ ไทย แต่ เป็น คนญวน อพยพ แต่ กรณี ของ โจทก์ ก็ ไม่ต้อง ด้วยประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 เพราะ กรณีดังกล่าว เป็น เรื่อง ของ ผู้ที่ เกิด ใน ราชอาณาจักรไทย มี มารดา เป็น คนต่างด้าว โดย ไม่ปรากฏ บิดา ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย หาก แต่ ต้องด้วยพระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(1) กล่าว คือ โจทก์ มีสัญชาติ ไทย และ โจทก์ ยัง คง มี สัญชาติ ไทย ตาม พระราชบัญญัติ สัญชาติพ.ศ. 2508 มาตรา 7(1) ตาม ที่ แก้ไข เพิ่มเติม โดย พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ฎีกา ของ จำเลย ข้อ นี้ จึง ฟังไม่ ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน