คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ผู้ร้องเพิ่งจะมีสิทธิใช้สิทธิหักเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยมาชำระหนี้ของจำเลยที่มีแก่ผู้ร้องหลังจากวันที่ผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งอายัดจากศาลและสิทธิของผู้ร้องดังกล่าวเป็นสิทธิอันเกิดจากความยินยอมของจำเลยที่ให้ไว้ในการฝากเงินตามปกติผู้ร้องหาใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิไม่จึงไม่มีสิทธิจะหักเงินจากบัญชีของจำเลยภายหลังได้รับแจ้งคำสั่งอายัดจากศาลแล้วเพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามในคำสั่งอายัดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา311วรรคสาม สำหรับฎีกาของผู้ร้องที่ว่าศาลควรจะมีคำสั่งไต่สวนคำร้องของผู้ร้องก่อนมีคำสั่งนั้นเมื่อผู้ร้องมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์มาก่อนจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ส่วนที่ผู้ร้องฎีกาว่าศาลล่างทั้งสองสั่งให้ผู้ร้องส่งเงินตามที่อายัดจำนวน4,471,719.19บาทเป็นคำสั่งไม่ชอบเพราะผู้ร้องใช้สิทธิหักเงินไว้เพียง940,126.67บาทส่วนเงินของจำเลยที่มีอยู่ในบัญชีอีก2,155,330.76บาทผู้ร้องจัดส่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วนั้นแม้ผู้ร้องพึ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนผู้ร้องจึงมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง ให้ จำเลย ชำระหนี้ ตามเช็ค จำนวนเงิน4,000,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ระหว่าง พิจารณา ศาลชั้นต้น มี คำสั่งอายัด เงิน จำนวน 4,471,719.19 บาท ของ จำเลย ที่ ฝาก อยู่ ใน ธนาคาร ผู้ร้องบัญชี เลขที่ 050-3-00215-6 ไว้ ชั่วคราว ก่อน พิพากษา ต่อมา ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน 4,000,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 29 มีนาคม 2533 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแต่ จำเลย ไม่ชำระ โจทก์ ขอบังคับคดี โดย เจ้าพนักงาน บังคับคดี เรียก ให้ผู้ร้อง ส่ง เงินฝาก ของ จำเลย ตาม ที่ ศาล สั่ง อายัด ไว้ จำนวนเงิน4,471,719.19 บาท
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า บัญชี เงินฝาก ประจำ พร้อม ดอกเบี้ย ของจำเลย ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2537 จำเลย มีสิทธิ เรียกร้อง เงินใน บัญชี ต่อ ผู้ร้อง จำนวนเงิน 3,095,457.43 บาท และ บัญชี เงินฝาก ประจำของ จำเลย ดังกล่าว จำเลย ยินยอม ให้ เป็น ประกันหนี้ ต่าง ๆ ที่ จำเลยมี ต่อ ผู้ร้อง ซึ่ง ผู้ร้อง ได้ ออก หนังสือ ค้ำประกัน 2 ฉบับ และ ได้จ่ายเงิน จำนวนเงิน 411,500 บาท พร้อม ดอกเบี้ย 124,843.76 บาทรวมเป็น เงิน 536,343.76 บาท แก่ เจ้าหนี้ เมื่อ วันที่ 16 มิถุนายน2535 ผู้ร้อง ได้ แจ้งความ หักกลบลบหนี้ ไป ยัง จำเลย แล้ว กับ จำเลยเป็น หนี้ ผู้ร้อง ตาม คำพิพากษา ตามยอม จำนวน 403,782.91 บาท ถึง กำหนดชำระ วันที่ 17 มกราคม 2537 ผู้ร้อง ได้ แจ้ง การ หักกลบลบหนี้ ไป ยังจำเลย แล้ว หัก แล้ว ยัง คง มี เงินฝาก ประจำ ของ จำเลย เหลือ อยู่2,155,330.76 บาท ผู้ร้อง ได้ ส่ง เงิน ที่ เหลือ ดังกล่าว ให้ เจ้าพนักงานบังคับคดี แล้ว จึง ขอให้ ศาล มี คำสั่ง ให้ ผู้ร้อง ส่ง เงินฝาก ของ จำเลยเฉพาะ ใน ส่วน ที่ เหลือ จาก การ หักกลบลบหนี้ ดังกล่าว มา ยังเจ้าพนักงาน บังคับคดี
