แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เลมิดเรือโดนกัน น่าที่ใช้ความระวังหลักความเลินเล่อ
ฎีกา 271/2467
ย่อยาว
โจทย์ฟ้องว่า เรือยนต์กิสนาแล่นชนเรือของโจทย์จมลง
จำเลยต่อสู้ว่า เหตุที่เกิดเรือโดนกันนั้นเปนด้วยนายเรือโป๊ะเลินเล่อและเลมิดข้อบังคับป้องกันเหตุเรือโดนกัน
ศาลต่างประเทศตัดสินยกฟ้องโจทย์ โดยฟังว่าโจทย์จำเลยมิได้เลินเล่อ
ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้ว ฟังว่า
(๑) เรือโป๊ะแล่นก้าวผ่านตัดหัวเรือยนต์ทีโอเบียและเรือยนต์กิสนาจำเลย เปนการเลมิดร้ายแรงต่อ พ.ร.บ.เดินเรือในน่านน้ำสยาม พ.ศ. ๒๔๕๖ ม.๑๐๙
(๒) เรือยนต์กิสนาก็มีความผิดเหมือนกันเพราะเหตุว่า เมื่อนายเรือยนต์เห็นว่าจะเปลี่ยนทางเดินไม่ได้แล้ว ควรหยุดเครื่องหรือเดินถอยหลังให้เร็วขึ้น และนายเรือยนต์หลีกเรือโป๊ะใกล้เกินไป กับทั้งไม่ได้ทำการป้องกันไม่ให้เกิดโดนกัน
แต่ศาลอุทธรณ์กลับวินิจฉัยว่า เรือโดยกันนี้เพราะความผิดของนายเรือเปนส่วนมา จึงตัดสินให้นายเรือยนต์รับผิดเพียง ๑ ใน ๓ ตาม พ.ร.บ.เดิมเรือในน่านน้ำสยาม พ.ศ.๒๔๕๖ ม.๓๕๐
โจทย์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้น ต้องใช้กฎหมายว่าด้วยเลินเล่อประกอบด้วย เพราะฉนั้นศาลฎีกาไม่จำต้องถือตาม และหลักของการเลินเล่อมีดังนี้ คือ
(๑)ฝ่ายหนึ่งเลินเล่อก่อนซึ่งไม่อาจทำให้เกิดเสียหายเว้นแต่ฝ่ายหนึ่งจะเลินเล่อขึ้นภายหลังฝ่ายที่เลินเล่อภายหลังจะต้องรับผิดชอบ
(๒) ฝ่ายหนึ่งเลินเล่อก่อนในเวลาปัจจุบันทันด่วนจนไม่มีเวลาที่จะคิดการแน่แท้แล้วไปผิดหลงกระทำความผิดขึ้น ฝ่ายที่ทำผิดครั้งหลังไม่ต้องรับผิด
(๓) เลินเล่อด้วยกันทั้งสองฝ่ายโดยไม่สามารถจะชี้ได้ว่าใครเลินเล่อแล้ว ต้องแบ่งรับค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.เดินเรือในน่านน้ำสยาม พ.ศ.๒๔๕๖ ม.๓๐๔ และ ๓๐๕
ในคดีนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เรือยนต์เห็นเรือโป๊ะแล่นก้าวหน้าในระยะห่างกันประมาณ ๓ ไมล์และในเวลานั้น ลมก็ไม่มี นายเรือยนต์รู้ดีแล้วว่าเรือโป๊ะจะแล่นผ่านไม่ทัน จึงได้เปิดแตรขอทางให้เรือโป๊ะหลีก (การที่ให้เรือใบหลีกทางให้นั้นเปนการขัดต่อ พ.ร.บ. ป้องกันเหตุเรือโดนกัน พ.ศ.๒๔๕๖ ม. ๒๐ ซึ่งบัญญัติให้เรือกลไฟหลีกเรือใบ และ ม.๒๑ บัญญัติว่า ให้เรือใบคงแล่นตามทางของตน เมื่อนายเรือยนต์เห็นท่าไม่ดี จึงเลี่ยงอันตราเดินน่าเร็วที่สุดดังนี้เป็นความผิดของนายเรือยนต์ ถ้านายเรือยนต์แล่นถอยหลังเต็มที่แล้ว ก็จะไม่เกิดอันตราย เพราะฉนั้น นายเรือยนต์ขาดความระมัดระวัง และฝีมืออันควร เหตุที่ใกล้ขีดทำให้เสียหายนี้ก็คือ เรือยนต์ขาดความระมัดระวังในตอนหลังตามพอควร จึงพิพากษาให้เรือยนต์ใช้ค่าเสียหายเต็มตามที่โจทย์ได้เสียไป