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ว่า หนี้ ทั้ง สอง จำนวน ที่ ผู้ร้องใช้ สิทธิ หักกลบลบหนี้ ตาม คำร้อง ใน ชั้น บังคับคดี ไม่มี กฎหมาย ให้หักกลบลบหนี้ ได้ และ ไม่อาจ ถือว่า สิทธิ ของ ผู้ร้อง เป็น สิทธิ อื่นซึ่ง เจ้าหนี้ ใน ฐานะ บุคคลภายนอก อาจ ร้องขอ ให้ บังคับ เหนือทรัพย์สินของ ลูกหนี้ ตาม คำพิพากษา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 จึง ไม่อนุญาต ให้ ผู้ร้อง หักกลบลบหนี้ ตาม ที่ ขอ และ ให้ผู้ร้อง ส่ง เงิน ตาม จำนวน ที่ อายัด ไป ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของผู้ร้อง ข้อ แรก ว่า ผู้ร้อง มีสิทธิ หักกลบลบหนี้ ที่ จำเลย เป็น หนี้ผู้ร้อง ตาม หนังสือ ค้ำประกัน ที่ ผู้ร้อง ค้ำประกัน จำเลย ต่อ บุคคลภายนอกและ หนี้ ตาม คำพิพากษา ตามยอม รวมเป็น เงิน 940,126.67 บาท หรือไม่เห็นว่า แม้ ผู้ร้อง จะ ใช้ คำ ว่า หักกลบลบหนี้ แต่ แท้จริง ก็ คือ การ ที่ผู้ร้อง จะ ใช้ สิทธิ หักเงิน จาก บัญชี เงินฝาก ของ จำเลย มา ชำระหนี้ของ จำเลย ที่ มี แก่ ผู้ร้อง ตาม ที่ จำเลย ตกลง ยินยอม ไว้ นั้นเอง เมื่อปรากฏ ข้อเท็จจริง ว่า ศาลชั้นต้น ได้ มี คำสั่ง อายัด เงินฝาก ของ จำเลยที่ มี อยู่ กับ ผู้ร้อง เมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2534 และ ได้ แจ้ง คำสั่งอายัด ให้ ผู้ร้อง ทราบ ตั้งแต่ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2534 แล้วแต่ หนี้ ค้ำประกัน และ หนี้ ตาม คำพิพากษา ตามยอม จำเลย จะ ต้อง ชำระ แก่ โจทก์ใน วันที่ 16 มิถุนายน 2535 และ วันที่ 17 มกราคม 2537 ตามลำดับผู้ร้อง เพิ่ง จะ มีสิทธิ ใช้ สิทธิ หักเงิน จาก บัญชี ของ จำเลย ใน วัน ดังกล่าวซึ่ง เป็น วัน หลังจาก ที่ ผู้ร้อง ได้รับ ทราบ คำสั่ง อายัด จาก ศาล แล้วและ สิทธิ ของ ผู้ร้อง ใน ฐานะ ที่ เป็น เจ้าหนี้ จำเลย เป็น สิทธิ อัน เกิดจากความ ยินยอม ของ จำเลย ใน การ ฝากเงิน ตาม ปกติ หาใช่ เจ้าหนี้ บุริมสิทธิ ไม่ผู้ร้อง จึง ไม่มี สิทธิ จะ หักเงิน จาก บัญชี ของ จำเลย ภายหลัง ได้รับ แจ้งคำสั่ง อายัด จาก ศาล แล้ว เพราะ เป็น การ ฝ่าฝืน ข้อห้าม ใน คำสั่ง อายัดของ ศาล ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311 วรรคสามตาม นัย คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ 5478/2534 ระหว่าง นาง หนูแดง งามชัย โจทก์ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ผู้ร้อง ห้างหุ้นส่วนจำกัด สมบูรณ์ก่อสร้างสกลนคร กับพวก จำเลย คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ ผู้ร้อง อ้าง มา ไม่ ตรง กับ คดี นี้ ที่ ผู้ร้อง ฎีกา ว่า ศาล น่า จะ มี คำสั่ง ไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง ก่อน จะ มี คำสั่ง นั้น เห็นว่า ผู้ร้อง มิได้ ยกขึ้นอุทธรณ์ มา ก่อน จึง เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบใน ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ให้
ส่วน ที่ ผู้ร้อง ฎีกา ว่า ศาลล่าง ทั้ง สอง สั่ง ให้ ผู้ร้อง ส่ง เงินตาม ที่ อายัด จำนวน 4,471,719.19 บาท เป็น คำสั่ง ไม่ชอบ เพราะ ผู้ร้องใช้ สิทธิ หักเงิน ไว้ เพียง 940,126.67 บาท ส่วน เงิน ของ จำเลย ที่ มี อยู่ใน บัญชี อีก 2,155,330.76 บาท ผู้ร้อง จัด ส่ง ให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดีแล้ว นั้น แม้ ผู้ร้อง เพิ่ง จะ ยกขึ้น อ้าง ใน ชั้นฎีกา นี้ ก็ ตาม แต่ ก็ เป็นปัญหา เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ซึ่ง ผู้ร้อง มีสิทธิจะ ยกขึ้น อ้าง ใน ชั้นฎีกา ได้ ปัญหา ดังกล่าว นี้ ปรากฏ จาก สำนวน ว่าเมื่อ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง อายัด เงิน จำนวน 4,471,719.19 บาท ผู้ร้องได้ ยื่น คำคัดค้าน ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2534 ศาลชั้นต้น สั่ง นัดไต่สวน คำร้อง และ ใน วันนัด ทนายโจทก์ และ ทนาย ผู้ร้อง แถลง ร่วมกัน ว่าสิทธิเรียกร้อง ใน บัญชี เงินฝาก ประจำ เลขที่ 050-3-00215-6 ณ วันที่26 ตุลาคม 2534 จำนวนเงิน 2,400,487.37 บาท ของ จำเลย ให้ ผู้ร้องเป็น ผู้ เก็บรักษา ไว้ โดย ไม่ต้อง ส่งมอบ ต่อ ศาล ตาม รายงาน กระบวนพิจารณาของ ศาลชั้นต้น ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2534 จึง เท่ากับ โจทก์ ยอมรับแล้ว ว่า ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2534 จำเลย มี เงินฝาก ใน บัญชี2,400,487.37 บาท จึง เป็น จำนวนเงิน ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง อายัด ไว้ส่วน ที่ ปรากฏ จาก คำร้องของ ผู้ร้อง ลงวันที่ 14 มีนาคม 2537 ว่าณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2537 สิทธิเรียกร้อง ใน บัญชี เงินฝาก ประจำของ จำเลย ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2537 มี จำนวน 3,095,457.43 บาทจำนวนเงิน ที่ เพิ่ม มาก ขึ้น จาก วันที่ 24 ตุลาคม 2534 น่า จะ เป็น เงินดอกเบี้ย เมื่อ ผู้ร้อง ใช้ สิทธิ หักเงิน ไว้ เพียง 940,126.67 บาทส่วน ที่ เหลือ จำนวน 2,155,330.76 บาท ผู้ร้อง ได้ ส่งมอบ ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดี แล้ว ซึ่ง ตาม คำ แก้ ฎีกา ของ โจทก์ ก็ ยอมรับ ว่าผู้ร้อง ส่ง เงิน ดังกล่าว แก่ เจ้าพนักงาน บังคับคดี แล้ว เมื่อ วินิจฉัยว่า ผู้ร้อง ไม่มี สิทธิ หักเงิน ดังกล่าว ผู้ร้อง จึง ต้อง ส่ง เงินที่ หัก ไว้ 940,126.67 บาท แก่ เจ้าพนักงาน บังคับคดี เท่านั้นที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ให้ ผู้ร้อง ส่ง เงิน ตาม ที่ มี คำสั่ง อายัด เงินจำนวน 4,471,719.19 บาท จึง เป็น คำสั่ง ที่ ไม่ชอบฎีกา ของ ผู้ร้อง ข้อ นี้ ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ผู้ร้อง ส่ง เงิน ที่ หัก ไว้ จำนวน 940,126.67บาท แก่ เจ้าพนักงาน บังคับคดี

Share